สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2021-10-25T14:31:21+07:00

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ได้รับการยกฐานะขึ้นจากสมาคมอุตสาหกรรมไทย ที่ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2510 มาเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2530 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐที่ต้องการพัฒนาสถาบันธุรกิจภาคเอกชน ของไทยให้แข็งแกร่ง อันจะทำให้กลไกการพัฒนา ในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถประสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติในวงการเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ สอท. สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

สอท. ร่วมกับ กนอ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุน “โครงการสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม New S-Curve และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง” สอท. และ กนอ. ได้คัดเลือกอุตสาหกรรมสำรองไฟฟ้า (Energy Storage) เพื่อตอบสนองนโยบายด้านการส่งเสริมและสนับสนุน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีนวัตกรรมในประเทศทางด้านพลังงาน เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยลดการนำเข้า และสร้างการส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ซึ่งมีอุตสาหกรรมหลักในตลาดรองรับ ได้แก่ ระบบกักเก็บไฟฟ้าของประเทศ ยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมประเภทอุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมไปยัง First S-Curve, New S-Curve และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม

สอท. ร่วมกับ กนอ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

ที่มา:

รายละเอียด:

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศบูรณาการไอทีร่วมกับการผลิต เพื่อลดต้นทุน ยกระดับการบริหารจัดการพลังงานในภาคอุตสาหกรรม ผ่านงานสัมมนาและนิทรรศการ Smart Energy Expo 2019 ภายใต้แนวคิด “Smart Energy-Smart Factory” ภายในงานได้จัดแสดงบูธนิทรรศการจากบริษัทชั้นนำด้านพลังงานอย่าง เดลต้า ที่เน้นเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว, มิตซูบิชิ กับธีม e-Factory และ Smart Device รวมทั้ง ซีเมนส์, ชไนเดอร์, หัวเหว่ย, ปตท. และ กฟผ. ร่วมงานอย่างคับคั่ง และโซนสัมมนาเน้นการประยุกต์ใช้ไอทีทั้ง IoT, Smart Grid, Smart Device, การจำลองสถานการณ์ด้วย Software ต่างๆ ที่ช่วยยกระดับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสมชื่องาน Smart Energy

Smart Energy Expo 2019

ที่มา:

รายละเอียด:

กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ Smart Industry โดยมีวิสัยทัศน์คือ “ส่งเสริมสนับสนุนขีดความสามารถของสมาชิกเข้าสู่เทคโนโลยีขั้นสูง” โดยแบ่งยุทธศาสตร์เป็น 3 ข้อหลัก

  • ยุทธศาสตร์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Mass Customization for Customers Segmentation)
  • ยุทธศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ (Advance & Effective Electronics Manufacturer)
  • ยุทธศาสตร์ไฟฟ้ากำลัง ทิศทางการพัฒนาจะมีแนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (Renewable Energy)

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กระทรวงอุตสาหกรรมผลักดันแผน Roadmap การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อเร่งให้เกิดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศตรงตามเป้าหมาย โดยให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 30% ในปี 2573 โดยลงพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี เยี่ยมชมผู้ประกอบการศักยภาพที่พร้อมตอบโจทย์การผลิตยานยนต์-ชิ้นส่วนรถ EVตอบโจทย์นโยบายภาครัฐ เพื่อการแก้ปัญหามลพิษอย่างยั่งยืน

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 1-1/2563 ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันพิจารณาดำเนินการให้เกิดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย รถยนต์ จักรยานยนต์ และรถบัสสาธารณะ เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคม สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และลดปัญหาฝุ่น PM5 อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นกระทรวงฯ จึงได้ลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยม บริษัท โชคนำชัยแมชชีนนิ่ง จำกัด จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตและประกอบยานพาหนะต่างๆ อาทิ รถยนต์ รถบัส และเรือ สัญชาติไทยรายใหญ่ของประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในเชิงวิศวกรรม ซึ่งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย รถมินิบัส จำนวน 2,880 คัน/ปี เรือตรวจการณ์ จำนวน 70 ลำ/ปี เรือขนาดใหญ่ 16-20 เมตร จำนวน 30 ลำ/ปี เรือท้องแบน จำนวน 1,500 ลำ/ปี และแม่พิมพ์ชิ้นส่วนรถยนต์ 320 ชิ้น/ปี ซึ่งนับว่าเป็นสถานประกอบการที่มีศักยภาพความพร้อม สามารถต่อยอดในการผลิตชิ้นส่วนและการประกอบยานยนต์ไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของอุปสงค์ (ความต้องการใช้) และอุปทาน (ผู้ผลิต) เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องในยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพื่อเร่งให้เกิดการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโดยเร็ว สอดรับกับเป้าหมายในปี 2573 มุ่งให้ประเทศไทยมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตยานยนต์ทั้งหมด โดยแผนระยะสั้น (ปี 2563-2565) จะมีการขับเคลื่อนรถราชการ รถบัสสาธารณะ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้างสาธารณะและรถส่วนบุคคลอื่นๆ ประมาณ 60,000 – 110,000 คัน แผนระยะกลาง (ปี 2564-2568) เร่งให้มีรถยนต์ไฟฟ้าราคาประหยัด ECO EV และ Smart City Bus ประมาณ 250,000 คัน และแผนระยะยาวในปี 2573 จะมียานยนต์ไฟฟ้า 750,000 คัน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ในงานสัมมนา “New Generation of Automotive” ในหัวข้อ “Road Map ไทย ขับเคลื่อน EV” รมว. อุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายและมาตรการที่จะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยสามารถปรับตัวและต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตเดิม เพื่อคงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยที่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เป็นอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการผลักดันเพื่อให้เกิดการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญภายในประเทศ โดยมีมาตรการสนับสนุนการผลิตยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการผลิตยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีมาตรการครอบคลุมทุกด้าน ส่วนในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น ที่ผ่านมาได้มีการส่งเสริมความร่วมมือทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมีการกำหนดค่าไฟฟ้าคงที่ไว้ที่ 2.63 บาท/หน่วย และติดตั้งสถานีประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมในรัศมี 50-70 กิโลเมตร เพื่อให้ครอบคลุมการเดินทางในระยะไกล ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้มีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า EV ภายในประเทศให้มากขึ้นได้วางแผนตั้งเป้านำร่องยานยนต์ไฟฟ้าในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อน นอกจากนี้ ที่ผ่านมาได้อยู่ระหว่างการหารือกับทาง สอท. ภายใต้มาตรการยานยนต์ เก่าแลกยานยนต์ไฟฟ้า นำรถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี มาแลกรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและจัดการซากยานยนต์ โดยจะมีการศึกษาเรื่องการจัดการซากยานยนต์ในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างเป็นระบบ รองรับการลงทุนการรีไซเคิลซากรถยนต์และแบตเตอรี่ เพื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

นายสุพันธ์ มงคลสุธีร์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้มีมติเร่งรัดให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (ZEV) 100% ภายในปี 2578 หรือภายใน 14 ปี ข้างหน้า ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิมในปี 2583 หรือเร็วขึ้นกว่าเดิม 5 ปี ขณะที่ในปี 2573 จะต้องผลิตรถไฟฟ้าให้ถึง 50% ของปริมาณการผลิตรถทุกชนิด

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน และสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ส.อ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan) ฉบับภาคประชาชน โดยจะมีการระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนเข้ามาประกอบการจัดทำแผน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ปี 2564

ที่มา: