สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2021-10-29T16:39:09+07:00

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยและยกระดับความเป็นอยู่ของคนในสังคม ซึ่งผลงานที่ผ่านมาของ สวทช. แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น สร้างเสริมงานวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม จนเกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และชุมชนอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งส่งเสริมด้านพัฒนากำลังคน และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน

โดย สวทช. ได้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงาน ได้แก่

  • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มุ่งพัฒนางานด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มุ่งพัฒนางานด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆ
  • ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) เป็นศูนย์ให้การบริการทดสอบ
    สอบเทียบ วิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช.และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริด ของ สวทช. สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียดการดำเนินงาน

สวทช. พร้อมจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (National Energy Technology Center: ENTEC) ตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับที่ 6.2 (พ.ศ. 2562-2566) หลังจากได้รับการเห็นชอบอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2563 ให้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความเป็นเลิศในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานของประเทศ เกิดการเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนแผนพลังงานไปสู่การปฏิบัติ พร้อมเกิดฐานองค์ความรู้ที่บูรณาการร่วมกันมากขึ้น เพื่อนำประเทศสู่อิสรภาพทางด้านเทคโนโลยี

สำหรับการวางเป้าหมายของศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติจะเป็นไปตามหลักของ สวทช. โดยสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีต่างๆ ผ่านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะเกิดผลงานวิจัยที่จะสร้างผลกระทบในทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ทางด้านเทคโนโลยีการกับเก็บพลังงาน (แบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องเคลื่อนที่) จากการวิจัยที่ผ่านมา สวทช. ได้ร่วมกับ จุฬาฯ พัฒนาให้แบตเตอรี่ดังกล่าวมีความเสถียร โดยมีการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานที่เหมาะกับการใช้ในประเทศเขตเมืองร้อน เพื่อให้มีเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับลักษณะอากาศที่ร้อนชื้นสูง ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สวทช. ผนึก 12 หน่วยงานประกาศเจตนารมณ์ยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ 4.0 ผ่านแพลตฟอร์ม IDA ผสานไอโอทีกับระบบวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยเชื่อมโยงวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและอนุรักษ์พลังงาน ตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วน

“โลกหลังโควิดจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะมีความจำเป็นในการปรับตัวของทุกภาคส่วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่มีการแข่งขันสูง และในปัจจุบันมีความผันผวนสูงเช่นเดียวกัน รัฐบาลจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยสนับสนุนเอสเอ็มอีให้สามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และรองรับความท้าทายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าว

ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ปี 2564 ได้เสนอให้รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนการขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ โดยการจัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน” ขึ้นภายในเขต ARIPOLIS ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองนวัตกรรมเป้าหมายภายใต้เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะในอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจบีซีจี รวมทั้งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมในอีอีซี เป็นการช่วยลดช่องว่างของการพัฒนาอุตสาหกรรมและสามารถช่วยยกระดับการผลิตสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ในอนาคต ผ่านทางเทคโนโลยี “IDA Platform”

“IDA Platform” คือ แพลตฟอร์มไอโอทีที่ช่วยติดตามวิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิต สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายงาน เช่น

  1. การตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานในโรงงาน เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงาน
  2. การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต การใช้พลังงาน
  3. การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ เพื่อคาดการณ์สภาวะต่างๆ ของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อช่วยลดต้นทุน ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำ

ทั้งนี้ IDA Platform มีระบบมอนิเตอร์อัจฉริยะที่คอยตรวจวัดติดตามการทำงานและการเปลี่ยนแปลงของเครื่องจักร หรือภาพรวมการทำงานทั้งระบบ ข้อมูลที่ตรวจวัดได้จะถูกรวบรวมส่งไปยังกล่องสมองกล uRTU และส่งขึ้นระบบคลาวด์ด้วยแพลตฟอร์มสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง หรือ เน็ตพาย ซึ่งเป็นไอโอทีแพลตฟอร์มและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง กรณีที่พบการเปลี่ยนแปลงค่าประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ ผู้รับผิดชอบเครื่องจักรจะสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ ช่วยลดความสูญเสียในการผลิตอันเนื่องมาจากความบกพร่องของเครื่องจักรได้ ที่สำคัญข้อมูลการปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ ยังถือเป็นบิ๊กเดต้าที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและทิศทางการยกระดับขีดความสามารถและประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมไทย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

EA ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สวทช. ลงนามความร่วมมือในโครงการความร่วมมือวิจัยพัฒนาวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการทำงานของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูง หรือแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง โดยพึ่งพาทรัพยากรและการผลิตภายในประเทศ โดยนำวัสดุทางการเกษตร เช่น กะลาปาล์มมาเป็นวัตถุดิบ เพื่อลดการนำเข้าและการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องต่อไป

EA กล่าวว่า การลงนาม MOU ร่วมกับ สวทช. มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีที่จะได้รับไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณสมบัติของแบตเตอรี่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการผลิตแบตเตอรี่ของบริษัทที่จะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ พร้อมทั้งเปิดศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางในการทดสอบมาตรฐานของแบตเตอรี่และผลิตแบตเตอรี่ที่มีมาตรฐานในระดับสากลด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านความมั่นคงทางพลังงานในการขับเคลื่อนและขยายผลของงานวิจัยไปสู่การประยุกต์การใช้งานจริง โดยการสนับสนุนในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ บุคลากร และขยายผลการวิจัยในด้านอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูง (แบตเตอรี่) ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอย่างยั่งยืน จุดเด่นของการประสานความร่วมมือครั้งนี้ คือ การพัฒนาบุคลากรรวมถึงการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนการใช้ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ระหว่างสองฝ่าย ซึ่งมีการลงทุนติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และมีมาตรฐานสูงในระดับสากล นับเป็นการประสานประโยชน์เพื่อใช้ทรัพยากรที่ลงทุนไปอย่างคุ้มค่า

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟผ. และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันดำเนิน “โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง (EV Kit & Blueprint Project)” เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงได้และเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาสบายกระเป๋า

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สวทช. ร่วมกับ กฟผ. และบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ร่วมกันศึกษาการนำเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงต่อยอดสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเร่งศึกษาและจัดทำแผนธุรกิจ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช. จัดสัมมนาออนไลน์ภายในงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2564 หรือ NAC2021 ในหัวข้อ “นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดย NSD ร่วมกับ จุฬาฯ และกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) หน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พัฒนา “แบตเตอรี่สังกะสีไอออน” แบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สวทช. ร่วมกับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ลงนามบันทึกข้อตกลง “โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ Digital Healthcare ยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่ Smart Hospital” โดยร่วมกันพัฒนานวัตกรรม Smart Healthcare และ Digital Healthcare เตรียมความพร้อมและปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล ดำเนินการ Digital Transformation ภายใน 5 ปี เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ ระบบบริหารจัดการและยกระดับโรงพยาบาลเข้าสู่ Smart Hospital

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย NECTEC ได้จัดเสวนา AI FOR THAI ก้าวต่อไปสู่แพลตฟอร์ม AI แห่งชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จากโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะ AI FOR THAI ให้ประมวลผลได้เร็วขึ้นและให้บริการได้อย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของไทย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. (City transit E-buses) ซึ่งเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สวทช. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาโครงการฯ ทั้งหมด 4 คัน พัฒนาเสร็จแล้ว 1 คันของ บริษัท พานทองกลการ จำกัด

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สถาบันยานยนต์ (สยย.) ร่วมกับ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษามาตรฐานการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า โดยความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นผลจากองค์ความรู้ของหน่วยงานทั้งสองที่จะนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการทดสอบได้จริงในอนาคต

ที่มา:

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

รายละเอียด:

สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการ นวัตกรรมประหยัดพลังงานจับคู่โรงแรมในกระบี่ ส่งต่อ 2 เทคโนโลยี ด้านระบบผลิตน้ำร้อน “ฮีทปั๊ม” และ ระบบปรับอากาศ รวมมูลค่าการลงทุนกว่า 10 ล้านบาท ช่วยประหยัดค่าไฟ 3-4 หมื่นบาทต่อเดือน ตอบโจทย์ BCG ด้านพลังงานและการท่องเที่ยว ดันกระบี่สู่เมืองต้นแบบ “โฮเทล โก กรีน”

การสนับสนุนการจับคู่นวัตกรรม (Innovation Matching) ระหว่างเจ้าของนวัตกรรมกับผู้ใช้งานจริง

ที่มา:

รายละเอียด:

NECTEC ได้เริ่มวิจัยสถานีประจุยานยนต์ไฟฟ้า หรือ JUJAI รุ่น 4.0 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า มีระบบพลังงานสำรองสำหรับการส่งข้อมูลเข้าระบบข้อมูลกลาง (Central system) และรองรับหัวจ่ายประจุ 3 แบบ

สถานีประจุยานยนต์ไฟฟ้า JUJAI 4.32 และ JUJAI 4.16A

ที่มา:

รายละเอียด:

NECTEC และ กฟผ. ได้ร่วมกันทำ “โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง (EV Kit & Blueprint Project)” ขึ้นโดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้คนไทยสามารถดัดแปลงรถยนต์คันเก่าให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้ในต้นทุนไม่เกินคันละ 200,000 บาท (ไม่รวมแบตเตอรี่)

ภาพพิธีการส่งมอบรถ

ที่มา:

รายละเอียด:

  • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเอสอาร์มอเตอร์

เทคโนโลยีที่ทำให้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามีสมรรถนะสูง ในราคาประหยัด เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้พลังงานไฟฟ้าและลดปัญหาทางด้าน มลพิษทางอากาศ

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเอสอาร์มอเตอร์

  • อุปกรณ์ในระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมาก

สามารถนำมาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้รีโมทคอนโทรลเพียงเชื่อมต่อระบบ สแตนบายแบบไม่ใช้พลังงานเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า และใช้รีโมทคอนโทรลส่งพลังงานในการควบคุมการเปิด-ปิด ซึ่งระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมากนี้สามารถรองรับกำลังไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 1 กิโลวัตต์ และรีโมทคอนโทรลสามารถควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ในระยะ 2-3 เมตร

ที่มา:

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

รายละเอียด:

วิเคราะห์ทดสอบ ให้คำปรึกษาด้านวัสดุ ระบบควบคุม ระบบวัดและวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือกักเก็บพลังงาน เพื่อใช้งานด้านยานยนต์ไฟฟ้า ระบบสำรองไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงานสำหรับกริด

หน่วยวิจัยวัสดุสำหรับพลังงาน

ที่มา:

ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)

รายละเอียด:

สวทช. และบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนการทดสอบแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต เช่น การจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ และห้องปฏิบัติการทดสอบยานยนต์อัตโนมัติ เป็นต้น

ภาพลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนการทดสอบแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้า

ที่มา: