
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อการสอน เพื่อสร้างบัณฑิตรุ่นใหม่ที่มีทักษะ และพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต อันสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Education 4.0 พร้อมก้าวสู่เป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ สจล. สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญ ได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
สจล. ได้ลงนามความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการเปิดหลักสูตรและจัดตั้งหน่วยงานร่วมกัน รวมถึงการทำวิจัย และได้ขยายความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย และจีเอเบิล โดยความร่วมมือดังกล่าว ประกอบไปด้วยการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีอันทันสมัยที่สมบูรณ์แบบที่สุด ได้แก่
- 100G Based Campus Core Network
- SDN (Software-defined network) for Campus and Data Center Convergence
- Educational Cloud Data Center in Container
- WiFi coverage with whole campus Free Mobility
ที่มา:
รายละเอียด:
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ร่วมกับ บริษัท อินฟินิออน เทคโนโลยีส์ เอเชีย แปซิฟิก (บริษัท อินฟินิออนฯ) เปิดศูนย์ปฏิบัติการอิเล็คทรอนิกส์ยานยนต์ และรถไฟฟ้า ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ภายใต้โครงการความร่วมมือKMITL-Infineon Automotive Electronics Cooperation (KIAEC) โดยตั้งเป้าวิจัย (R&D) และสร้างหลักสูตร 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปริญญาตรี และหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน โดยเปิดในเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม EV และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ให้ยั่งยืน
การเปิดศูนย์ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์และรถไฟฟ้า
ที่มา:
รายละเอียด:
สจล. ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ 7 เทศบาลในการดำเนินการพัฒนาระบบ Smart City เพื่อตอบโจทย์การพัฒนา Thailand 0 ในการยกระดับคุณภาพชีวิต และบริการสาธารณะของเมือง โดยก่อนหน้านี้ ได้ร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้าทำการวิจัยและวางแผนการพัฒนา Smart City สำหรับพื้นที่ใน 7 เทศบาลเมืองเป้าหมาย โดยได้บรรลุผลในการวางแผน และมีการนำมาพัฒนาและให้บริการในช่วงนำร่องแล้วบางส่วน ประกอบด้วย
- นนทบุรี : Smart Public Services
- หาดใหญ่ : Smart Green City
- ภูเก็ต : Smart International Destination
- ยะลา : Smart Security and Survilliance
- อุดรธานี : Data Driven City
- ร้อยเอ็ด : Smart Compact City
- ลำพูน : Smart Tourism
ที่มา:
รายละเอียด:
สจล. ได้สนับสนุนงบประมาณผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจาก สนพ. ให้ดำเนินการ “โครงการวิจัยและพัฒนาระบบไฟฟ้าที่ชาญฉลาดเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการจัดการความต้องการไฟฟ้า” โดยดำเนินการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารจัดการพลังงาน ระบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ ระบบสื่อสารข้อมูล และสร้างระบบมิเตอร์อัจฉริยะ เพื่อให้การออกแบบมีความสอดคล้องกับการผลิตจริงในเชิงอุตสาหกรรม และทดลองติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะ จำนวน 60 ตัว ในแต่ละชนิดของการสื่อสารปัจจุบันโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ
ที่มา:
รายละเอียด:
สจล. ร่วมกับ กฟภ. พัฒนา EV Charging Station Network ภายใต้โครงการ “ระบบโครงข่ายเครื่องอัดประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็วสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของ กฟภ.” โดยมีการดำเนินงานดังนี้
- จัดสร้างและจัดซื้อ Multi-Standard Charger 100 และ 50 kW
- ออกแบบและสร้าง EV Charging Station ซึ่งได้ดำเนินการติดตั้งในพื้นที่ของ กฟภ. จำนวน 11 สถานี
- ออกแบบและจัดสร้างระบบ Local and Central EV Charging Station Management System
- ออกแบบ จัดสร้าง และทดสอบระบบ Web และ Mobile Application
EV Charging Station สถานีพัทยาใต้
ที่มา:
รายละเอียด:
สจล. ร่วมกับ กฟภ. ในการพัฒนาและออกแบบ Pure e-Bus โดย สจล. จะเป็นผู้จัดทำรายละเอียดทั้งหมด และนำส่งให้ผู้ผลิตในประเทศจีนเป็นผู้ผลิต ซึ่ง Pure e-Bus เป็นรถที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้า 100% สามารถทำความเร็วได้เทียบเท่ากับรถโดยสารปกติ โดยหากชาร์จไฟเต็มจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนไม่ต่างจากรถที่ใช้น้ำมัน แต่ค่าไฟฟ้าที่ใช้นั้นประหยัดกว่าค่าน้ำมัน 50-70%
PEA PURE e-Bus
ที่มา:
รายละเอียด:
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล. กล่าวว่า สจล. เดินหน้าต่อยอดองค์ความรู้พัฒนา “เทเลเฮลท์” (Telehealth) เทคโนโลยีและนวัตกรรมการรักษาทางไกล ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยล่าสุดได้พัฒนา “เอไอวัดสัญญาณชีพทางไกล” (COVID-19 Remote & Offsite Monitoring Application Systems หรือ CROMAS) และนำร่องใช้จริงแล้วที่โรงพยาบาลสนาม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ณ อาคารนิมิบุตร (สนามกีฬาแห่งชาติ) กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่สามารถรองรับได้ถึง 300 เตียง
ที่มา:
รายละเอียด:
นายธานินทร์ พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท.ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) (DMT) เดินหน้าศึกษาขยายไลน์ธุรกิจใหม่ ร่วมมือกับ สจล. ศึกษาพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งรอง (Feeder) เชื่อมโยงเครือข่ายการเดินทางระหว่างชุมชนสู่ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า สนามบิน เล็งเสนอรูปแบบพัฒนา Feeder รถไฟฟ้าสายสีแดงด้วยระบบ Smart Feeder หลังจากที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) มีนโยบายให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนได้ในปลายปีนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยในการเดินทาง
ที่มา: