
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค (DTAC) เป็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของประเทศไทย เพื่อสร้างเสริมสังคมให้เข้มแข็งด้วยเทคโนโลยีที่มีและการมอบโอกาสให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลและเชื่อมต่อกันได้อย่างทั่วถึง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสรรค์สังคมสำหรับอนาคตที่ดีกว่า ทั้งนี้ DTAC มีคลื่นความถี่เพียงพอในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ครบทั้ง 4G/3G/2G พร้อมสำหรับโอกาสในการเติบโตจากบริการข้อมูล และมีสถานะการเงินที่พร้อมสำหรับโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
อย่างไรก็ดี ดีแทคไม่ได้มีการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดอย่างชัดเจน แต่ก็มีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการสื่อสารและเชื่อมต่อข้อมูล รวมถึงการให้บริการด้าน IoT ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดของประเทศไทยได้ ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านสมาร์ทกริดของ DTAC สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
บริการ M2M SIM (IoT) คือบริการโครงข่ายข้อมูล (Data Network) ที่จะทำให้อุปกรณ์ IoT สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสของข้อมูล และมีการกำหนดรูปแบบของการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการและ DTAC เสมือนมีเครือข่ายส่วนตัวสำหรับองค์กร ปัจจุบัน DTAC เปิดให้บริการ M2M Sim (IoT) ให้ผู้ที่สนใจแล้ว โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้
ที่มา:
รายละเอียด:
DTAC เปิดแพลตฟอร์มยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle Connectivity Platform) หรือ EV เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นเพื่อควบคุมและบริหารจัดการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้ทันทีเป็นรายแรกในประเทศไทย โดยร่วมกับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำหลายแบรนด์ของโลก และบริษัท เอ็มวิชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้จัดงาน EV Expo และเป็นสื่อกลางประสานงานกับผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART เจ้าของตู้บุญเติมเป็นจุดให้บริการชาร์จมอเตอร์ไซด์ EV เพื่อเสนอทางเลือกใหม่ในการใช้ชีวิตของคนเมืองพร้อมประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาสิ่งแวดล้อม
บรรยากาศในงานเปิดตัวแพลตฟอร์ม EV Connectivity
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่น E2
ที่มา:
รายละเอียด:
DTAC ร่วมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงาน กสทช. เปิดศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center เพื่อทำการทดสอบ 5G ด้วยรูปแบบการใช้งานจริงต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำบริการ 5G ขับเคลื่อนประเทศไทย โดยศูนย์แห่งนี้เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจสามารถร่วมทดสอบและพัฒนาสู่ความพร้อมของการทำงานดิจิทัล นอกจากนี้ DTAC ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ให้บริการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คือ CAT และ TOT เพื่อประสานความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนารูปแบบบริการสู่ 5G ในอนาคตอีกด้วย
DTAC และพันธมิตรเปิดศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center
ที่มา:
รายละเอียด:
DTAC ร่วมกับ CAT และ TOT ทำการทดสอบ 5G ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่ EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อทดสอบการใช้งานจริง (Use case) ที่เหมาะกับประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จากอีริคสัน หัวเว่ย และโนเกีย โดยภาครัฐควรจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งย่านสูง-กลาง-ต่ำ และระบุช่วงเวลาจัดสรรชัดเจน และแผนปรับปรุงคลื่นความถี่ (Spectrum Reframing) เพื่อพัฒนาสู่ 5G อย่างยั่งยืน และหาความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ
DTAC ร่วมกับพันธมิตรทดสอบ 5G
ที่มา:
รายละเอียด:
DTAC ทำการทดสอบ 5G บนคลื่น 28 GHz ร่วมกับอีริคสัน ซึ่งได้รับอนุญาตทดสอบจาก กสทช. โดยเป็นคลื่นย่านความถี่สูงที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ (Low latency) และเป็นแบนด์วิดท์ที่มีจำนวนมากสำหรับการใช้งาน ซึ่งได้นำร่องทดสอบกับพนักงานโดยได้นำมาติดตั้งและปล่อยสัญญาณ 5G บนคลื่น 28 GHz ที่ Never Stop Café ร้านกาแฟใหม่ล่าสุดในดีแทค เฮาส์ชั้น 32 ซึ่งจะกลายเป็นสถานที่ที่พนักงาน DTAC ใช้สำหรับทำงาน ประชุม และจัดกิจกรรมต่างๆ
การทดสอบเทคโนโลยี 5G
ที่มา:
รายละเอียด:
ต้องการของเกษตรกรรายย่อย ทั้งเกษตรกรที่ต้องการพัฒนาศักยภาพให้มีทักษะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยดำเนินโครงการ ดังนี้
- DTAC ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดอบรมหลักสูตร “เกษตรเชิงพาณิชย์” แก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งการตั้งราคาให้เหมาะสม
- การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับเกษตรกรรายย่อยในการบริหารจัดการการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปี 2561 DTAC ได้พัฒนาเทคโนโลยีฟาร์มแม่นยำ ได้แก่ บริการฟาร์มแม่นยำ และ ฟาร์มแม่นยำ IoT
บริการฟาร์มแม่นยำ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
การจัดการคลื่นความถี่สำหรับการใช้งานทั้ง 4G และ 5G ของ DTAC ถูกวางแผนล่วงหน้ามาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งก่อนเข้าร่วมการประมูลทาง DTAC ได้มีคลื่นความถี่อยู่ในครอบครองสำหรับให้บริการ 4G ครบแล้ว ได้แก่
- ความถี่ต่ำ ได้แก่ 700 MHz, 900 MHz
- ความถี่กลาง ได้แก่ 1800 MHz, 2100 MHz และ 2300 MHz (Roaming กับ TOT)
โดยคลื่นความถี่ดังกล่าวที่ทาง DTAC ครอบครองอยู่นั้นครอบคลุมการใช้งานและเพียงพอสำหรับการให้บริการลูกค้าของ DTAC แล้ว ซึ่งการประมูล 5G ที่จัดขึ้นโดย กสทช. นั้น DTAC ชนะเพียง 2 ใบอนุญาต คือใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 26 GHz จำนวนใบอนุญาตละ 100 MHz รวม 200 MHz ถือว่าเป็นผู้ชนะที่ได้รับใบอนุญาตน้อยที่สุด โดยการที่ DTAC เลือกคลื่นความถี่ 26 GHz เนื่องจากคลื่นความถี่ 28 GHz ถูกใช้ทดสอบ 5G ทั้งในกลุ่มยุโรป และเกาหลีใต้ ต่างกับคลื่นความถี่ 26 GHz ที่ยังไม่แพร่หลาย จึงมีความเป็นไปได้ที่คลื่น 28 GHz จะได้รับความนิยมมากกว่า และช่วงคลื่น 26 GHz ที่ดีแทคชนะประมูลนั้นสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับคลื่น 28 GHz ได้
ความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบ
- DTAC จะสามารถให้บริการ 5G ภายในไตรมาส 2 ของปี 2563 โดยเบื้องต้นจะให้บริการบนคลื่น 26 GHz ในส่วนตัวอย่างการใช้งานจะเป็นการยกระดับบริการ dtac@Home (บริการอินเทอร์เน็ตบ้านด้วยสัญญาณโทรศัพท์มือถือ) ผ่านความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่มากกว่าที่ให้บริการผ่านคลื่น 2300 MHz ในปัจจุบัน
- การลงทุนขยายโครงข่ายที่ให้บริการ TDD 2300 MHz จาก 17,000 เป็น 20,000 สถานีฐานภายในปี 2563 และมีแผนที่จะทำให้ลูกค้าได้ความเร็วในการใช้งานได้ดีขึ้น 3 เท่า (บนสมาร์ทโฟนที่รองรับ) ด้วยการนำเทคโนโลยี Ultra-high-capacity Massive MIMO technology มาติดตั้งทั่วไทย
- DTAC เตรียมพร้อมให้บริการ 5G ด้วยการนำคลื่น 26 GHz มาให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในรูปแบบของฟิกซ์บรอดแบนด์ เสริมจาก dtac@home ที่ปัจจุบันให้บริการอยู่บนคลื่น 2300 MHz ส่วนอนาคตจะต้องรอ Eco-system และอุปกรณ์ที่รองรับ ส่วนคลื่น 700 MHz เมื่อคลื่นความถี่พร้อมนำมาให้บริการ ก็พร้อมที่จะลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมให้บริการ 5G ทันที
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
- Fixed Wireless Broadband
จากการประมูลคลื่น 5G ที่ผ่านมา DTAC ประมูลได้คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz โดย DTAC เลือกช่วงคลื่นความถี่บนสุดที่สามารถนำไปใช้งานบนอุปกรณ์ของ 28 GHz ได้ด้วย ทำให้ DTAC กลายเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่นำเครือข่าย 5G มาให้บริการ Fixed Wireless Broadband ซึ่งการเปิดให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่บางจุดสำหรับลูกค้าที่มีอุปกรณ์รองรับเข้ามาใช้งาน และจะทยอยขยายพื้นที่ให้บริการต่อไปภายในปี 2563 เนื่องจากต้นทุนของเทคโนโลยีมีราคาค่อนข้างสูง และระยะในการให้บริการคลื่น 26 GHz ที่มีข้อจำกัดเพียง 200-300 เมตร เท่านั้น เพื่อให้บริการได้ระดับ 1 Gbps
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
DTAC ร่วมกับ ปตท. (PTT) นำ 5G IoT บนคลื่น 26 GHz หรือ Millimeter Wave (mmWave) พัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยตั้งอยู่ที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่ เพื่อทดลอง Use Case กล้องตรวจการณ์ (Surveillance Cameras) ซึ่งผู้บริหารสามารถควบคุมกล้องตรวจการณ์ระยะไกลประสิทธิภาพสูงได้จากทุกพื้นที่ทั่วโลก และสามารถติดตามได้แบบเรียลไทม์เสมือนควบคุมที่ EECi จ.ระยอง สำหรับกล้องตรวจการณ์อัจฉริยะเป็นกล้องที่มีความละเอียดสูง Ultra-HD ใช้งานติดตั้งประจำที่ด้วยพลังซูมถึง 55 เท่า เพื่อตรวจการณ์ ค้นหาได้ทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน โดยสามารถควบคุมจากระยะไกล ถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวและไฟล์เสียงแบบเรียลไทม์ ด้วยข้อมูลความละเอียดสูงที่ต้องรับ-ส่งผ่านเครือข่ายมีขนาดมหาศาล จึงจำเป็นต้องใช้การรับส่งผ่านจากสัญญาณ DTAC 5G ด้วยคลื่น 26 GHz เพื่อให้กล้องตรวจการณ์ฯ สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมีศักยภาพมากกว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายและผ่านไฟเบอร์ในรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้ DTAC ยังได้ร่วมทดสอบกับ ปตท. ในส่วนของ 5G FWA หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ พร้อมทั้งยังมีแผนความร่วมมือต่อไปในส่วนของโซลูชั่นอื่นๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ DTAC ยังเตรียมแผนสนับสนุนอุตสาหกรรมและพันธมิตรต่างๆ ให้ทดสอบและใช้งาน 5G คลื่น 26 GHz ใน Use Case รูปแบบต่างๆ อีกมากมาย อาทิ โซลูชั่นควบคุมไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อธุรกิจ (Smart MDB) ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security) เซ็นเซอร์คลังสินค้า (Warehouse Sensors) ระบบแจ้งเตือนผล (Intelligent Report) ระบบติดตามรถยนต์ (Smart Tracking Vehicle) และ ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เป็นต้น
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
Dtac ได้ให้บริการ 5G บนคลื่นความถี่ 700 MHz อย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 DTAC ได้เปิดให้บริการคลื่น 700 MHz จนสิ้นปีมีทั้งหมด 2,400 สถานีฐาน ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี สิ้นไตรมาส 1 ตั้งเป้ามีสถานีฐาน 700 MHz ทั้งหมด 4,000 แห่ง
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด (อีริคสัน) เดินหน้าพัฒนาโครงข่ายเพิ่มประสิทธิภาพ 5G ซึ่งจำนวนประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่รองรับบริการที่สามารถใช้งานจากโครงข่ายสถานีฐานไร้สายใหม่ หรือ Ericsson 5G radio access network (RAN) จะสนับสนุนการให้บริการของ DTAC ทั้ง 4G และ 5G เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง รวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
DTAC มีเป้าหมายในการนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้งานได้จะเป็นจุดมุ่งหมายหลักในการทำธุรกิจของ DTAC จากเทคโนโลยีการสื่อสารทั้ง 5G และ 4G บนระดับราคาที่เหมาะสม รวมถึงการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบริการดิจิทัลให้ทุกอย่างง่ายขึ้น โดยในปี 2564 ทาง dtac มีแผนยกระดับผู้ค้ารายย่อยให้มีพื้นที่ค้าขายบนโลกออนไลน์ รวมถึงการดำเนินโครงการ Safe Internet เพื่อยกระดับการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 50% ภายในปี 2573
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
DTAC ขยายบริการ 5G คลื่น 700 MHz เพิ่มขึ้นอีก 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และอุบลราชธานี จากเดิมให้บริการ 5G ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ดีแทคจะขยาย 5G ไปยังพื้นที่อื่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายสิ้นปีนี้ ขยายคลื่น 700 MHz ครบทั้ง 77 จังหวัด มากกว่า 900 อำเภอ ปัจจุบันให้บริการแล้ว 717 อำเภอทั่วไทย พร้อมมุ่งนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมเข้าถึงการใช้งานเพื่อทุกคน
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
DTAC กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G Private Network จะมาปลดล็อกอุตสาหกรรมและกลุ่มผู้ประกอบการที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยต้องเร่งวางแผนระยะยาวหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องพัฒนาสู่การใช้งาน IoT แอปพลิเคชัน ซึ่งจะก่อให้เกิดนวัตกรรมการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในอุตสาหกรรมและองค์กรต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ด้วยความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถออกแบบได้เฉพาะตามความต้องการของแต่ละองค์กรที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ให้บริการหรือผลิตสินค้าที่มีความเฉพาะกลุ่ม (Vertical Industry)
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
DTAC และ บริษัท เอบีบี ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (ABB) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ นำ ABB Robotics และ ABB Remote Insights เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโครงข่าย DTAC และต่อยอดสู่ 5G โครงข่ายส่วนตัว (5G Private Network) เพื่อเป็นการกระตุ้นธุรกิจให้เดินหน้าการผลิตทุกวิกฤต พร้อมควบคุมได้ทุกที่แม่นยำและปลอดภัย
ที่มา: