มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในส่วนภูมิภาคจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐ และเจตนารมณ์ของประชาชนในภาคเหนือให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติโดยส่วนรวม มช. ได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา มช. ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมีเป้าหมายในปี พ.ศ. 2564 คือ การเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมอาหารและสุขภาพและผู้สูงอายุ และล้านนาสร้างสรรค์ บนพื้นฐานของการผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพและทักษะการเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen Skills) และผลิตงานวิจัยที่นำไปใช้จริงและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ มช. มีการดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาร์ทกริดสามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
มช. ได้ดำเนินโครงการ CMU Smart City-Clean Energy เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่เมืองต้นแบบอัจฉริยะพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนแผนพัฒนาการศึกษา มช. ระยะที่ 12 ของยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยจะดำเนินการใน 4 ด้านหลัก ได้แก่
- พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
มุ่งเน้นลดการใช้พลังงาน มีการใช้พลังงานทดแทน โดยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานลงไม่ต่ำกว่า 30%
- สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
มช. ให้ความสำคัญในเรื่องของน้ำเสียและการจัดการขยะ จึงมีการจัดทำระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Management) บำบัดน้ำเสีย และได้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการชีวมวลแบบครบวงจร
- การสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility)
มุ่งให้การสัญจรใน มช. มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการจัดทำระบบรถบริการสาธารณะเพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคล ส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า รถจักรยาน การเดินเท้า มีการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับขนส่งมวลชนอัจฉริยะ
การสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) ภายใน มช.
- ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community)
มีการพัฒนาด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม มีการจัดทำพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อ การพัฒนาระบบ WiFi ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายใน มช. รวมถึงการใช้แอปพลิเคชั่นภายใน
ที่มา:
รายละเอียด:
มช. ได้ร่วมมือกับ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) โดยนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้งานในพื้นที่ของ มช. ซึ่งได้รับคัดเลือกจาก กกพ. เข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) ภายใต้ชื่อโครงการพัฒนาต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ด้านพลังงานสะอาด (Smart Energy) ของประเทศ และต่อยอดสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City ของจังหวัดเชียงใหม่ที่เน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
ที่มา:
รายละเอียด:
มช. ได้ทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการจราจรและขนส่งมวลชน โดยการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) จากพลังงานโซลาร์เซลล์ ณ ลานจอดรถ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (EDRI-CMU) มช. ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณหลักจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก บริษัท สากล เอนเนอยี่ จำกัด และบริษัท บาร์เซโลน่า ออโต้ จำกัด
สถานีอัดประจุไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์เซลล์
ที่มา:
รายละเอียด:
คณะแพทยศาสตร์ มช. โดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุนไทย สร้างรถยนต์เพื่อคนพิการ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มีชื่อว่า “MED CMU EV car” ภายใต้ทุนวิจัยตามโครงการกิจกรรมขับเคลื่อนผลงานวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1
รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับผู้พิการอัมพาตครึ่งท่อน
ที่มา:
รายละเอียด:
เมื่อวันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ศูนย์กลางขนส่งมวลชน มช. ได้มีพิธีเปิดตัวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มช. รุ่นใหม่ สำหรับรถรุ่นไฟฟ้ารุ่นใหม่นั้น ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เป็นแบบลิเธียมไอออนฟอสเฟต สามารถใช้งานได้ตลอดทั้งวัน ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 07.00 น.- 22.00 น. ตลอดทั้ง 7 วันต่อสัปดาห์ ศูนย์บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ มช. ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดหารถไฟฟ้ารุ่นใหม่จำนวน 40 คัน มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท รถไฟฟ้ารุ่นใหม่นั้นมีห้องโดยสารแบบปิด โดยมีหน้าต่างที่เปิดปิดได้ และภายในมีพัดลมไว้ให้บริการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 16 คน การนับจำนวนผู้โดยสารด้วยวิธี Image Processing ร่วมกับ AI และผู้ใช้บริการสามารถติดตามตำแหน่งรถ เส้นทางเดินรถแต่ละสาย และจำนวนผู้โดยสารในรถแต่ละคันได้จากแอปพลิเคชั่น CMU MOBILE แบบ Realtime ด้านหน้ามีป้าย LED บอกสายรถแต่ละคัน มองเห็นได้ง่ายแม้ในเวลากลางคืน มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในทุกคัน เช่น กล้องวงจรปิดที่มองเห็นผู้โดยสารทุกที่นั่ง รวมถึงภาพจากด้านหน้าและด้านหลังของรถ มีจอแสดงภาพให้พนักงานขับรถดูได้ตลอดเวลา มีจอภาพสำหรับการแสดงข้อมูลการให้บริการและสื่อประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีถังดับเพลิงและค้อนทุบกระจกเตรียมไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินด้วย
ที่มา:
รายละเอียด:
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (หัวเว่ย) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วย “5G Powered Smart University Enabled with Cloud and AI” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้าน ไอทีและการใช้เทคโนโลยี 5G ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย ให้มีห้องเรียนอัจฉริยะและโซลูชั่นเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในทุก ๆ ด้าน
ที่มา: