เสาหลักที่ 2: ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน
วัตถุประสงค์ของเสาหลักที่ 2: ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน คือ การจัดตั้งระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน ให้สามารถใช้งานสนับสนุนการบริหารจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้ การศึกษาพัฒนาแบบจำลองไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน สำหรับระบบส่งและจำหน่าย ระบบไมโครกริด ระบบบริหารจัดการพลังงาน (BEMS/HEMS/FEMS) อีกทั้งรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน จากสถานีตรวจวัดทางอุตุนิยมวิทยาของหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการพยากรณ์ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน โดยผลการพยากรณ์ต้องมีความถูกต้องแม่นยำในระดับที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ จากนั้นทำการส่งผลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนไปให้กับผู้บริหารระบบส่งและจำหน่ายซึ่งได้แก่ กฟผ. กฟน. และ กฟน. เพื่อนำไปใช้ในการบริหารระบบส่งและจำหน่ายซึ่งมีการเชื่อมต่อของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในระดับสูง ได้อย่างมีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพสูง การสูญเสียภายในระบบต่ำ และมีค่าใช้จ่ายต่ำ
แผนเสาหลักที่ 2: ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน
การพัฒนาระบบพยากรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ศึกษาโครงสร้างของศูนย์พยากรณ์เพื่อระบุแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว ควบคู่ไปกับการศึกษาประเด็นด้านการทำงานร่วมกันได้ (Interoperability) ของระบบสมาร์ทกริดซึ่งมีระบบพยากรณ์ฯ เป็นส่วนประกอบ
การศึกษาเทคโนโลยี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการศึกษาแบบจำลองการพยากรณ์เพื่อระบุว่าแบบจำลองใดมีความเหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทยมากที่สุด
การนำร่องเทคโนโลยี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการทดสอบแบบจำลองที่ได้รับการคัดเลือกในบางพื้นที่ โดยการเปรียบเทียบผลการพยากรณ์ กับไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
โดยจากการดำเนินการนำร่องเทคโนโลยีของ กฟผ. จะทำให้มีระบบการพยากรณ์เกิดขึ้นในบางพื้นที่ของประเทศไทยเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีความพร้อมในการขยายผลความครอบคลุมของระบบพยากรณ์ดังกล่าวไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ
รูปสรุปกิจกรรมหลักต่าง ๆ ภายใต้เสาหลักที่ 2
ตารางสรุปกิจกรรมภายใต้เสาหลักที่ 2 ของแผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้น พร้อมหน่วยงานหลัก กรอบงบประมาณและกรอบเวลาการดำเนินการ
อ้างอิง | โครงการ/กิจกรรม – เสาหลักที่ 1 | หน่วยงานหลัก | งบประมาณ (ล้านบาท) |
กรอบเวลา | ||||
2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | ||||
ERC-03 | การพัฒนาโครงสร้างหน่วยงานและการดำเนินการของศูนย์พยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน | สกพ. | 10 | 10 | ||||
EGAT-02 | การศึกษาความเหมาะสมและการปรับใช้เทคโนโลยีการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน | กฟผ. | 24 | 10 | 8 | 6 | ||
EGAT-03 | การทดสอบนำร่องเทคโนโลยีการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน | กฟผ. | 15 | 10 | 5 | |||
รวม | 49 | 10 | 10 | 18 | 11 | 0 |
ดาวน์โหลดแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ในระยะสั้น (พ.ศ. 2560 – 2564 ) (ฉบับเต็ม) ที่นี่
ผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 2
ภายใต้เสาหลักที่ 2 ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะสั้น มีเป้าหมายหลัก คือ เกิดการใช้งานระบบพยากรณ์ฯ ในบางพื้นที่ของประเทศไทยภายในปี พ.ศ.2564 โดยจะทำให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับการเชื่อมต่อโรงไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะมีมากขึ้นในอนาคตตามแผน AEDP ซึ่งจะส่งผลให้ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 จะมีพลังงานทดแทนที่ความผันผวนเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าประมาณ 3,500 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ จากแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะสั้น ที่ได้ระบุรายละเอียดกิจกรรม หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรอบงบประมาณ และกรอบเวลาสำหรับการดำเนินการของเสาหลักที่ 2 นั้น ที่ปรึกษาจะทำการรวบรวมรายละเอียดความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมดังกล่าว รวมถึงกิจกรรมหรือโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของหน่วยงานหลัก โดยทางที่ปรึกษาจะมีการระบุรหัสโครงการเพิ่มเติม (ถ้ามี) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การดำเนินงานในปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้
ตารางสรุปกิจกรรมภายใต้เสาหลักที่ 2
รูประยะเวลาดำเนินโครงการตามเสาหลักที่ 2 ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast)