บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) 2021-11-09T18:43:55+07:00

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน)

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) เป็นบริษัทผู้ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนระดับแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้ดำเนินการและลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและพลังงานความร้อนใต้พิภพ นอกจากธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาดชนิดต่างๆ แล้ว BCPG ยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยและนวัตกรรมอัจฉริยะ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้พลังงานของผู้บริโภค สร้างสรรค์ธุรกิจพลังงานที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ BCPG สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) ได้นำ Blockchain Technology เข้ามาใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นรายแรกในประเทศไทย โดย BCPG จะพัฒนาระบบซื้อขายไฟ (Energy Trading) ของผู้อยู่อาศัยด้วยการซื้อขายไฟทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เคยเป็นเพียงผู้บริโภคสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าได้กลายเป็น Prosumer ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้ไฟ

โครงการฮาบิโตะมอลล์

โครงการคอนโดมิเนียม และอพาร์ตเมนต์ พาร์ก คอร์ต สุขุมวิท 77

ที่มา:

รายละเอียด:

BCPG และบริษัทในกลุ่ม จะทำการขยายธุรกิจหลักและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งประเทศในและต่างประเทศ โดยในส่วนธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาธุรกิจใหม่ จะทำการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม และธุรกิจ Start up ผ่านศูนย์ Bangchak Initiative and Innovation Center: BIIC ของบีซีพีจี โดยมุ่งเน้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการพลังงาน และเทคโนโลยีชีวภาพ

ที่มา:

รายละเอียด:

บริษัทฯ ได้รับคัดเลือกจาก กกพ. จำนวน 4 โครงการ เข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) หวังผล หากศึกษาร่วมกันสำเร็จ จะทำให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการไฟฟ้า การนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการพลังงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (พีอีเอ เอ็นคอม) และ BCPG ร่วมกันจัดตั้งบริษัท Thai Digital Energy Development (TDED) เพื่อพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดโดยใช้นวัตกรรมช่วยในการบริหารจัดการ ซึ่งเบื้องต้นจะลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้บริโภค โดยตั้งเป้าหมายลงทุนช่วง 5 ปี (2562-2566) จะมีกำลังผลิตไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ สร้างรายได้รวม 1,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2562 จะเริ่มจากความร่วมมือโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคากับ มช. มีกำลังการผลิต 12 เมกะวัตต์ เป็นโครงการแรก ใช้เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท แล้วเสร็จในสิ้นปี 2562 นี้ และเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2563 ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ BCPG จะแยกในส่วนของโครงการที่เป็นโซลาร์รูฟท็อปทั้งหมดโอนย้ายไปอยู่ภายใต้ TDED เช่น โครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ หรือ T77 ย่านสุขุมวิท 77 ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของ BCPG รวมถึงโครงการที่จะทำร่วมกับ บริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด (มหาชน) เช่นกัน สำหรับกลุ่มลูกค้าในอนาคตจะเจาะเป้าหมายนิคมอุตสาหกรรมของ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และนิคมฯ ทั่วไป รวมถึงมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ทั้งนี้ TDED มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 200 ล้านบาท โดย พีอีเอ เอ็นคอม ถือหุ้นสัดส่วน 25% และ BCPG ถือหุ้นสัดส่วน 75% โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อส่งเสริมธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน สนับสนุน New Digital Business ผ่าน PEA Hero Platform ที่ กฟภ. เป็นผู้พัฒนาเพื่อส่งเสริมธุรกิจประหยัดพลังงาน และธุรกิจบริหารจัดการพลังงาน (ESCO) ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน Digital Energy แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค

ที่มา:

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บริษัท Power Ledger จากออสเตรเลียกับ BCPG บริษัทในเครือบางจาก และ บริษัท Thai Digital Energy Development (TDED) บริษัทที่เกิดจากการร่วมมือกันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA ENCOM) สร้างแพลตฟอร์มบล็อกเชนซื้อขายไฟฟ้าในประเทศไทย

ความร่วมมือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมเป้าหมายของไทยที่จะพึ่งพาการใช้พลังงานสะอาดอย่างน้อย 25% ภายในปี 2037 โดยจะเปิดให้ซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแบบ P2P โรงไฟฟ้าเสมือน คาร์บอนเครดิต และใบรับรองแก่แหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ผ่านเครือข่ายบล็อกเชนของ Power Ledger (POWR) ซึ่งการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาช่วยในการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P นั้น จะช่วยส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รายย่อยให้หันมาติดตั้งโซลาเซลล์บนหลังคา โดยก่อนหน้านี้ในปี 2018 ทาง BCPG และ Power Ledger เคยร่วมกันทดสอบโครงการนำร่องซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P ในกรุงเทพฯ มาก่อน และความร่วมมือต่อเนื่องในครั้งนี้จะเข้าไปช่วยจัดการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด 12 MW ที่ มช. อีกด้วย BCPG มีกำหนดการขาย RECs ตามหน่วยมิเตอร์ที่แสดงบนแพลตฟอร์ม REC Marketplace ที่จะขยายตลาดไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากทางนี้ ทางบริษัทฯ ยังเล็งเปิดแพลตฟอร์ม TraceX เพื่อเป็นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตและใบรับรองแก่แหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) เพื่อเปิดทางให้รายย่อยมีโอกาสเข้าถึงใบอนุญาตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 BCPG ร่วมกับกลุ่มบริษัทเคพเพล จากประเทศสิงคโปร์ และทีมกรุ๊ป คว้างานระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง (District Cooling System) ในโครงการ “เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ” (Chula Smart City) บริเวณพื้นที่เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่าน บริหารโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุสัญญา 20 ปี และคาดการณ์ตลอดระยะเวลา 20 ปีมีรายได้รวม 7,500 ล้านบาท คาดว่าให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ในระดับ 10% ขึ้นไป

โดยระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง (Cooling Load) 18,000 ตันความเย็น (Refrigeration Tons /RT)) ให้บริการพื้นที่โดยรอบโครงการฯ ครอบคลุมอาคารสํานักงาน ร้านค้าปลีกและที่อยู่อาศัย ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มเปิดดําเนินการในเฟสแรกพร้อมรับรู้รายได้ในปี 2565 และดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2570 การพัฒนาพื้นที่เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่านดังกล่าวถือเป็นโครงการต้นแบบด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยพลังงานทดแทน และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการพลังงานคาดว่าช่วยประหยัดพลังงาน และลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 35-50%

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

MG ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ PEA ซึ่งจากข้อตกลงดังกล่าวจึงเกิดเป็นความร่วมมือกับพันธิมิตรใหม่คือ บางจาก เกิดเป็นโครงการ PEA VOLTA ภายในปั๊มน้ำมันของบางจากจึงเป็นการยกระดับและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ EV Ecosystem ในไทยโดยการขยายจำนวนสถานีชาร์จไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดโดยเฉพาะพื้นที่หัวเมืองและเป็นเมืองท่องเที่ยว

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ร่วมกับ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ติดตั้งจุดบริการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้า (EV Charger Station) ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก ซึ่งจะเปิดให้บริการบนเส้นทางสายหลัก 56 สาขา ต่อเนื่องทุกระยะ 100 กิโลเมตร รองรับการเดินทางขาเข้าและขาออกเมือง เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามั่นใจกับบริการสถานีหัวจ่ายอัดประจุไฟฟ้าที่เข้าถึงได้ง่ายทั้งบนหลักสู่เมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญครอบคลุมทั่วประเทศไทย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

BCPG ได้ร่วมลงทุนในบริษัท เอ็นเรส ซึ่งเป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ด้านการจัดการ พลังงานด้วยสมองกลอัจฉริยะแบบ Realtime โดยจะเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานแบบปัจจุบันเป็นการปฏิบัติงานอัตโนมัติบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้า และพฤติกรรมการใช้พลังงานของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความมั่นใจด้านความปลอดภัยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

BCPG ประกาศลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Utility-Scale Energy Storage System) ประเภทวานาเดียมรีดอกซ์โฟลว์ (Vanadium Redox Flow) วงเงิน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในบริษัท วีอาร์บี เอนเนอร์ยี่ (VRB Energy) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในการผลิตนวัตกรรมด้านแบตเตอรี่วานาเดียมระดับโลก

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

บางจากจับมือ MG ตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ EV ในปั๊มน้ำมันบางจาก รองรับผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ตั้งเป้าเบื้องต้น 50 แห่ง เริ่มเปิดใช้ตุลาคมนี้

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

SHARGE ผนึก บางจาก ร่วมลงทุนธุรกิจแห่งการขับเคลื่อนอนาคต ลุยตั้งสถานี Quick SHARGE รองรับรถ EV เทรนด์แห่งพลังงานสะอาด

ที่มา: