การส่งเสริมสถานีอัดประจุในประเทศไทย (ต่อ)

//การส่งเสริมสถานีอัดประจุในประเทศไทย (ต่อ)

การส่งเสริมสถานีอัดประจุในประเทศไทย (ต่อ)

By | 2022-02-08T14:51:38+07:00 กุมภาพันธ์ 8th, 2022|อินโฟกราฟิก|
  • บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน มีการพัฒนา DC City Charger 50/100 kW เป็นเครื่องอัดประจุแบบเร็ว 1,000 V และการกระจายโหลดแบบไดนามิก ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพถึง 94% และสามารถรองรับหัวจ่ายได้หลากหลาย
  • ริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด มีการสร้างเครื่องอัดประจุ ABB Terra 53 โดยได้การติดตั้งเครื่องอัดประจุตามเครือ Central ในชื่อ Central project ติดตั้งภายใต้ชื่อ PEA VOLTA ซึ่งเป็นรุ่น Terra 54 และติดตั้งในสถานีของ กฟผ. ซึ่งเป็นรุ่น Terra 124 จำนวน 5 Unit
  • บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด มีการพัฒนาสถานีอัดประจุในรูปแบบต่าง ๆ เช่น AC Charger , DC Charger รวมถึงการพัฒนาสถานีอัดประจุขนาด 4 MW สำหรับเรือไฟฟ้า Mine Smart Ferry และสถานีอัดประจุขนาด 1.5 MW สำหรับรถโดยสารไฟฟ้า
  • บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีโครงการติดตั้งสถานีอัดประจุตามสถานี
    เติมน้ำมันเชื้อเพลิงของ ปตท. ซึ่งปัจจุบันได้มีการติดตั้งสถานีอัดประจุทั้งหมด 89 สถานี และมีแผนที่
    จะขยายการติดตั้งสถานีอัดประจุให้ครอบคลุมเส้นทางหลักตามทางหลวง ทุก ๆ 100 กิโลเมตร ภายในปี 2564 และจะเพิ่มความถี่ของสถานีอัดประจุให้ได้ทุก ๆ 50 กิโลเมตร ภายในปี 2565-2566
  • บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด มีการให้บริการเช่ายานยนต์ไฟฟ้า (EV Car Sharing) เรือท่องเที่ยวไฟฟ้า (e-Ferry) และการให้บริการรถโดยสารแบบไรด์แชร์ริ่ง (Ride Sharing)
  • บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จํากัด มีการทำโครงการ ChargeNow ซึ่งเป็นเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าสาธารณะ สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าประเภท Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) และ Battery Electric Vehicle (BEV) และมีเป้าหมายที่จะติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครบ 100 สถานีทั่วประเทศ
  • บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีการติดตั้งสถานีอัดประจุแบบเร็ว ภายใต้ชื่อ MG SUPER CHARGE โดยจะสามารถใช้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าได้ทุก ๆ 150 กิโลเมตร ซึ่งบริษัทฯ มีเป้าหมายในการติดตั้งสถานีอัดประจุ จำนวน 100 แห่ง ภายในเดือนธันวาคม 2563 และมีแผนที่จะขยายสถานี MG SUPER CHARGE เพิ่มอีก 500 แห่ง ภายในปี 2564