
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) นับเป็นองค์กรที่วางรากฐานระบบสื่อสารโทรคมนาคมไทยมาเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี ด้วยประสบการณ์อันยาวนาน ทีโอที พร้อมให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบครบวงจร ตอบสนองความต้องการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด โดยทิศทางขององค์กร ปี 2562 นั้น ทีโอทีจะปรับเปลี่ยนบทบาทเป็น “ผู้นําการให้บริการโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลของประเทศ”
อย่างไรก็ดี TOT ไม่ได้มีการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดอย่างชัดเจน แต่ก็มีการให้บริการโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลของประเทศ ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดของประเทศไทยได้ ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ TOT สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
TOT จะทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล อย่างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงความเร็วสูงทั้ง Wireless และ Wireline ให้ครอบคลุมพื้นที่ EECเพื่อรองรับกับ
ความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงด้าน Smart City, Smart Logistic, IoT และนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบันและอนาคต
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของ TOT
ที่มา:
รายละเอียด:
TOT จะดำเนินการติดตั้งท่อร้อยสายและเสา (Smart Pole) บริเวณพื้นที่การท่าอากาศยานอู่ตะเภา รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบเทคโนโลยี 5G เพื่อให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม 5G ร่วมทดสอบการให้บริการแก่หน่วยงานของการท่าอากาศยานอู่ตะเภา ผู้ประกอบการและประชาชนผู้ใช้บริการภายในอาคาร และในอนาคตเมื่อการทดสอบเทคโนโลยี 5G ประสบความสำเร็จ TOT มีแผนที่จะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม 5G ให้บริการภายในสนามบินอู่ตะเภา
การลงนามความร่วมมือระหว่าง TOT และท่าอากาศยานอู่ตะเภา
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
TOT ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz พร้อมให้บริการ 5G โดยทำการยกระดับโครงสร้างตามแผนงาน และยกระดับบริการภาครัฐทุกมิติตามนโยบายของกระทรวงดิจิทัลฯ โดย TOT ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 5G ย่านความถี่ 26.4-26.8 จำนวน 4 ใบ ในราคา 1,795 ล้านบาท ซึ่งการประมูลจัดขึ้นโดย กสทช. เพื่อจัดสรรใบอนุญาตคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคม และได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะใบอนุญาตอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
- การแพทย์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล ร่วมกับ 3 ผู้นำเทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ของไทย ได้แก่ TRUE AIS และ TOT ซึ่งโดดเด่นในศักยภาพอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลายมาเพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)” รักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันได้เป็นอย่างดี เพื่อชีวิตและสุขภาพของคนไทย
- IOT
TOT และ IoT Solutions ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ “โครงการความร่วมมือ เครือข่าย 5G กับ IoT Solutions เพื่อวิถีชีวิตคนไทยยุคใหม่” เพื่อให้เกิดประโยชน์ และสามารถเข้าถึงบริการได้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนที่สนใจบนเครือข่าย 5G และ IoT Solutions โดย TOT ทำการพัฒนาเครือข่ายเข้าสู่ยุค 5G ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนไทยยุคใหม่จากข้างต้นจึงเกิดความร่วมมือกันระหว่าง TOT และ บริษัท สตอเรจ ซิสเต็มส์ แอนด์ โซลูชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบคอมพิวเตอร์และระบบ IoT Solutions ในประเทศไทย บริษัทได้คัดเลือกและจัดหาระบบ IoT Solutions ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนไทย ดังต่อไปนี้
- Smart Health Care คือ Solution สำหรับคนรักสุขภาพ โดยทั้งหมดจะเชื่อมต่อกับระบบ “AI 365” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น โดยระบบดังกล่าวได้นำมาเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่มีประสิทธิภาพของ TOT
- Plant Factory โครงการปลูกผักปลอดเชื้อ เพื่อความปลอดภัยของคนที่รักสุขภาพ ทั้งนี้ การควบคุมดูแลโดยระบบอัตโนมัติจำเป็นต้องใช้เครือข่ายสื่อสารไร้สายที่รวดเร็วในการเก็บข้อมูลและควบคุมทุกขั้นตอน
- Smart Factory เนื่องจากระบบ E-Commerce เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น การจัดการ การส่งของให้ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา ต้องมี Solution เพื่อรองรับธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดย Solution ดังกล่าวจะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการในส่วนของการจัดกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยการจัดการระบบทั้งหมดนี้ต้องอาศัย Solution ที่ดีและเครือข่ายที่รวดเร็วอย่างทีโอทีในการจัดการดังกล่าว
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
TOT ร่วมกับ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) โครงการสนับสนุนและวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับกระบวนการเป็น Industry 4.0 ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับกระบวนการเป็น Industry 4.0 ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ TOT ได้ทำความร่วมมือกับ ฟีโบ้ สนับสนุนและวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
โดย TOT จะเป็นผู้สนับสนุนการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม และระบบสื่อสัญญาณต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์ เช่น โครงข่ายเคลื่อนที่ยุคที่ 5 (5G Mobile Network) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบ Cloud สนับสนุนพื้นที่ในการทดสอบ สนับสนุนการจัดทำห้องปฏิบัติติการ 5G ภายใต้ชื่อ 5IN4 (ไฟว์อินโฟร์) และการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ (Big Data and Analytics)
ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและร่วมพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามที่ใช้งานได้จริงเทียบกับในทางทฤษฎี เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัยทางด้านหุ่นยนต์ และการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อวางแผนร่วมกันถึงกรณีการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามเชิงพาณิชย์ในอนาคต
โดยขอบเขตความร่วมมือในครั้งนี้ TOT และฟีโบ้ จะร่วมกันศึกษาและพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนาม โดยใช้ความเชี่ยวชาญและศักยภาพของตนเอง นำกระบวนการและเครื่องมือต่างๆ เข้ามาศึกษา ทำงานและพัฒนาร่วมกัน ในส่วนการสนับสนุนโครงการของฟีโบ้นั้น จะเป็นการสนับสนุนการศึกษา วิจัยและพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนาม และนำโครงข่ายโทรคมนาคมและระบบสื่อสัญญาณต่างๆ ของ TOT มาใช้ในโครงการ รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลทางเทคนิคที่จำเป็นในการร่วมกันศึกษาและพัฒนาโครงการ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
TOT และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เพื่อรองรับระบบสื่อสารและเทคโนโลยี 5G ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในพื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ (1) สนามบินอู่ตะเภา (2) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และ (3) พื้นที่นำร่องใน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G ในอนาคตอันใกล้ โดย TOT จะเริ่มวางโครงข่ายท่อร้อยสาย Fiber Optic เสาส่งสัญญาณ 5G และระบบที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดังกล่าวในอีก 3 เดือนหลังการลงนามฯ ส่วนความคืบหน้าโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) สกพอ. ตั้งเป้าจะเปิดขายซอง TOR ภายในปี 2563 คาดว่าภายในปี 2564 จะได้ผู้รับเหมาโครงการ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว TOT และ สกพอ. จะร่วมกันเตรียมความพร้อมการให้บริการระบบ 5G เต็มรูปแบบแก่ภาคอุตสาหกรรมและร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชนรายอื่นๆ ในลักษณะการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนระหว่างภาครัฐกับเอกชนใช้ทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เป็นการผูกขาดทางธุรกิจ
โดยทาง สกพอ. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกการดำเนินงาน พร้อมจัดหาโครงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ TOT รวมทั้งส่งเสริมด้านสิทธิประโยชน์หน่วยงานรัฐและเอกชนที่ร่วมโครงการดังกล่าว โดยการดำเนินงานในระยะแรก ด้านพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ด้านพัฒนาชุมชนโครงการ เมืองอัจฉริยะบ้านฉาง ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดย TOT มีเป้าหมายดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และในระยะต่อไปการทำโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อรองรับระบบสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยี 5G จะดำเนินการคู่ขนานไปกับโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในพื้นที่ EEC
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
PEA และ TOT ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการจัดการ พลังงานในองค์กร และธุรกิจดิจิทัล โดยจะทำการศึกษาการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และการบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัล (Digital Platform) แนวทางในการประหยัดพลังงาน และศึกษาการพัฒนาด้านธุรกิจพลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดทั้งในด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงด้านการบริหารจัดการ พลังงานให้มีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสภาวะการใช้งาน
นอกจากนี้ PEA ยังสนับสนุน อำนวยความสะดวกในการดำเนินการโครงการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop และการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ติดตั้งผ่านโครงการด้วยระบบดิจิทัลของ PEA ในพื้นที่ของ TOT พร้อมตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ที่อาจจะเกิดเหตุขัดข้องของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือชำรุดเสียหายอย่างกะทันหัน Corrective Maintenance (CM) และเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM) รวมถึงสนับสนุนและอำนวยความสะดวกจัดหายานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle) ตามความต้องการในการใช้งานอีกด้วย
ที่มา: