ประเทศไทยได้มีการส่งเสริมและพัฒนาเกี่ยวกับสถานีอัดประจุเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาเครื่องอัดประจุ การทำยานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ ตลอดจนถึงการวางแผนการพัฒนา ด้านระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการกำลังไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ทำการศึกษาและมีผลงานวิจัยในด้านต่าง ๆ ทั้งงานวิจัยที่สำเร็จออกมาสู่สาธารณะและงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ โครงการการส่งเสริมและพัฒนาที่เกี่ยวกับสถานีอัดประจุของหน่วยงานต่าง ๆ มีดังนี้
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โครงการการพัฒนาเกี่ยวข้องกับสถานีอัดประจุและ
ยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. ได้มีการแบ่งการดำเนินการอยู่ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่- ด้านวิจัยและนวัตกรรม อาทิ การวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือ
การดัดแปลง การพัฒนาการดัดแปลงรถเมล์ใช้แล้วของ ขสมก. เป็นรถไฟฟ้า โครงการวิจัยการใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษารถรับจ้างสาธารณะในพื้นที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เป็นต้น - ด้านส่งเสริมประสิทธิภาพและการใช้งาน อาทิ โครงการนำร่องสาธิตการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า งานพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์ประสิทธิภาพสำหรับ
EV & Charging Station (รองรับการติดฉลากเบอร์ 5) เป็นต้น - ด้านพัฒนาธุรกิจ อาทิ โครงการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ งานพัฒนา Application และระบบบริหารจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า เป็นต้น
- ด้านวิจัยและนวัตกรรม อาทิ การวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือ
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โครงการการพัฒนาเกี่ยวข้องกับสถานีอัดประจุและยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟภ. ได้มีการแบ่งการดำเนินการอยู่ทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่
- การสนับสนุนด้านระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อาทิ การปรับปรุงระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่ายแรงสูง เพื่อให้เพียงพอต่อ EV Charging Station ที่จะมี
การติดตั้งบนถนนสายหลักและถนนสายรอง - แผนงานติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า PEA VOLTA มีการทำแผนงานติดตั้งสถานีอัดประจุตามเป้าหมายของโครงการไว้ทั้งหมด 263 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 75 จังหวัด ภายในปี 2564
- การพัฒนา PEA VOLTA Platform มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟภ. และจะขยายผลให้สามารถ Roaming กับ Platform ของผู้ประกอบการรายอื่นได้ในอนาคต
- การสนับสนุนอัตรา EV Low Priority กฟภ. ได้มีการสนับสนุนอัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ตลอดวันเท่ากับ 6369 บาทต่อหน่วย
- การสนับสนุนด้านระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อาทิ การปรับปรุงระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่ายแรงสูง เพื่อให้เพียงพอต่อ EV Charging Station ที่จะมี
- การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โครงการการพัฒนาเกี่ยวข้องกับสถานีอัดประจุและยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟน. ที่มีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับสถานีอัดประจุ มีดังนี้
- Smart Metro Grid เป็นโครงการที่ กฟน. ได้มีการตั้งเป้าหมายในปี 2564 โดยจะติดตั้ง Smart Meter ทั้งหมด 33,265 เครื่อง พร้อมทั้งการทำระบบ Energy Storage เพิ่มใน Substation ปทุมวัน
- MEA Smart Charging System เป็นระบบบริหารจัดการพลังงานสำหรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
- MEA EV Platform เป็น Mobile Application สำหรับผู้ใช้บริการทั่วไปที่สามารถใช้ค้นหา ดูรายละเอียด จอง และนำทางไปยังสถานีอัดประจุได้ รวมถึงแสดงประวัติการอัดประจุ
ที่ผ่านมา และมี Web Application สำหรับเจ้าหน้าที่ กฟน. และผู้ประกอบการ - การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า กฟน. มีแผนการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟน. จำนวน 88 สถานี
- อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุแบบ Low Priority กฟน. ได้มีการสนับสนุน
การคิดอัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ตลอดเวลา โดยค่าไฟฟ้าจะคิดในอัตราเท่ากับกิจการขนาดเล็ก อัตราตามช่วงเวลา (TOU) คือ 2.6369 บาทต่อหน่วย