
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มุ่งมั่นที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีบทบาทโดดเด่นด้านการวิจัย พัฒนาและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมไทย เพื่อสร้างประชาคมไทยที่มีความสุข และมีพลังการแข่งขันในประชาคม มจธ. จึงส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถาบันการศึกษาต่างๆ โรงเรียนภาคเอกชนและชุมชน นอกจากนี้ ยังทำการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสนับสนุนงานวิจัยทางด้านพลังงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินการด้านสมาร์ทกริดได้อีกด้วย ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ มจธ. สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
มจธ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Innovation Experience Program หรือไอเอ็กซ์โปรแกรม (IX Program) ร่วมกับบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศไทยและหน่วยงานหลักด้านดิจิทัล 10 แห่ง IX Program ดำเนินการโดยศูนย์ไอเอ็กซ์ (Innovation Experience-IX) ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรม IoT จากโจทย์จากความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ให้บริการเครื่องมือและอุปกรณ์ เครื่องมือทดสอบ รวมถึงให้คำปรึกษากับนวัตกรรมที่เป็นสมาชิกของไอเอ็กซ์โปรแกรมและผู้สนใจทั่วไป
การลงนามความร่วมมือ IX Program
ที่มา:
รายละเอียด:
มจธ. ร่วมกับ สำนักงาน กกพ. ทำโครงการการศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมในอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนากลุ่มอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับหัวหน้าอุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภาคใต้ ณ เกาะห้อง จ.กระบี่
ที่มา:
รายละเอียด:
ศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (CSSC) เป็นศูนย์ที่สามารถให้บริการทดสอบมาตรฐานอุปกณ์ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ประกอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (BOS) เป็นต้น และให้บริการวิชาการ บริการอุตสาหกรรม รับงานที่ปรึกษา ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนทำงานวิจัย และพัฒนาระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดยปัจจุบันศูนย์ CSSC ได้รับการรับรองตามข้อกำหนดห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามมาตรฐาน ISO/IEC17025:2005 และระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001:2015
งานเปิดศูนย์ CSSC
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที ร่วมกับ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) โครงการสนับสนุนและวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับกระบวนการเป็น Industry 4.0 ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับกระบวนการเป็น Industry 4.0 ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีโอที ได้ทำความร่วมมือกับฟีโบ้ มจธ. สนับสนุนและวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ โดย ทีโอที จะเป็นผู้สนับสนุนการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม และระบบสื่อสัญญาณต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์ เช่น โครงข่ายเคลื่อนที่ยุคที่ 5 (5G Mobile Network) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบ Cloud สนับสนุนพื้นที่ในการทดสอบ สนับสนุนการจัดทำห้องปฏิบัติติการ 5G ภายใต้ชื่อ 5IN4 (ไฟว์อินโฟร์) และการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ (Big Data and Analytics) ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและร่วมพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามที่ใช้งานได้จริงเทียบกับในทางทฤษฎี เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัยทางด้านหุ่นยนต์ และการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อวางแผนร่วมกันถึงกรณีการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามเชิงพาณิชย์ในอนาคต โดยขอบเขตความร่วมมือในครั้งนี้ ทีโอที และ ฟีโบ้ จะร่วมกันศึกษาและพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนาม โดยใช้ความเชี่ยวชาญและศักยภาพของตนเอง นำกระบวนการและเครื่องมือต่างๆ เข้ามาศึกษา ทำงานและพัฒนาร่วมกัน ในส่วนการสนับสนุนโครงการของฟีโบ้นั้น จะเป็นการสนับสนุนการศึกษา วิจัยและพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนาม และนำโครงข่ายโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณต่างๆ ของ ทีโอที มาใช้ในโครงการ รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางเทคนิคที่จำเป็นในการร่วมกันศึกษาและพัฒนาโครงการ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
มจธ. จับมือ หัวเว่ย สร้างบุคลากร AI ป้อนตลาดแรงงานทักษะสูง พร้อมมอบอุปกรณ์ระบบคลาวด์เพื่อเสริมทัพการเรียนการสอน ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy หัวเว่ย ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมทักษะความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับ มจธ. ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอซีทีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งป้อนแรงงานทักษะสูงเข้าตลาดแรงงาน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในโลกยุคดิจิทัล ภายใต้ MOU ดังกล่าว หัวเว่ยจะทำงานร่วมกับ มจธ. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนด้าน AI ของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่าง AI ในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและสร้างรากฐานทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถนำทักษะที่ได้ฝึกฝนผ่านโครงการไปใช้ในการทำงานจริงในอนาคต ตอบสนองความต้องการแรงงานทักษะสูงในตลาดเกิดใหม่ เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมและส่งเสริมการใช้ AI อย่างแพร่หลายในประเทศไทย
รูป บรรยากาศการลงนามบันทึกความใจระหว่าง มจธ. และ หัวเว่ย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
ดร.ปราการเกียรติ ยังคง อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มจธ. ได้วิจัยและพัฒนา “ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้สูงอายุ” ขึ้น
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564. ฟีโบ้ จัดเสวนา FIBO Talk Series ผ่านทางเฟสบุ๊กไลฟ์เพจ FIBO AI/Robotics for All โดยหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจ คือ การเสวนาหัวข้อ “ชวนคนไทยมารู้จักและเข้าใจ AI” กับโครงการ AI ไทยสามารถ by AI for All โดยมี ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา นักวิจัยพัฒนาการด้านสมอง กระบวนการเรียนรู้ และความจำ สถาบันการเรียนรู้ และ ดร.อัญชลิสา แต้ตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. เป็นวิทยากร
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้เข้าร่วมการสัมมนาโครงการวิจัย “การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันด้วยยานยนต์ไฟฟ้า
ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสีย EURO 6 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบรรยากาศ” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และ คพ. ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ที่มา: