สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (National Institute of Development Administration: NIDA) เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 โดย NIDA เป็นสถาบันที่ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างชาญฉลาดและรู้คุณค่า และมุ่งเน้นการพัฒนาสถาบันให้มีความทันสมัยและเกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ NIDA สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
การพัฒนา NIDA Smart Compact City (NIDA S2C) มีเป้าหมายสูงสุด 5 ด้าน ได้แก่ คุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of Life) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ความโปร่งใส (Transparency) การมีส่วนร่วม (Participation) และความ สามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) โดยมีแผนการดำเนินการในมิติต่างๆ ของเมืองอัจฉริยะดังต่อไปนี้
- พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
- การสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility)
- ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community)
- สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
- เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
- อาคารอัจฉริยะ (Smart Building)
- การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ (Smart Governance)
- นวัตกรรมอัจฉริยะ (Smart Innovation)
NIDA Smart Compact City
ที่มา:
รายละเอียด:
Smart Energy เป็น 1 ใน 8 แนวคิดที่นำมาปรับใช้ในโครงการ NIDA Smart Compact City โดย Smart Energy เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาดจากแสงอาทิตย์ที่ส่งเข้า Smart Grid ที่มีระบบแบตเตอรี่ช่วยหล่อเลี้ยงในยามฉุกเฉินได้ 100% ซึ่งระบบจัดการพลังงานอัตโนมัติของเมืองที่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud และ IoT และการใช้พลังงานธรรมชาติจะช่วยลดการปล่อย CO2 ลงได้กว่า 66% โดยมีการดำเนินการดังนี้
- ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา
- จัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงาน การใช้ และผลิตพลังงานหมุนเวียน
ทั้งแบบ Passive และ Active - Microgrid, EMS และ Energy Storage
- EV Charging Station
- Energy Cloud, BEMS และ Micro EMS
โครงการ Smart Energy
ที่มา:
รายละเอียด:
Smart Mobility เป็นการขับเคลื่อน NIDA ให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางของกรุงเทพมหานครโซนตะวันออก เชื่อมโยงทางเดินเท้า ทางจักรยาน และรถ Shuttle ไฟฟ้าภายใน NIDA และเชื่อมต่อการเดินทางกับเรือโดยสารคลองแสนแสบ รถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีเหลืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง โดยจะมีการดำเนินการ เช่น
- ระบบทางเดินเท้าและทางจักรยานที่ต่อเชื่อมกันแบบไร้รอยต่อ (Seamless Pedestrian and Bike Paths) ด้วยการออกแบบสากล (Universal Design)
- ระบบ GPS ระบุตำแหน่งของรถเมล์ เรือโดยสารและรถไฟฟ้าแสดงใน NIDA Application
- ระบบ Smart Parking ระบุจำนวนที่จอดรถที่คงเหลือในแต่ละอาคารและแต่ละชั้น ส่งข้อมูลแบบ Real-time แสดงใน NIDA Application
โครงการ Smart Mobility
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ธนาคารกรุงไทย และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการ NIDA Smart University เพื่อให้บริการ NIDA University Application แพลตฟอร์มการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การบริหารงานที่สามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของนักศึกษาและบุคลากร เพื่อสนับสนุน NIDA ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ NIDA
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) ได้เข้าร่วมการสัมมนาโครงการวิจัย “การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันด้วยยานยนต์ไฟฟ้า
ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสีย EURO 6 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบรรยากาศ” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และ คพ. ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ที่มา: