มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร 2021-10-27T15:49:26+07:00

มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า เนื่องจากมีงานวิจัยและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ทกริดมากมาย จึงกลายเป็นต้นแบบของหน่วยงานต่างๆ ในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอสำหรับการใช้ในพื้นที่ของตนเอง และมีไฟฟ้าส่วนเกินจ่ายออกสู่ภายนอกระบบได้ ซึ่งดำเนินงานโดยวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี (SGtech ชื่อเดิม SERT) สามารถสรุปรายละเอียดการดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านสมาร์ทกริดของ มน. ได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

มน. ได้รับทุนจากกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิจัยและพัฒนาโครงการระบบไมโครกริด ที่มีระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (PV Microgrid System : MGS) ร่วมกับองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและพลังงานใหม่ (NEDO) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2549–2551 ครอบคลุมการออกแบบ การก่อสร้าง และการติดตั้งต้นแบบของระบบ MGS ที่อาคารวิทยาลัยพลังงานทดแทน มน.

ที่มา:

รายละเอียด:

วิทยาลัยพลังงานทดแทน มน. ได้ต่อยอดระบบไมโครกริดภายในวิทยาลัยฯ (SERT Microgrid) ให้กลายเป็นระบบสมาร์ทกริด (SERT Smart Grid) โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะดังนี้

  • SERT Microgrid (การพัฒนาระยะที่ 1 ปี 2549-2554)

ระบบไมโครกริด คือ รูปแบบของระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กที่ทำงานภายใต้ระบบควบคุมไมโครกริด

ระบบ Microgrid ของวิทยาลัยพลังงานทดแทน มน.

  • SERT Smart Grid (การพัฒนาระยะที่ 2 ปี 2554-2557)

การพัฒนาต่อยอดจากระบบไมโครกริดเป็นระบบสมาร์ทกริดได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของ สนพ. ภายใต้ “โครงการศึกษาวิจัยระบบกักเก็บพลังงานที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้งานในระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทย”

SERT Smart Grid

  • SERT Smart Campus Power (การพัฒนาระยะที่ 3)

วิทยาลัยพลังงานฯ ได้เป็นต้นแบบของหน่วยงานที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพื่อใช้เองภายในหน่วยงาน เพื่อให้เข้าสู่ระบบการผลิตไฟฟ้า
แบบสุทธิ (Net Positive Production)

ที่มา:

รายละเอียด:

การศึกษานี้จะครอบคลุมรูปแบบเทคโนโลยีระบบสะสมพลังงานที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะนำมาประยุกต์ใช้งานในระบบ Smart-Grid ของประเทศไทยในอนาคต และเพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติด้านระบบสะสมพลังงานของประเทศ โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าวสามารถใช้เพื่อการศึกษาวิจัย รวมถึงสาธิตเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้ระบบสะสมพลังงานระบบ Smart Grid ของประเทศไทย อีกทั้งใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับการสะสมพลังงานในระบบ Smart Grid ของประเทศ

ที่มา:

รายละเอียด:

กฟน. กฟผ. และ กฟภ. ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ และจัดทำแผนที่นำทางแพลตฟอร์มดิจิทัลการไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ โครงการ National Energy Trading Platform (NETP) เมื่อเดือน เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้ว่าจ้าง มน. ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการดังกล่าวแล้ว คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 โครงการนี้เป็นเสมือนการสร้างระบบปฏิบัติการ (Platform) เทคโนโลยีบล็อกเชน (Block Chain) ซึ่งสามารถบริหารจัดการไฟฟ้าให้เกิดการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันเองได้ ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และผู้ใช้ ในรูปแบบระดับชาติ

ที่มา:

รายละเอียด:

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ทกริดเทคโนโลยี มน. ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ GUNKUL เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบไร้ตัวกลาง หรือ Peer to Peer (P2P) รวมถึงสมาร์ทกริดและองค์ความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับพลังงานทดแทน เช่น ระบบการกักเก็บพลังงานที่ใช้ร่วมกับโครงการพลังงานลมเพื่อเพิ่มคุณภาพไฟฟ้าและโครงการด้านพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมพลังงานที่เปลี่ยนไปตามแนวโน้มของโลก

วิทยาลัยพลังงานฯ มน. ลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ GUNKUL

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

มน. ลงนามความร่วมมือทางด้านวิจัยและวิชาการ กับสถาบันไทยใส่ใจสังคม ชูแนวคิดการปั้น “NU SMART CITY: เมืองต้นแบบอัจฉริยะ” นำร่องพื้นที่ภายใน มน. โดย มน. นำเสนอข้อมูลงานวิจัย และผสานกับทางสถาบันฯ เพื่อเชื่อมซูเปอร์คอนเนคชั่น ผลักดันโครงการเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นจริง ภายใต้ผู้ใช้งานในพื้นที่มหาวิทยาลัย ร่วม 3 หมื่นผู้ใช้งาน (USERS) โดยทาง มน. มองเห็นความสำคัญของโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ SMART CITY ที่จะมีการบูรณาการในหลายภาคส่วน โดยวางกรอบให้พื้นที่ในมหาวิทยาลัย
ทุกส่วนเป็น NU SMART CITY เพื่อให้เห็นได้ในเชิงประจักษ์ นำไปสู่การขยายผลโดยการเป็นศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาแพลตฟอร์ม กระบวนการผลิต และการพัฒนาคนที่ยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยเป็นตัวแทนและศูนย์กลางของความสมบูรณ์ในด้านการพัฒนา ขับเคลื่อนทุกภาคส่วนที่มีความต้องการในการปรับตัวไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ มน. ได้รับพิจารณาคัดเลือกให้เป็น เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จาก DEPA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีความพร้อมสูง อีกทั้งเป็นสถาบันการศึกษาที่จะพัฒนาคนไปสู่การสร้างงาน อาชีพ ตามกรอบยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยมุ่งเน้นในเรื่องการบูรณาการด้านต่างๆ ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น พลังงาน ดิจิทัล สาธารณสุข ฯลฯ โดยเรามุ่งหวังให้เกิด ASEAN Silicon Valley Smart City Park เพื่อใช้งานได้จริง อีกทั้งสร้างธุรกิจและอุตสาหกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระดับชุมชน ประเทศ ไปจนถึงอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่

  1. พัฒนาความร่วมมือในการวิจัยและวิชาการเพื่อพัฒนาโครงการนำร่องต้นแบบ NU SMART CITY
  2. นำผลงานวิจัยและวิชาการจากโครงการสาธิตการใช้งานจริงในพื้นที่ SGTech ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเป็นศูนย์ฝึกอบรมถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติใช้งานจริงในเชิงธุรกิจ และอุตสาหกรรม
  3. เพื่อให้โครงการต้นแบบนี้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยและวิชาการให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เรามีกรอบแนวการดำเนินงานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart Energy, Smart People, Smart Living, Smart Care, Smart Environment, Smart Farm, Smart Wellness, Vocational Training, Advance Startup, Standard Testing เป็นต้น

การที่ทางสถาบันไทยใส่ใจสังคม ได้ทำการร่วมมือกับทาง SG Tech ในครั้งนี้นั้น ทางสถาบันฯ จะเข้าไปเติมเต็มในส่วนโปรเจ็คต์และผู้ร่วมลงทุนมาพัฒนาโครงการต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ให้เกิด NU SMART CITY ได้จริง ส่วนทางด้าน มน. จะเป็นผู้ซัพพอร์ตในส่วนของงานวิจัยที่เป็นประโยชน์มาสานต่อโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ในทีนี้ ได้แก่ การนำระบบ ODID หรือ One Digital ID มาเพื่อใช้ยืนยันตัวตนได้ และ Security ที่มีการรัดกุมขั้นสูง โดยคาดหวังว่าจะเกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์กับกลุ่มนิสิต คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ มน. อย่างสูงสุด โดยเป็นโครงการนำร่อง ทั้งนี้ ยังได้มีการมอบ Source Code ของ Ones Digital ID (ODID) Key pair และ eKYC station (OnesMAX) ให้กับทาง มน. เพื่อเริ่มการลงทะเบียน วันส์ดิจิทัลไอดี (Ones ID) ให้กับ ประชากรภายใน มน. เพื่อเข้าสู่ระบบการเป็น พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Migration) ของ NU Smart City อีกด้วย

ที่มา:

รายละเอียด:

แอปพลิเคชันแคร์คุณ Carekoon Mobility Platform เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เกิดเป็นต้นแบบโมเดลธุรกิจโลจิสติกส์ ประหยัดพลังงานและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างกลุ่มธุรกิจสินค้าบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Smart Mobility for Longevity Economy) ให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพในยุควิถีชีวิตปกติใหม่จากโรคระบาดโควิด-19

ที่มา: