การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2021-10-20T14:26:33+07:00

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีภารกิจในการจัดหา ให้บริการพลังงานไฟฟ้า และดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและบริการ โดยการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย กฟภ. ได้ก้าวเข้าสู่ยุค PEA 4.0 “พัฒนาคนด้วยนวัตกรรม พัฒนางานด้วยเทคโนโลยี” ส่งเสริมการนำนวัตกรรมและพลังงานทดแทนมาใช้ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสนับสนุนธุรกิจใหม่ๆ ตอบโจทย์ด้านการบริการมุ่งสู่ “การไฟฟ้าแห่งอนาคต” ซึ่ง กฟภ. เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายตามแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยในระยะสั้น พ.ศ. 2560-2564 แต่อย่างไรก็ดี กฟภ. ยังได้ดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านสมาร์ทกริดนอกเหนือจากแผนการขับเคลื่อนฯ ดังกล่าว สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

กฟภ. ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ PEA Digital Utility จึงเป็นที่มาของการเกิด New Digital Business โดยปัจจุบันได้พัฒนา Platform ที่มีชื่อว่า PEA Hero Platform ซึ่งประกอบด้วย 4 Feature หลักคือ PEA Solar Hero Application, PEA Hero Energy Trading, PEA Hero Care & Services และ PEA Hero Energy Intelligence

ทั้ง 4 Features ข้างต้นจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าได้สะดวก รวดเร็ว และสามารถบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Features ของ PEA Hero Platform


แอปพลิเคชั่น PEA Hero Platform

PEA Solar Hero Application คือ แอปพลิเคชันสาธารณะที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าผู้สนใจการติดตั้ง Solar Rooftop ให้มีมาตรฐานปลอดภัยพร้อมทั้งให้คำแนะนำในการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดย Application จะมี Function การทำงานหลักดังต่อไปนี้

  1. วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อหาขนาดกำลังการผลิตที่เหมาะสมของระบบผลิตไฟฟ้าจาก Solar Rooftop
  2. เลือกรูปแบบการลงทุนในการติดตั้งระบบ Solar Rooftop ตามต้องการในรูปแบบ ลงทุนเอง / ผ่อนชำระ / พันธมิตรร่วมลงทุน
  3. รวบรวมผลิตภัณฑ์ ผู้ติดตั้งและการบำรุงรักษารวมถึงระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ลูกค้าได้เลือกความต้องการภายใต้มาตรฐานรับรองจาก PEA
  4. ติดตามขั้นตอนการดำเนินการติดตั้ง Solar Rooftop พร้อมให้คำแนะนำ และบริการในการบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โดย ปัจจุบันโครงการ PEA Solar Hero Application ได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่นำร่องแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง เชียงใหม่ ภูเก็ต และ นครราชสีมา และเตรียมเดินหน้าขยายไปทั่วประเทศ

แอปพลิเคชั่น PEA Hero Platform

ที่มา:

รายละเอียด:

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย โครงการต้นแบบการพัฒนาทางธุรกิจพลังงานด้านระบบดิจิทัล (Digital Energy Business Project) ด้วยเทคโนโลยี Digital Platform โดยความร่วมมือกันในครั้งนี้ เพื่อทดลองทดสอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีระบบสื่อสารของโครงการ PEA Solar Hero Application และ PEA Digital Platform

กฟภ. ร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) โครงการ Digital Energy Business Project ร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด

ที่มา:

รายละเอียด:

บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทในเครือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ร่วมจัดตั้งบริษัท Thai Digital Energy Development เพื่อพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ตอบรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้นวัตกรรมช่วยในการบริหารจัดการ ผ่านธุรกิจลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ธุรกิจลงทุนระบบประหยัดพลังงานและบริหารจัดการพลังงาน และธุรกิจอื่นๆ ด้าน Digital Energy โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ

  1. เพื่อส่งเสริมธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน สนับสนุน New Digital Business ผ่าน PEA Hero Platform ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้พัฒนา
  2. เพื่อส่งเสริมธุรกิจประหยัดพลังงาน และธุรกิจบริหารจัดการพลังงาน (ESCO) ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
  3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน Digital Energy แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค

พีอีเอ เอ็นคอม-บีซีพีจี ร่วมจัดตั้งบริษัท Thai Digital Energy Development

ที่มา:

รายละเอียด:

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จับมือ ORIGIN สร้างความร่วมมือทางธุรกิจพลังงานด้านระบบดิจิทัลในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ บนพื้นที่ Smart City เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย และเกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยออริจิ้นเล็งเปิดตัวเริ่มต้นโครงการมิกซ์ยูส “ Smart District Rayong” พร้อมคอนโดมูลค่าโครงการกว่า 5,000 ล้าน หวังเป็นแลนด์มาร์คใหม่ใน EEC ภายใต้การสนับสนุนการบริหารจัดการพลังงานด้วย PEA Hero Platform สำหรับพื้นที่โครงการ Origin Smart District Rayong ของบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) มี Concept ในการพัฒนาแบ่งเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ Smart Living Smart Service Smart Energy และ Smart City  เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยผ่านนวัตกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีคุณค่า

PEA และ ORIGIN ร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

ที่มา:

รายละเอียด:

กฟภ. ได้รับคัดเลือกจาก สำนักงาน กกพ. จำนวน 6 โครงการ เข้าร่วมโครงการ ERC Sandbox ปัจจุบันรอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับ กกพ.ประกอบด้วย

  1. โครงการนำร่องการให้บริการรับส่งพลังงานไฟฟ้าผ่านระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและลูกค้าของผู้ผลิตไฟฟ้า
  2. โครงการจัดทำแพลตฟอร์มการบริหารจัดการพลังงานกระจายตัวสำหรับการใช้พลังงานที่เหมาะสมและการตอบสนองด้านความต้องการไฟฟ้า
  3. โครงการระบบบริหารจัดการ การตอบสนองด้านความต้องการไฟฟ้าและระบบบริหารจัดการพลังงานแบบอัตโนมัติ (Automated Demand Response)
  4. โครงการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage system) และระบบบริการจัดการพลังงาน (Energy Management System) ที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  5. โครงการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่สถานีไฟฟ้า ด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา และสถานีไฟฟ้าโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
  6. โครงการ Gateway City industrial Estate Smart Grid (โครงการนี้ กฟภ. ดำเนินการร่วมกับบริษัทเอกชนอีก 5 ราย)

ที่มา:

รายละเอียด:

PEA พัฒนาต้นแบบระบบบริหารและจัดการพลังงานอัจฉริยะ (PEA HiVE Platform) สำหรับบ้านพักอาศัย PEA HiVE Platform เป็นแพลตฟอร์มระบบบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ มีจุดเด่นด้านการจัดการพลังงานเป็นเลิศสำหรับบ้านพักอาศัยและสอดคล้องกับพลังงานทดแทนที่ผลิตได้ เช่น Solar PV Rooftop เพื่อให้การใช้พลังงานสุทธิของบ้านเป็นศูนย์ (Net–Zero Energy) หรือใกล้เคียงและรองรับการใช้พลังงานในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะเปลี่ยนบ้านพักอาศัยธรรมดาให้เป็นบ้านอัจฉริยะ (Smart Home)

ระบบบริหารและจัดการพลังงานอัจฉริยะ PEA HiVE Platform

ที่มา:

รายละเอียด:

PEA VOLTA Platform (Very Open Language for Thailand Application) เป็นโครงข่ายข้อมูลสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ กฟภ. พัฒนาขึ้นเอง ประกอบด้วย ระบบและช่องทางการสื่อสารข้อมูลจากเครื่องอัดประจุไฟฟ้าไปยังฐานข้อมูล และส่วนของระบบบริหารจัดการข้อมูล พร้อมการแสดงผลผ่าน Mobile Application และ Web Service ในลักษณะของ User Interface

ทั้งนี้ กฟภ. ได้นำระบบ PEA VOLTA Platform สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าไปติดตั้งใน 11 เส้นทางหลักสู่เมืองใหญ่และท่องเที่ยวสำคัญอีกด้วย

สถานีอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้า

ที่มา:

รายละเอียด:

กฟภ. และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนารูปแบบธุรกิจสำหรับพลังงานสะอาด โดย กฟภ. มีแผนจะเป็นผู้ลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Quick Charge ในพื้นที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของ บางจากฯ ทุกๆ 100 กิโลเมตร ตามถนนสายหลักของประเทศไทยรวม 62 สถานี ในช่วงปี 2563 – 2564

ภาพพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง PEA กับ บางจากฯ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (พีอีเอ เอ็นคอม) และบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) ร่วมกันจัดตั้งบริษัท Thai Digital Energy Development (TDED) เพื่อพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดโดยใช้นวัตกรรมช่วยในการบริหารจัดการ ซึ่งเบื้องต้นจะลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้บริโภค โดยตั้งเป้าหมายลงทุนช่วง 5 ปี (2562-2566) จะมีกำลังผลิตไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ สร้างรายได้รวม 1,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2562 จะเริ่มจากความร่วมมือโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคากับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังการผลิต 12 เมกะวัตต์ เป็นโครงการแรก ใช้เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท แล้วเสร็จในสิ้นปี 2562 นี้ และเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2563 ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ BCPG จะแยกในส่วนของโครงการที่เป็นโซลาร์รูฟท็อปทั้งหมดโอนย้ายไปอยู่ภายใต้ TDED เช่น โครงการอสังหาริมทรัพย์ของแสนสิริ หรือ T77 ย่านสุขุมวิท 77 ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของ BCPG รวมถึงโครงการที่จะทำร่วมกับ บริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด (มหาชน) เช่นกัน สำหรับกลุ่มลูกค้าในอนาคตจะเจาะเป้าหมายนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. และนิคมฯ ทั่วไป รวมถึงมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทั้งนี้ TDED มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 200 ล้านบาท โดย พีอีเอ เอ็นคอม ถือหุ้นสัดส่วน 25% และ BCPG ถือหุ้นสัดส่วน 75% โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน สนับสนุน New Digital Business ผ่าน PEA Hero Platform ที่ กฟภ. เป็นผู้พัฒนาเพื่อส่งเสริมธุรกิจประหยัดพลังงาน และธุรกิจบริหารจัดการพลังงาน (ESCO) ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน Digital Energy แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค

ที่มา:

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท Power Ledger จากออสเตรเลียจับมือกับบริษัท Thai Digital Energy Development (TDED) บริษัทที่เกิดจากการร่วมมือกันของ พีอีเอ เอ็นคอม และ BCPG บริษัทในเครือบางจาก สร้างแพลตฟอร์มบล็อกเชนซื้อขายไฟฟ้าในประเทศไทย ความร่วมมือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมเป้าหมายของไทยที่จะพึ่งพาการใช้พลังงานสะอาดอย่างน้อย 25% ภายในปี 2037 โดยจะเปิดให้ซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแบบ P2P โรงไฟฟ้าเสมือน คาร์บอนเครดิต และใบรับรองแก่แหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ผ่านเครือข่ายบล็อกเชนของ Power Ledger (POWR) ซึ่งการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาช่วยในการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P นั้น จะช่วยส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รายย่อยให้หันมาติดตั้งโซลาเซลล์บนหลังคากันมากขึ้น นอกจากนี้ Power Ledger ยังเล็งเปิดแพลตฟอร์ม TraceX เพื่อเป็นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตและใบรับรองแก่แหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) เพื่อเปิดทางให้รายย่อยมีโอกาสเข้าถึงใบอนุญาตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ กัลฟ์ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ กฟภ. ลุยนำร่องศึกษาแนวทางในการออกแบบระบบบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีมิเตอร์อัจฉริยะ (Advanced Metering Infrastructure: AMI) เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบอัจฉริยะ (Smart Grid) และการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer-to-Peer โดยจะนำระบบวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล Big Data เข้ามาใช้งาน มุ่งรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และการขับเคลื่อนพื้นที่ EEC ไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้โดย กัลฟ์ และ กฟภ. มุ่งหวังว่าการใช้เทคโนโลยีมิเตอร์อัจฉริยะเข้ามาบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าจะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงและมีระบบไฟฟ้าที่ซับซ้อน นอกจากนี้ยังสอดรับกับแผนพัฒนาสมาร์ทซิตี้ของภาครัฐและการเติบโตทางธุรกิจของกัลฟ์ โดยกัลฟ์มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และเงินทุน อีกทั้งยังมีเครือข่ายกับซัพพลายเออร์ด้านเทคโนโลยีในธุรกิจพลังงานชั้นนำทั่วโลก ที่พร้อมจะร่วมพัฒนาและลงทุนในธุรกิจและโครงการที่ภาครัฐมีนโยบายให้การส่งเสริมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ระดับสากล ทั้งนี้ความร่วมมือกับ กฟภ. ในครั้งนี้จะทำให้กัลฟ์เข้าใจพฤติกรรมการใช้พลังงานในพื้นที่ EEC ได้มากขึ้น และจะทำให้กัลฟ์สามารถตอบสนองความต้องการและนำเสนอนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบมิเตอร์อัจฉริยะตอบโจทย์แผนยุทธศาสตร์ กฟภ. พ.ศ. 2563-2567 ที่มุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศในด้านจำหน่ายกระแสไฟฟ้าโดยบูรณาการทุกระบบงานด้วย Digitalization เพื่อเพิ่มความมั่นคงในระบบจำหน่าย และเสริมสร้างศักยภาพของ Smart Grid โดยระบบนี้จะช่วยให้การบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในหลายๆ ด้าน เช่น การจ้างเหมาจดหน่วยมิเตอร์ การออกไปดำเนินการตัดต่อมิเตอร์ ลดการสูญเสียรายได้จากการลักลอบใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ชำรุด (Non-technical loss) ลดต้นทุนจากกำลังสูญเสียในขดลวดของมิเตอร์จานหมุนและความคลาดเคลื่อนในการอ่านหน่วยมิเตอร์ (Technical Loss) รวมทั้งลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load) ของระบบ ทำให้สามารถชะลอการลงทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตให้กับระบบไฟฟ้า ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและการเชื่อมต่อกับแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กได้ นอกจากนี้ระบบมิเตอร์อัจฉริยะจะแจ้งศูนย์ควบคุมแบบอัตโนมัติเมื่อมีเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้อง ช่วยลดเวลาในการแก้ปัญหาและลดผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้า โดยผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ และตรวจสอบบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าย้อนหลังได้

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. ปฏิรูประบบจ่ายพลังงานสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบด้วย EcoStruxure ADMSTM (Advanced Distribution Management System) ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสู่สมาร์ทกริดของประเทศภายในปี 2565 รองรับความท้าทายด้านการใช้พลังงานในอนาคต

กฟภ. มีแผนยุทธ์ศาสตร์นำองค์กรสู่ “ดิจิทัลยูทิลิตี้ (Digital Utility)” ภายในปี 2565 เพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป เนื่องจากปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุม และคาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ กฟภ. สามารถบริหารจัดงานการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ได้อย่างครอบคลุม มีคุณภาพตามมาตรฐานการให้บริการ และเพียงพอในช่วงเวลาวิกฤตต่างๆ สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัลเกี่ยวกับงานควบคุมสั่งการจ่ายไฟฟ้า กฟภ. จะนำมาใช้คือ EcoStruxure ADMS (Advanced Distribution Management System) จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของ กฟภ. ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในเรื่องสมาร์ทกริดที่สามารถตรวจพบข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขได้อย่างทันท่วงที และบริหารจัดการพลังงานให้มีความต่อเนื่องในทุกพื้นที่อย่างเพียงพอแก่การใช้งานอย่างแท้จริง แม้ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤต พร้อมทั้งมีโซลูชั่นสำหรับการบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจายตัว (Distributed Energy Resource Management System: DERMS) โดยสามารถมองเห็นการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟภ. ได้ทั้งระบบ สามารถทำงานร่วมกับระบบเดิม หรืออุปกรณ์หลากหลายแบรนด์ได้อย่างราบรื่น สร้างความเสถียรของเครือข่ายที่มากขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และที่สำคัญคือสามารถคาดการณ์แนวโน้มการใช้ไฟในอนาคต จึงช่วยให้ กฟภ. สามารถบริหารจัดการแหล่งพลังงานรูปแบบต่างๆ ที่เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของ กฟภ.ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดย EcoStruxure ADMS จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นการอัพเกรดและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟฟ้าเพื่อให้สามารถ ควบคุม สั่งการและวิเคราะห์จ่ายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมไฟฟ้ารูปแบบใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟ” (คปศ.) ซึ่งทาง กฟภ. คาดหวังว่าทั้งภาคประชาชน และภาคธุรกิจพลังงานจะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว เมื่อระบบงานต่างๆ แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามแผนยุทธศาสตร์ที่ได้วางเอาไว้ เพื่อเดินหน้าประเทศไทยสู่ดิจิทัลด้านพลังงานอย่างแท้จริง

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. และ กนอ. ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ พัฒนาธุรกิจพลังงานด้วยระบบดิจิทัลหนุนใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการจัดการพลังงานในนิคมอุตสาหกรรมด้วยระบบดิจิทัล (Digital Platform) และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Smart Energy) เพื่อยกระดับการผลิตพลังงานและการบริหารจัดการพลังงานภายในนิคมอุตสาหกรรม และเพื่อสร้างต้นแบบและนำร่องการบริหารจัดการพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) และนำระบบ PEA Digital Platform มาใช้บริหารจัดการพลังงานในนิคมอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและระบบตรวจวัดการใช้พลังงานมาประยุกต์ใช้ในระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Grid) ช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบการส่งจ่ายไฟฟ้าได้พัฒนาโปรแกรม พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง (Real Time) เพื่อช่วยคำนวณการจ่ายกระแสไฟฟ้าทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีความเสถียร ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง โดยระบบดังกล่าวนอกจากประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยลดต้นทุนในการผลิตแล้ว ยังมุ่งเน้นไปในด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานทดแทน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

PEA และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT หรือ ทีโอที) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการจัดการพลังงานในองค์กร และธุรกิจดิจิทัล โดยจะทำการศึกษาการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และการบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัล (Digital Platform) แนวทางในการประหยัดพลังงาน และศึกษาการพัฒนาด้านธุรกิจพลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดทั้งในด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงด้านการบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสภาวะการใช้งาน นอกจากนี้ PEA ยังสนับสนุน อำนวยความสะดวกในการดำเนินการโครงการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop และการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ติดตั้งผ่านโครงการด้วยระบบดิจิทัลของ PEA ในพื้นที่ของ TOT พร้อมตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ที่อาจจะเกิดเหตุขัดข้องของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือชำรุดเสียหายอย่างกะทันหัน Corrective Maintenance (CM) และเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM) รวมถึงสนับสนุนและอำนวยความสะดวกจัดหายานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle) ตามความต้องการในการใช้งานอีกด้วย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. ร่วมกับ บริษัท Mitsubishi Motor Thailand (Mitsubishi Motor) และ เดลต้าฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่าย ด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สถานีชาร์จ และแอปพลิเคชั่นของ กฟภ. สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ความร่วมมือของทั้ง 3 ฝ่าย เร่งผลักดันให้เกิดการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ผ่านการแบ่งปันข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจาก Mitsubishi Motor และที่ตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของเดลต้าฯ โดยความร่วมมือนี้จะยกระดับประสบการณ์ของผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าชาวไทยผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือของ กฟภ. เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถค้นหาสถานีชาร์จทั่วประเทศได้อย่างสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น PEA สนองนโยบายด้านยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมเส้นทางการคมนาคมในเส้นทางหลักทุก 100 กิโลเมตร ทั่วประเทศ จำนวน 62 สถานี ภายในปี 2564 เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าผ่าน PEA’s Mobile Application โดยผู้ใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสามารถค้นหาสถานี จองคิว สั่งชาร์จ และหยุดชาร์จได้อย่างง่ายดาย Mitsubishi Motor เชื่อมั่นว่าจากความร่วมมือในครั้งนี้ จะผลักดันให้เกิดการขยายจำนวนสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงรถพีเอชอีวีไปทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็ว เพิ่มความสะดวกสบายคลายข้อกังวลในเรื่องของข้อจำกัดด้านระยะทางการขับขี่ เป็นการส่งเสริมให้ คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น อีกทั้ง Mitsubishi Motor ยังได้มีการสนับสนุนแผนการส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา Mitsubishi Motor ได้เปิดตัวรถยนต์ Mitsubishi Outlander PHVE รถเอสยูวีแบบปลั๊กอินไฮบริดที่ขายดีที่สุดในโลก สามารถใช้ได้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน ความร่วมมือครั้งนี้ระหว่าง Mitsubishi Motor Thailand กับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งและเป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าอย่าง กฟภ. และ เดลต้าฯ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านแอปพลิเคชันของ กฟภ. และช่วยมอบความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย ในการติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านให้กับผู้ใช้รถยนต์ Outlander PHVE ทั้งนี้ทาง Mitsubishi Motor มีความมุ่งมั่นในการมอบประสบการณ์ที่ “สบายใจ ไร้กังวล” ในการเป็นเจ้าของรถยนต์ Outlander PHVE ให้กับลูกค้า ส่วน เดลต้าฯ นั้น มีความสามารถหลัก อันโดดเด่นด้านการแปลงกระแสไฟฟ้าและการจัดการพลังงาน ทำให้สามารถพัฒนาโซลูชั่นการชาร์จประสิทธิภาพสูง พร้อมมาตรฐานความปลอดภัยที่ผ่านการใช้งานจริงและได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งที่ผ่านมา เดลต้าได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Mitsubishi Motor Thailand รวมถึงผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก โดยความร่วมมือครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า และสนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงมอบการสนับสนุนด้านเทคนิค โดยสามารถใช้งานผ่าน แอปพลิเคชั่นของ กฟภ. เพื่อค้นหาและเข้าใช้งานเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของเดลต้าที่ครอบคลุม ทั่วไทยได้อย่างง่ายดาย ด้าน กฟภ. จะให้การสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชั่นของ กฟภ. และมอบบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแรงต่ำ ณ สถานที่ติดตั้งจริง (ที่อยู่อาศัยและสำนักงาน) รวมถึงการติดตั้งระบบไฟฟ้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ส่วน Mitsubishi Motor Thailand ให้ข้อมูลด้านการตลาดและผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด พีเอชอีวี ข้อมูลสถานีชาร์จ (สถานที่ตั้งและชนิดของเครื่องชาร์จ) และร่วมพัฒนา แบ่งปันฐานข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าให้กับ กฟภ. ภายหลังการวางจุดตำแหน่งสถานีชาร์จของเดลต้าฯ ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้แอปพลิเคชั่นของ กฟภ. เพื่อดำเนินการจองสั่งงาน การเริ่มต้น และหยุดชาร์จไฟ ตลอดจนชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น ภายใต้ความช่วยเหลือและสนับสนุนจากเดลต้าฯ ซึ่งเดลต้าฯ จะส่งข้อมูลจากเครื่องชาร์จไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ กฟภ. ตามมาตรฐาน OCPP (Open Charge Point Protocol) ความร่วมมือครั้งใหญ่ระหว่าง กฟภ. Mitsubishi Motor Thailand และเดลต้าฯ ในครั้งนี้ ช่วยสนับสนุนแผนพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ที่กำหนดเป้าหมายให้มีรถยนต์ไฟฟ้า 1.2 ล้านคัน (ทั้งประเภทปลั๊กอินไฮบริดและใช้แบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว) บนท้องถนนภายในปี 2579 โดยทั้ง 3 พันธมิตรจะร่วมมือกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ขับขี่ชาวไทย ทั้งในเรื่องความรู้พื้นฐานของระบบรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM) ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ กฟภ. และ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยความร่วมมือดังกล่าวจะต่อยอดการดำเนินธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ช่วยผลักดันเป้าหมายการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าของบริษัทไปถึง ตามเป้าหมาย 7,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยสร้างผลกำไรและเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอต่อไป โดยวัตถุประสงค์คือจะมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือ ทั้งทางด้านเทคนิคและการเงินเพื่อขยายธุรกิจร่วมกัน เช่น การขยายขอบเขตของลูกค้าอุตสาหกรรมของโครงการโรงไฟฟ้าแบบ SPP เป็นวงกว้างขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพโครงการผลิตไฟฟ้าโดยเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือจำหน่ายให้ลูกค้าตรงโดยไม่ขายเข้าระบบของการไฟฟ้า (Independent Power Supply: IPS) โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน รวมถึงระบบไมโครกริดและระบบสมาร์ทไมโครกริด (Smart Microgrid) ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของ BGRIM ในการเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีโอกาสประหยัดเงินลงทุนในสายส่งและอุปกรณ์อื่นในอนาคตมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท โดยเบื้องต้นเป็นส่วนของโครงการโรงไฟฟ้า บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (เอไออี-เอ็มทีพี) จำกัด จำนวน 315 ล้านบาท และการให้บริการลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท เอสพีซีจี จํากัด (มหาชน) (SPCG) ร่วมกับ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) และบริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด (SET Energy) จะจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการศึกษา พัฒนาวิจัย และลงทุนระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อการบริหารจัดการพลังงาน สําหรับ โครงการจัดหาพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) และพลังงานสํารอง (ระบบกักเก็บพลังงาน) เพื่อใช้ในเขตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. ร่วมกับ บางจากเปิดให้บริการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก โดยสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า PEA VOLTA จะติดตั้งในปั๊มบางจากทุก ๆ 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้อย่างไร้กังวล

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. ร่วมกับบางจาก ติดตั้งจุดบริการ EV Charger Station ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก ซึ่งจะเปิดให้บริการบนเส้นทางสายหลัก 56 สาขา ต่อเนื่องทุกระยะ 100 กิโลเมตร รองรับการเดินทางขาเข้าและขาออกเมือง

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

Mitsubishi ได้ลงนาม MOU ร่วมกับ กฟภ. และ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยความร่วมมือนี้จะยกระดับประสบการณ์ของผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือของ กฟภ. เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถค้นหาสถานีชาร์จทั่วประเทศได้อย่างสะดวก สบายและง่ายยิ่งขึ้น

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. อยู่ระหว่างการเจรจากับ ปตท. เพื่อร่วมลงทุนขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ในสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น ของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. ได้เปิดโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้า แบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid) ที่ จ.แม่ฮ่องสอน โดยการดำเนินโครงการ Micro Grid ของ กฟภ. จะช่วยเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้แก่ อ.แม่สะเรียง และพื้นที่บริเวณใกล้เคียง

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้จัดสัมมนา “เทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้ากำลังมา เตรียมชาร์จรถอย่างไรให้ปลอดภัย” ผ่านระบบออนไลน์ โดย 3 หน่วยงานการไฟฟ้า (กฟผ. กฟภ. และ กฟน.) ร่วมมือกันจำหน่ายพลังงานสะอาด เพื่อเตรียมความพร้อมรับเทรนด์ EV ในอนาคต

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. ได้นำระบบบริหารคลังข้อมูลอัตโนมัติ Oracle Autonomous Data Warehouse และการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านคลาวด์ Oracle Analytics Cloud (OAC) เข้ามาช่วยบริหารจัดการข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็น เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และตลาดธุรกิจไฟฟ้า ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนในอนาคต

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟภ. ได้นำระบบบริหารคลังข้อมูลอัตโนมัติ Oracle Autonomous Data Warehouse และการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านคลาวด์ Oracle Analytics Cloud (OAC) เข้ามาช่วยบริหารจัดการข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็น เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และตลาดธุรกิจไฟฟ้า ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนในอนาคต

ที่มา: