
มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) เป็นมหาวิทยาลัยที่ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า มีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาการจัดการพลังงานและเทคโนโลยีสมาร์ทกริดเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย โดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้พิจารณารับทราบหลักสูตรดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 นอกจากนี้ มพ. ได้มีการดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านสมาร์ทกริด สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
มพ. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก พพ. ในการจัดทำงานวิจัยด้านพลังงาน โดย มพ. ได้จัดทำระบบพลังงานไฟฟ้าสมาร์ทกริด ภายใน มพ. ขนาด 500 กิโลวัตต์ ซึ่งการลงนามความร่วมมือครั้งนี้เป็นการดำเนินการ ระยะที่ 2 ในการขยายพลังงานไฟฟ้าระบบสมาร์ทกริดสู่ชุมชน จ.พะเยา โดย กฟภ. จะเป็นผู้สนับสนุนด้านเทคนิค และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ ในอนาคตจะมีความร่วมมือกับทาง อบจ. พะเยา เพิ่มด้วย
สร้างต้นแบบการใช้ไฟฟ้าระบบสมาร์ทกริด ของ ม.พะเยา
ที่มา:
รายละเอียด:
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มพ. เปิดสอนหลักสูตร นักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเกษตรสู่ Smart farming ซึ่งเป็นระบบเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทยที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ผ่านการเรียนด้านทฤษฎีเพื่อให้มีองค์ความรู้ และลงมือปฏิบัติเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้จริง โดยเปิดเรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ (ระยะเวลา 6 เดือน) ณ มหาวิทยาลัยพะเยา และสถานประกอบการทางด้านการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แพร่ และน่าน ซึ่งหลังจากผ่านการฝึกอบรม ผู้เข้าอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถที่ผ่านการเรียนตลอดหลักสูตร
บรรยากาศการเรียนหลักสูตร Smart farming
ที่มา:
รายละเอียด:
มพ. ได้เปิดการเรียนการสอนสมาร์ทกริดในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการพลังงานและเทคโนโลยีสมาร์ทกริดโดยหลักสูตรดังกล่าวในระดับปริญญาโทรับนักศึกษาเพียง 20 คน ขณะที่ปริญญาเอก รับเพียง 10 คน ซึ่งการเรียนการสอนจะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจากผู้เชี่ยวชาญและทีมคณาจารย์ ทั้งในและต่างประเทศที่มีความรู้ความสามารถ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
มพ. ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีให้กับนักเรียน นิสิต ตลอดจนบุคลากร และประชาชนที่เข้ามาใช้บริการด้านขนส่งมวลชนใน มพ. โดยการติดตั้งจอแสดงผลขนาด 55 นิ้ว ในแนวตั้ง รูปทรงทันสมัยไว้คอยให้บริการตามป้ายรถเมล์ เพื่อให้คุณภาพชีวิตและการเป็นอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ตอบสนองนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยแบบสมาร์ท (Smart Operation) โดยการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการทำงานใน มพ. มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีแนวทางในการบริหารจัดการ ให้บริการขนส่งมวลชนแก่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย เพื่อการจัดระบบการจราจร อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่นักศึกษาและบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย และเพื่อให้สามารถบริหารจัดการการให้บริการแก่นักศึกษา และบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และลดการใช้พลังงาน มพ. จึงมีแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งมวลชน มพ. เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรขนส่งมวลชนให้เกิดประสิทธิภาพ การให้บริการนักศึกษาได้ครอบคลุม และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่นักนิสิต และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย สำหรับจอแสดงผลดังกล่าวนั้น สามารถแสดงผลระบบขนส่งของรถเมล์ม่วงแบบ real time ในแต่ละสายที่วิ่งในมหาวิทยาลัย โดยมีการอัพเดทตำแหน่งพิกัดของรถทุกๆ 1 วินาที ซึ่งสามารถแสดงตำแหน่งรถทั้งหมดที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในรูปแบบของแผนที่ และแยกสีตามสายการวิ่งของรถ อีกทั้งยังสามารถแสดงว่ามีรถหมายเลขไหนกำลังให้บริการ ความหนาแน่นของผู้ใช้บริการในแต่ละสายได้อีกด้วย ในอนาคต มพ. จะมีการพัฒนาจอแสดงผลให้มีขนาดที่เล็กและกะทัดรัด เพื่อให้ดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น และเลือกใช้วัสดุที่ทนทาน มีน้ำหนักเบา เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปติดตั้งและถอดออก และพัฒนาตัวป้ายรถเมล์ให้สามารถเป็นจุดชาร์จแบตเตอรี่ Smartphone Tablet หรือ Notebook ให้กับนิสิตในระหว่างรอรถเมล์ได้อีกด้วย
ที่มา: