มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2021-10-27T15:37:14+07:00

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ถือเป็นต้นแบบให้สังคมเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทาง มธ. ได้ทำการสร้างสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม (Smart life in Smart City) โดยสอดแทรกค่านิยมดังกล่าวผ่านกิจกรรมต่างๆ จนเกิดเป็นไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การดำเนินโครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ มธ. ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์อัจฉริยะและแอปพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart City) สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

โครงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ เป็นไปตามผังแม่บทของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
พ.ศ. 2577 (ธรรมศาสตร์ 100 ปี) ภายใต้ “สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน เพื่อรับใช้ประชาชน และผู้อยู่มีความสุข”

“เมืองธรรมศาสตร์” เชื่อมโยงกันด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ

  • ศูนย์ธรรมศาสตร์บริการ
  • ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัย
  • สวนธรรมศาสตร์สาธารณะ

ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ

ร้านเติมเต็ม Refill Shopee ของ มธ. เพื่อลดการใช้พลาสติก

ที่มา:

รายละเอียด:

มธ. ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับผู้บริหาร 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำกัด และบริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด โดย มธ. ได้นำรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาใช้งานภายในมหาวิทยาลัย พร้อมกับระบบเช่าระยะสั้นหรือ Car Sharing ผ่านแอปฯ และสถานีชาร์จไฟฟ้า ทั้งภายในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัว ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษภายในมหาวิทยาลัย

รถไฟฟ้า Car Sharing ภายใน มธ.

ที่มา:

รายละเอียด:

AIS และ มธ. ร่วมกับพันธมิตร “โมไบค์” (Mobike) เปิดให้บริการจักรยานสาธารณะอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มทางเลือกและอำนวยความสะดวก ในการเดินทางให้กับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และประชาชน ภายใน มธ. ศูนย์รังสิต จึงสอดคล้องกับระบบคมนาคมเดิมที่มีอยู่ ภายใต้แนวคิด “aBiky” Anywhere Anyone Anytime ร่วมขับเคลื่อนโครงการ “TU Smart City” ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถใช้งานได้จริง

โครงการจักรยานสาธารณะอัจฉริยะโมไบค์ (Mobike)

ที่มา:

รายละเอียด:

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกจาก กกพ. จำนวน 1 โครงการ เข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) ได้แก่ โครงการ Eco-living through smart energy innovations โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับ กกพ.

ที่มา:

รายละเอียด:

โซลาร์ ไรด์ (SolaRyde) หรือ โครงการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และสถานีชาร์จไฟจากพลังงานโซลาร์เซลล์ ภายในมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง มธ. และภาคเอกชน (บริษัท STAR 8 (THAILAND)) ในการต่อยอดนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวเพื่อพลังงานสะอาดและยั่งยืน และการผลักดัน มธ. สู่สมาร์ทซิตี้นำร่อง (SMART CITY)

รถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าโครงการ โซลาร์ ไรด์ (SolaRyde)

การเปลี่ยนแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว (Easy Swap Battery)

ที่มา:

รายละเอียด:

สำหรับรถบัสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากรถบัสไฟฟ้า (EV) ที่มีอยู่เดิม โดยติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคารถจำนวน 6 แผง (พลังงาน 1,860 วัตต์) และจะชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงลงแบตเตอรี่ จึงสามารถวิ่งให้บริการได้ตลอดทั้งวัน (ตั้งแต่ 07.00-18.00 น.) โดยที่ไม่ต้องชาร์จไฟ ยกเว้นเพียงตอนกลางคืน

ที่มา:

รายละเอียด:

โครงการดังกล่าวทางบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนให้ทั้งหมด โดยที่ มธ. จะซื้อพลังงานไฟฟ้าในราคาเดียวกับที่ซื้อจาก กฟผ. โดยมีระยะสัญญาการซื้อ-ขาย รวมทั้งหมด 21 ปี ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีการเตรียมแผนงานในการขยายพื้นที่การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาไปยังศูนย์ต่างๆ ได้แก่ ท่าพระจันทร์ ศูนย์พัทยา และศูนย์ลำปาง ตามลำดับต่อไป

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมมือกับ มธ. เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการความยั่งยืนแห่งแรกในเอเชีย “SDG Lab by Thammasat & AIS” ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ณ มธ. ศูนย์รังสิต ภายใต้แนวคิดเชิงบูรณาการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G และ IoT มาเป็นฐานรากเพื่อสร้างความยั่งยืน ผลักดันให้เป็นพื้นที่แห่งการทดลองและการลงมือปฏิบัติของนักคิด นักประดิษฐ์ เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆ อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยและขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ โดยเป้าหมายของ SDG Lab by Thammasat & AIS คือเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริง ที่เปิดโอกาสและเชื่อมโยงนวัตกร นักพัฒนา และนักประดิษฐ์จากทั่วโลกที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หรือต้องการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนได้เข้ามาร่วมสร้างนวัตกรรมต้นแบบที่ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาได้จริง โดยสามารถใช้งาน Network Infrastructure โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้ง 5G, IoT, Fibre และ AIS Super WiFi รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยต่างๆ ภายในศูนย์ฯ เพื่อสร้างนวัตกรรมต้นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมทดลอง ทดสอบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริงได้

นอกจากนี้ AIS ได้ติดตั้งอุปกรณ์ IoT ควบคุมดูแลการเพาะปลูกแบบอัตโนมัติ และติดตั้งสถานีวัดสภาพอากาศและวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 บนแปลงเกษตร Rooftop อาคารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่สามารถควบคุมการทำงานผ่านระบบฟาร์มอัจฉริยะ Smart Farm เพื่อบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งในอนาคตจะนำ AIS 5G มาใช้ในการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ภายใน มธ.ศูนย์รังสิต มากยิ่งขึ้น อาทิ การบริหารจัดการการจราจร ผ่านเทคโนโลยี Smart Parking และ Autonomous Car (รถยนต์ไร้คนขับ) เพื่อเดินหน้ายกระดับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่ Smart University อย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สวทช. ร่วมกับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ลงนามบันทึกข้อตกลง “โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ Digital Healthcare ยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่ Smart Hospital” ร่วมพัฒนานวัตกรรม Smart Healthcare และ Digital Healthcare เตรียมความพร้อมและปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล ทำ Digital Transformation ภายใน 5 ปี หวังพัฒนาคุณภาพบริการ ระบบบริหารจัดการและยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่ Smart Hospital

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 มธ. จับมือบริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) (สกาย ไอซีที) และพันธมิตรยักษ์ใหญ่ด้าน AI Solutions ระดับโลก “SenseTime”
ตอกย้ำความเป็นผู้นําด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับประเทศ จัดเวิร์กช็อปติดอาวุธความรู้ด้าน AI แก่บุคลากรด้านการศึกษา เพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้แบบไร้ขีดจํากัด ให้พร้อมส่งต่อองค์ความรู้สู่วงกว้าง พร้อมทั้งมอบหลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้าน AI Literacy สําหรับบุคลากรด้านการศึกษา

ที่มา: