แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558–2579

/แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558–2579
แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558–2579 2024-10-03T03:05:11+07:00

แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558–2579

กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการจัดทำและประกาศแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (แผนแม่บทฯ) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นผู้จัดทำแผนแม่บทฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ในการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด ไว้ว่า

 

“ส่งเสริมให้เกิดการจัดหาไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนมีคุณภาพบริการที่ดี

และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ”

 

แผนแม่บทฯ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดใน 5 ด้าน

ภาพประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด

การดำเนินการตามแผนแม่บทฯ นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากสามภาคส่วนหลัก ได้แก่ ภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและส่งไฟฟ้า (Generation & Transmission) และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (Distribution) โดยแผนแม่บทฯ ได้แบ่งระยะการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะเตรียมการ (พ.ศ. 2558-2559)
    เป็นการเตรียมการด้านนโยบายต่าง ๆ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาไปทั้งระบบ
  1. ระยะสั้น (พ.ศ. 2560-2564)
    เป็นระยะของการพัฒนาโครงการนำร่องเพื่อทดสอบความเหมาะสมทางเทคนิคและความคุ้มค่าของการลงทุนในแต่ละเทคโนโลยีและนำผลที่ได้จากการศึกษาสำหรับแต่ละเทคโนโลยีในโครงการนำร่องมาพิจารณาทบทวนถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้พัฒนาจริงในระยะต่อไป
  1. ระยะปานกลาง (พ.ศ. 2565-2574)
    จะเป็นระยะของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่
  1. ระยะยาว (พ.ศ. 2575-2579)
    จะเป็นการทดลองใช้ความสามารถของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและเริ่มปรับปรุงความสามารถของระบบไฟฟ้าเพิ่มเติม โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น