นโยบายการส่งเสริมสถานีอัดประจุในต่างประเทศ

//นโยบายการส่งเสริมสถานีอัดประจุในต่างประเทศ

นโยบายการส่งเสริมสถานีอัดประจุในต่างประเทศ

By | 2022-02-08T14:47:29+07:00 กุมภาพันธ์ 8th, 2022|อินโฟกราฟิก|

การใช้งานรถยนต์สันดาปภายในมักก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ อาทิ ฝุ่นละออง PM 2.5 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งประเทศไทยและอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่และเริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ จึงทำให้ในหลายประเทศได้พยายามผลักดันนโยบายให้มีการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุในแต่ละประเทศ มีดังนี้

  1. ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมุ่งเน้นไปที่การติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ผ่านการสนับสนุนด้านการเงิน มีโครงการถนนเชื้อเพลิงทางเลือกที่สนับสนุนการใช้ยานยนต์พลังงานทางเลือกในการเดินทางระยะไกล มีการสนับสนุนการติดตั้งเครื่องอัดประจุที่ติดตั้งในบ้าน สำนักงาน หรือพื้นที่เชิงพาณิชย์
  2. ประเทศจีน รัฐบาลจีนได้ให้การสนับสนุนการติดตั้งเครื่องอัดประจุในพื้นที่ต่าง ๆ และมีการเริ่มกำหนดเป้าหมายสนับสนุนการพัฒนาสถานีอัดประจุ ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และได้มีการตั้งเป้าหมายในการขายยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 25% ภายในปี 2025
  3. ประเทศอินเดีย มีการจัดทำข้อเสนอเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า ปรับปรุงมาตรฐานการอัดประจุ สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาอุปกรณ์อัดประจุ มีการลดภาษีและอุดหนุนค่าอุปกรณ์อัดประจุ และการสร้างสถานีอัดประจุในพื้นที่ต่าง ๆ
  4. ประเทศอังกฤษ รัฐบาลมีความพยายามผลักดันในการพัฒนาจุดอัดประจุให้เป็นเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานการอัดประจุที่ดีที่สุดในโลก มีการออกกฎระเบียบสำหรับการสร้างบ้านและอาคารใหม่ ตั้งแต่ปี 2022 จะต้องติดตั้งจุดอัดประจุ โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่านโยบายนี้จะทำให้เกิดจุดหรือสถานีอัดประจุแห่งใหม่ประมาณ 145,000 จุดในแต่ละปี และได้มีการตั้งเป้าหมายยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปภายใน ภายในปี 2035