บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2021-10-29T17:41:54+07:00

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในด้านธุรกิจพลังงานของประเทศไทย โดยธุรกิจหลักของ ปตท. เป็นธุรกิจด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ธุรกิจไฟฟ้า และธุรกิจถ่านหิน ปัจจุบัน ปตท. ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงได้มีการดำเนินการวิจัยพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบแบตเตอรี่มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ ปตท. สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

ปตท. ได้เปิดต้นแบบสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกของ ปตท. (PTT Pilot EV Charging Station) ที่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยีของ ปตท. โดยสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวสามารถรองรับการชาร์จยานยนต์ ไฟฟ้าได้พร้อมกันจำนวน 3 คัน

สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าของ ปตท.

สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่อาคาร Energy Complex

ที่มา:

รายละเอียด:

ปตท. ได้จัดทำแผนพัฒนาสำหรับ 6 กลุ่มธุรกิจใหม่ที่เป็น new S-curve ของ ปตท. ประกอบด้วย electricity value chain, เทคโนโลยี IoT/AI/robotic, life science เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การแพทย์, smart material, ไบโอ-อีโคโนมี และสมาร์ทซิตี้

แผนพัฒนาสำหรับ 6 กลุ่มธุรกิจใหม่ของ ปตท.

ที่มา:

รายละเอียด:

ปตท. และ WM Motors จะร่วมมือกันศึกษาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ในด้านต่าง ๆ อาทิ การลงทุนในโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อผลิต Localized Model เป็นการต่อยอดธุรกิจด้านแบตเตอรี่และผลิตภัณฑ์พลาสติกของกลุ่ม ปตท. รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ของ ปตท.ในการเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าของ WM Motors สำหรับเป็นศูนย์กลางส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาพรถไฟฟ้า แบรนด์ Weltmeister ของจีน

ที่มา:

รายละเอียด:

จัดตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ เพื่อที่จะเดินหน้าวิจัยและต่อยอดการผลิตแบตเตอรี่ด้วยเทคโนโลยี Semi-Solid ซึ่งเป็นนวัตกรรมกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบใหม่ของ 24M Technology ต่อยอดธุรกิจแบตเตอรี่และเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานในระยะยาวและผลิตเชิงพาณิชย์

การลงนามการวิจัยระหว่าง GPSC กับ ปตท.

ที่มา:

รายละเอียด:

GPSC ได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ลงนามบันทึกข้อตกลง เพื่อศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน (Digital Platform) ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) ในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น และร้าน คาเฟ่ อเมซอน (PTT Station และ Cafe Amazon)

พิธีการลงนามบันทึกข้อตกลง

ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) นำร่อง (Pilot Project)

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. ร่วมกับบริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (ชาร์จ) เปิดตัวให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ของกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินการในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรก ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเมือง โดยชาร์จได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานผ่าน SHARGE Mobile Application ที่รองรับทั้งระบบ Android และ iOS ซึ่งสะดวกในการค้นหา และจองการใช้งาน โดยปัจจุบันเครือข่ายสถานีฯ ของชาร์จสามารถรองรับทั้งรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV : plug-in hybrid) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ได้ทุกรุ่นที่มีหัวชาร์จ Type 2

โดยในปี 2563 ทำการติดตั้ง EV Charging Station ที่พร้อมให้บริการแล้ว 2 แห่ง ที่ BITEC และ True Digital Park สุขุมวิท 101 โดยมีแผนขยายเพิ่มเติม ภายในปี 2563-2564 ในพื้นที่ย่านการค้าการลงทุน เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน และพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในกลุ่ม ปตท.

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. และผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่ EECi@วังจันทร์วัลเลย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบเพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (UAV Regulatory Sandbox) ระหว่าง ปตท. และ CAAT โดยมีผู้อำนวยการโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ร่วมลงนามเพื่อมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงตามนโยบาย Thailand 0 และสอดคล้องกับการดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้สนใจ ผู้ผลิต นักลงทุน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ได้ทดสอบ ทดลอง เพื่อการวิจัยและพัฒนาธุรกิจอากาศยานไร้คนขับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในพื้นที่ EECi@วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ และ บริษัท อีวีโซไซตี้ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการยานยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ เพื่อร่วมศึกษาและพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านยานยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่อย่างครบวงจร

โดย โออาร์ เปิดให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น จำนวน 17 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ช่างของศูนย์บริการรถยนต์ FIT Auto ให้รองรับการตรวจสภาพและซ่อมบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องชาร์จไฟฟ้าแบบติดผนัง (EV Charger) ภายใต้แบรนด์ อัลตร้า อีวี (Ultra EV) ที่ได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมบริการติดตั้งและบริการหลังการขาย เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัย

สำหรับ บริษัท อีวีโซไซตี้ จำกัด (EV Society) ซึ่งเป็นผู้นำในการนำยานยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่มาใช้งานในเชิงพาณิชย์ ความร่วมมือในครั้งนี้ช่วยให้ โออาร์ และอีวีโซไซตี้ สามารถพัฒนารูปแบบธุรกิจการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ได้ตรงกับความต้องการของตลาดได้อย่างแท้จริง รวมถึงช่วยให้ระบบอีวี อีโคซิสเท็มส์ (EV Ecosystem) สมบูรณ์และพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. อยู่ระหว่างการวางแผนเริ่มศึกษาในภาคอุตสาหกรรมแบตเตอรี่เพื่อใช้ในยานยนต์ไฟฟ้า (EV) นอกเหนือจากการเดินหน้าทำสถานีประจุไฟฟ้า โดยต้องติดตามปริมาณการใช้รถอีวีในอนาคตว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุน

ทั้งนี้ ยังเตรียมจะศึกษาระบบกักเก็บพลังงาน โดยให้บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ดำเนินการศึกษาทั้งแนวโน้นตลาดและแนวทางการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังสนใจที่จะเข้าร่วมผลิตรถ EV เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันอุตสาหกรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้นในประเทศไทย กระตุ้นให้เกิดการใช้และการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์สันดาป และเป็นฐานการผลิตอันดับต้นๆ ของโลกอยู่แล้ว สำหรับการเข้าร่วมการผลิตรถ EV นั้นจะใช้ปัจจัยส่วนนี้เพื่อผลักดันประเทศให้ไปสู่ศูนย์การผลิตได้ง่าย โดยอยู่ระหว่างพิจารณาที่ต้องดูความชัดเจนของนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐเพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบันยังมีแต่เอกชนที่ทำการนำเข้าเท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนเร็วๆ นี้

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ตั้งอยู่ที่ ต.ป่ายุบ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ โดยเมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ เป็นฐานสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) อยู่ในแผนการพัฒนาโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจของประเทศแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รวมทั้งยกระดับขีดความสามารถการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมให้แก่ทุกภาคส่วนของประเทศ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) เสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถสร้างห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจ ในทุกภาคส่วน กระจายผลประโยชน์จากการพัฒนา ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิต

ปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้าในการก่อสร้างประมาณ 95% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2564 เพื่อรองรับการเปิดให้บริการแก่พันธมิตรและผู้สนใจในช่วง
ไตรมาส 3/2564 การพัฒนาพื้นที่ดำเนินการในรูปแบบ Smart Natural Innovation Platform รองรับงานวิจัยและนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่

  • พื้นที่เพื่อการศึกษา : สร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยในพื้นที่ ซึ่งมีพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์
  • พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม : เป็นศูนย์วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (Smart Innovation Platform) เพื่อยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการไว้อย่างครบวงจร
  • พื้นที่อำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ : จะพัฒนาให้เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยและสันทนาการ รองรับความเป็นอยู่ของนักวิจัยและครอบครัว นักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการที่ทำงานในพื้นที่วังจันทร์ วัลเลย์ ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติ โรงแรมและที่พักอาศัย ศูนย์การค้าและนันทนาการ โดยพื้นที่นี้อยู่ระหว่างดำเนินการ

ปัจจุบันวังจันทร์วัลเลย์ ได้รับการประกาศเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของประเทศ และเป็นพื้นที่ได้รับการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่อไป ด้วยระบบนิเวศนวัตกรรมที่เป็นเลิศ และแผนพัฒนาระบบอัจฉริยะครบทั้ง 7 ด้าน ตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะประเทศไทย (Smart City Thailand) ประกอบด้วย

  • การพัฒนาเมืองในมิติของสิ่งแวดล้อม (Smart Environment) เน้นการบริการจัดการสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ถูกสุขลักษณะ มุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โดยกำหนดพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดรวม 60% ของพื้นที่ทั้งหมด ระบบจัดการขยะ และระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศและคุณภาพน้ำทิ้ง
  • การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน (Smart Energy) ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยติดตั้งโซลาร์ ฟาร์ม และโซลาร์รูฟท็อป มีการบริหารจัดการ พลังงานด้วยโครงข่ายสมาร์ต กริด ที่เชื่อมต่อกับอาคารประหยัดพลังงานภายในพื้นที่โครงการ เพื่อลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจัดให้ มีสถานีอัดประจุไฟฟ้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในพื้นที่ รองรับการใช้รถยนต์ EV ภายในพื้นที่ นอกจากนั้น ปตท.เริ่มศึกษาแนวทางลงทุนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในรถ EV รวมถึงให้ GPSC ศึกษาระบบเก็บสำรองพลังงานและแนวโน้มตลาด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ทำให้ ปตท.ยังสนใจที่จะเข้าร่วมผลิตรถ EV ด้วย คาดว่าจะมีความชัดเจนเร็วๆ นี้
  • การใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ (Smart Economy) เน้นเพิ่มประสิทธิภาพ ความเชื่อมโยง โดยร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น TRUE AIS และ DTAC พัฒนาเครือข่าย 5G และ Wifi-6 ครอบคลุมทั้งพื้นที่ เพื่อความสะดวกสบายและส่งเสริมการดำเนินการทดลองและทดสอบนวัตกรรม อาทิ อากาศยานไร้คนขับ
  • การกำกับดูแลการให้บริการภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลเพื่อความโปร่งใสและมีส่วนรวม (Smart Governance) มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว รวมทั้งมีการให้บริการโมบาย แอปพลิเคชั่น
  • ระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ส่งเสริมการเดินทาง
    ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ จัดให้มีที่จอดรถยนต์อัจฉริยะ และให้บริการรถประจำทางไฟฟ้าเชื่อมต่อกับทางเดินและทางจักรยาน
  • การพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะและสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม (Smart People) ภายในโครงการมีสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ เช่น สถาบันวิทยสิริเมธี โรงเรียนกำเนิดวิทย์ โรงเรียนนานาชาติ มีการพัฒนาระบบห้องสมุดและการเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และศูนย์ฝึกอบรม
  • การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Smart Living) เน้นความปลอดภัยและบริการที่เพียบพร้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้มีสุขภาพที่ดี มีระบบการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ

นอกจากนี้ยังมีศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง และอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะที่วางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาคารศูนย์ฯ เพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

จากเป้าหมายของกลุ่ม ปตท. ในการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) รองรับการเติบโตของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 0 ทรู 5G ในฐานะพันธมิตรร่วมเปิดมิติใหม่ในการนำเทคโนโลยี 5G เพิ่มขีดความสามารถการใช้งานโดรนในโครงการ 5G x UAV SANDBOX ทดลองทดสอบในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่มีการปลดล็อกข้อจำกัดการบินโดรนแห่งแรกในไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการนำอัจฉริยภาพของเครือข่าย True 5G ขับเคลื่อนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

โครงการ 5G x UAV SANDBOX เปิดพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ในการทดสอบนวัตกรรมต่างๆ โดยกลุ่มทรูติดตั้งเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ พร้อมนำศักยภาพเทคโนโลยี 5G และระบบนิเวศดิจิทัลครบวงจรของกลุ่มทรู ทั้ง AI, Robotics, Data Analytics, Cloud และ Smart IoT มาพัฒนา Use case “True 5G Surveillance Drone” ซึ่งเป็นโดรนลาดตระเวนติดกล้อง ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G มีการเก็บข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประมวลผลด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เป็นโครงการที่ ปตท. มุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ช่วยขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติที่สำคัญของเทคโนโลยี 5G ในการพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมต่างๆ ให้เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ ร่วมทดสอบเพื่อการวิจัยเป็นแห่งแรกของประเทศ เสริมสร้างการพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นเมืองนวัตกรรม ที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นำไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

กลุ่มทรูกับกลุ่ม ปตท. ร่วมพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นเมืองนวัตกรรมแห่งอนาคตของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่จะต่อยอดการสร้างนวัตกรรมที่จะสร้างประโยชน์ในทุกมิติแก่คนไทยและประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดย Use case “True5G Surveillance Drone” ที่ทรู 5G และกลุ่ม ปตท. ร่วมกันพัฒนา มุ่งนำอัจฉริยภาพของ True 5G เพิ่มความมั่นใจด้านความปลอดภัยของพื้นที่ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดรนสามารถเตือนภัยเพื่อเข้าระงับเหตุได้ทันท่วงที เช่น กรณีเกิดไฟไหม้ หรือพบคนหรือสัตว์ป่าบุกรุกเข้าพื้นที่ ทั้งยังสามารถส่งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น เข้าถึงพื้นที่ที่เข้าถึงยากได้อย่างรวดเร็ว

โดยในงานพิธีเปิดอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ กลุ่มทรูยังได้นำเสนอ Use case “True 5G Surveillance Drone” ถ่ายทอดผ่าน True 5G Hologram 3 มิติ ซึ่งเป็นการสื่อสารรูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัลที่ถ่ายทอดภาพเสมือนจริงแบบเรียลไทม์ของผู้บริหารที่อยู่ในอีกสถานที่ เชื่อมต่อบนเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G แสดงถึงคุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยี 5G ทั้งในด้านความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูล และมีความหน่วงต่ำมาก (Low Latency Rate) ทำให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ ส่งสัญญาณเสียงและภาพที่คมชัด ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ อาทิ การประชุม และการศึกษาทางไกล เป็นต้น สะท้อนถึงอัจฉริยภาพของ True 5G ที่สามารถพลิกโฉมสังคมไทยในหลากหลายมิติ และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ประเทศอัจฉริยะที่ยั่งยืน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

GC และกลุ่ม ปตท. ร่วมพิธีเปิดโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล (Floating Solar) ขนาด 100 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นการผสานความเชี่ยวชาญของกลุ่ม ปตท. ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและนับเป็นโครงการแรกของประเทศไทยที่มีการติดตั้งระบบนี้ในน้ำทะเล ที่ไม่เพียงมีส่วนสำคัญในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด แต่ยังช่วยยกระดับการพัฒนานวัตกรรมที่ต่อยอดสู่ธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ (New Energy Business) ที่กลุ่มปตท. ได้วางเป้าหมายไว้ ณ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด จังหวัดระยอง ซึ่งมีพื้นที่ติดทะเล เหมาะกับการเป็นต้นแบบติดตั้งการใช้งาน โดยในระยะแรกจะนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้ภายในสำนักงาน เพื่อเป็นต้นแบบการศึกษาและพัฒนารูปแบบทางธุรกิจ

จากการใช้งานทุ่นลอยน้ำชนิดลอยในทะเล ที่มักประสบปัญหาการเกาะสะสมของเพรียงทะเล และการใช้งานกลางแดดจัด ทำให้ทุ่นลอยน้ำเกิดความเสียหายและอายุการใช้งานสั้น GC จึงได้พัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษ InnoPlus HD8200B ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก ขึ้นรูปได้ง่าย ช่วยลดความหนา เมื่อนำมาอัดรีดเป่าขึ้นรูปในแม่พิมพ์ (Extrusion Blow Molding) เป็นทุ่นลอยน้ำ นอกจากนี้ ยังได้รับการรับรองตามมาตรฐานการสัมผัสอาหาร (Food Contact Grade) มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และสารแต่งเติมป้องกันรังสี UV รับประกันความทนทานต่อรังสี UV 25 ปี ซึ่งจากผลการทดสอบที่ผ่านมา พบว่าทุ่นลอยน้ำซึ่งลอยอยู่ในน้ำทะเลนี้ มีการเกาะสะสมของเพรียงทะเลน้อยลง มีความทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งได้ดีเยี่ยม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะสัตว์และพืชทะเล ซึ่งเป็นกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน (Application-based) รวมถึงต่อยอดสู่การออกแบบแม่พิมพ์ทุ่นลอยน้ำรูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. และ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (ไมโครซอฟท์) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านคลาวด์และดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจระดับองค์กรและประเทศ พัฒนาศักยภาพขององค์กร สังคม และประเทศ รวมไปถึงทักษะบุคลากร รวมเป็นเวลา 5 ปีโดยใช้บริการคลาวด์จากไมโครซอฟท์ ทั้งในด้านข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานระบบ การคิดค้นนวัตกรรม และการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่สร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ยกระดับทักษะความสามารถของบุคลากร รวมไปถึงศึกษาโอกาสในการจัดตั้ง AI Learning Center สานต่อความยั่งยืนของประเทศ

ความร่วมมือนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนา Ecosystem ให้กับองค์กร สังคม และประเทศไทย ซึ่งการเฟ้นหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ และจัดการกับความท้าทายได้อย่างเหมาะสม ‘คลาวด์’ ถือเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะทำให้ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน เสริมความเข้มแข็งให้ธุรกิจเดินหน้าเติบโตสู่ความสำเร็จได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งความร่วมมือนี้เป็นระยะเวลา 5 ปี (ตั้งแต่ปี 2563-2568) โดยจะใช้บริการคลาวด์จากไมโครซอฟท์ ทั้งในด้านข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานระบบ การคิดค้นนวัตกรรม และการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่สร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ยกระดับทักษะความสามารถเชิงดิจิทัลและสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แก่พนักงาน ผ่านโครงการและศูนย์การเรียนการสอนต่างๆ ของ ปตท. รวมไปถึงศึกษาโอกาสในการจัดตั้ง AI Learning Center  ณ วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง พร้อมทั้งสานต่อความยั่งยืนให้กับประเทศ ด้วยการร่วมกันค้นหาและพัฒนาต่อยอดโอกาสในการทำงานเพื่อสังคม เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่ม ปตท. และประเทศไทย

นอกเหนือจากการนำแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ที่ได้มาตรฐานระดับสากลทั้งในด้านสมรรถนะและความปลอดภัย เข้ามาเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาศักยภาพทั้งภายในและภายนอกองค์กรนั้น ทางไมโครซอฟท์ยังพร้อมให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาทักษะบุคลากร ด้วยเนื้อหาและหลักสูตรครบครัน ทั้ง AI Business School สำหรับผู้บริหาร Microsoft Learn สำหรับบุคคลทั่วไปและนักพัฒนามืออาชีพ หรือ Microsoft Imagine Academy สำหรับเยาวชนและบุคลากรในภาคการศึกษาอีกด้วย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DTAC ร่วมกับ ปตท. นำ 5G IoT บนคลื่น 26 GHz หรือ Millimeter Wave (mmWave) พัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยตั้งอยู่ที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ เพื่อทดลอง Use Case กล้องตรวจการณ์ (Surveillance Cameras) ซึ่งผู้บริหารสามารถควบคุมกล้องตรวจการณ์ระยะไกลประสิทธิภาพสูงได้จากทุกพื้นที่ทั่วโลก และสามารถติดตามได้แบบเรียลไทม์เสมือนควบคุมที่ EECi จ.ระยอง

สำหรับกล้องตรวจการณ์อัจฉริยะเป็นกล้องที่มีความละเอียดสูง Ultra-HD ใช้งานติดตั้งประจำที่ด้วยพลังซูมถึง 55 เท่า เพื่อตรวจการณ์ ค้นหาได้ทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน โดยสามารถควบคุมจากระยะไกล ถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวและไฟล์เสียงแบบเรียลไทม์ ด้วยข้อมูลความละเอียดสูงที่ต้องรับ-ส่งผ่านเครือข่ายมีขนาดมหาศาล จึงจำเป็นต้องใช้การรับส่งผ่านจากสัญญาณ DTAC 5G ด้วยคลื่น 26 GHz เพื่อให้กล้องตรวจการณ์ฯ สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ซึ่งมีศักยภาพมากกว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายและผ่านไฟเบอร์ในรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้ DTAC ยังได้ร่วมทดสอบกับ ปตท. ในส่วนของ 5G FWA หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ พร้อมทั้งยังมีแผนความร่วมมือต่อไปในส่วนของโซลูชั่นอื่นๆ อีกด้วย

ทั้งนี้ DTAC ยังเตรียมแผนสนับสนุนอุตสาหกรรมและพันธมิตรต่างๆ ให้ทดสอบและใช้งาน 5G คลื่น 26 GHz ใน Use Case รูปแบบต่างๆ อีกมากมาย อาทิ โซลูชั่นควบคุมไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อธุรกิจ (Smart MDB) ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security) เซ็นเซอร์คลังสินค้า (Warehouse Sensors) ระบบแจ้งเตือนผล (Intelligent Report) ระบบติดตามรถยนต์ (Smart Tracking Vehicle) และ ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เป็นต้น

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. พร้อมด้วย บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ร่วมเปิดตัวโครงการ G-Box ระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) ขนาด 150 kWh ที่จะพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ G-Cell ซึ่งใช้เทคโนโลยี Semi-solid ในอนาคต

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟผ. อยู่ระหว่างการศึกษาถึงความร่วมมือกับ ปตท. ในการติดตั้ง Charging Station ภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น โดยอาจนำร่องในถนนสายหลักเส้นทางภาคตะวันออกที่เป็นฐานการลงทุนของกลุ่ม ปตท. หรือพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสม

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บจก. อินโนบิก (เอเชีย) และ ปตท. เผยใน CEO Talk พลิกวิกฤติ “การดำเนินธุรกิจใหม่อย่างยั่งยืนของ PTT Group ตามกลยุทธ์ New S-curve: Life Science” ว่าการวางกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. ได้ให้ความสำคัญทั้ง Supply Chain และ Value Chain โดยการทำกลยุทธ์บริหารธุรกิจเชิงกลุ่ม จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจที่พัฒนามาแล้วระดับหนึ่ง กลุ่มธุรกิจปัจจุบัน และกลุ่มธุรกิจใหม่

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ ปตท. และ กฟผ. ร่วมกันศึกษาหาแนวทางและรูปแบบการลงทุนที่เป็นไปได้ในการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) หรือ ปั๊มชาร์จรถอีวี ซึ่งเป็นนโยบายส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดการใช้รถอีวีมากขึ้น

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ เพื่อร่วมกันนำเอาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดิจิทัลของทั้ง 2 หน่วยงาน มาประยุกต์ใช้ใน “วังจันทร์วัลเลย์” ส่งเสริมการเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. เผยว่าในการประชุมคณะกรรมการ ปตท.ครั้งที่ 5/2564 ได้มีมติอนุมัติการจัดตั้งบริษัท ที-อีโคซิส จำกัด (T-ECOSYS) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านอุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ปตท. และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สถาบันการเงิน เป็นต้น

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กนอ. และ ปตท. ได้ร่วมกันจัดทำโครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industrial Transformation Platform: ITP Platform) ซึ่งเป็นการให้ บริการเชื่อมโยงลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงข้อมูลกับ กนอ. เพื่อรองรับการบริการของ กนอ. ประกอบด้วย ระบบช่วยตัดสินใจเลือกนิคมอุตสาหกรรม ระบบอนุมัติ-อนุญาต (e-PP) และสิทธิประโยชน์จาก กนอ.

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. ได้จัดตั้งบริษัท ออน-ไอออน โซลูชั่นส์ จำกัด เพื่อดำเนินการธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ EV แบบครบวงจร (EV Value Chain) เช่น การจัดตั้งโรงงานผลิตรถ EV ทั้งรถ 2 ล้อ รถ 4 ล้อ และรถบรรทุกรวมถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. จับมือ WHAUP และ SERTIS ร่วมกันพัฒนา “ระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะด้วยดิจิทัล” Smart Energy Platform สำหรับการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Block chain)

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. ได้นำนวัตกรรมองค์ความรู้มาบูรณาการสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ และสร้างนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งสำหรับกลยุทธ์สำคัญ คือ Reimagine เป็นการเตรียมออกแบบธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดเป็น Next Normal ทั้งธุรกิจเดิมและ New S-Curve โดย New Energy จะให้ความสำคัญหลายเรื่อง โดยเฉพาะ EV Value Chain ซึ่งจะพิจารณาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เพื่อสร้าง Ecosystem ให้ครบ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. มีแผนจะปรับปรุงสถานีให้บริการก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV) โดยจะเพิ่มสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อสนับสนุนการใช้งานรถอีวีในประเทศ โดยจะเริ่มดำเนินในปั๊ม NGV เขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มแท็กซี่

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. เปิดเผยว่าอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับพันธมิตรในการดำเนินโครงการนำร่องผลิตรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (มอเตอร์ไซค์อีวี) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 โดยขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการออกแบบ ทั้งนี้พร้อมเจรจากับกลุ่มเดลิเวอรี่ เพื่อทำโมเดลทดลองสับเปลี่ยนแบตเตอรี่หลังจากการนำเข้ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 30 คัน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. พร้อมด้วยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) และบริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด ร่วมกันเปิดตัว “สวอพ แอนด์ โก” (Swap & Go) จำนวน 22 แห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่าย Battery Swapping

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. พร้อมด้วยบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ โครงการระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงานระหว่าง ปตท. และ บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลักดันและพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ร่วมกับบริษัท หงไห่พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด หรือฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) จากประเทศไต้หวัน เพื่อศึกษาโอกาสในการพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. พร้อมด้วยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charging Station ในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)

ที่มา: