
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ โดยมีวิสัยทัศน์ คือ ส่งเสริมการลงทุนที่มีคุณค่า ทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง (Middle Income Trap) และเติบโตอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ การดำเนินการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริด ของ BOI สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
BOI อนุมัติส่งเสริมการลงทุน EV รอบใหม่ หลังจากหมดระยะเวลาการยื่นคำร้องตั้งแต่ปี 2561 โดยในการสนับสนุนในครั้งนี้ เปิดให้การส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าด้วย จากเดิมที่มีการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้าเท่านั้น โดยจาก Roadmap พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย รัฐบาลตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี 2030 และ BOI สนับสนุนกระตุ้นการลงทุนผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า ในการผลิตรถยนต์ประเภทไฮบริด (HEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถพลังงานไฟฟ้า 100% (BEV) และสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการทยอยขอรับการส่งเสริมการลงทุนในส่วนของรถยนต์พลังงานเพิ่มขึ้น ทั้งหมด 16 บริษัท รวม 26 โครงการ แบ่งเป็น
- การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด จำนวนทั้งสิ้น 5 โครงการ ได้แก่ นิสสัน
โตโยต้า มาสด้า ฮอนด้า และมิตซูบิชิ กำลังการผลิตรวม 352,500 คัน/ปี - การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด มีผู้ประกอบการสนใจจำนวน
6 โครงการ ได้แก่ โตโยต้า มิตซูบิชิ อาวดี้ เอ็มจี เมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู กำลังผลิตรวม 87,240 คัน/ปี - การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ มีผู้ประกอบการสนใจลงทุนทั้งสิ้นจำนวน 13 โครงการ ได้แก่ โตโยต้า มิตซูบิชิ นิสสัน เอ็มจี ฮอนด้า มิตซูบิชิ อาวดี้ เอ็มจี เมอร์เซเดส-เบนซ์ ฟอมม์ ทาคาโน่ สามมิตร สกายเวลล์ และไมน์ กำลังผลิตรวม 125,140 คัน/ปี
- การผลิตรถบัสไฟฟ้า จำนวน 2 โครงการ กำลังผลิตรวม 1,600 คัน/ปี
ทั้งนี้ จากข้อมูลปัจจุบันมีรถยนต์ไฟฟ้าจำหน่ายในประเทศไทยที่ใช้แบตเตอรี่ BEV จำนวน 11 ยี่ห้อ 13 รุ่น ส่วนรถแบบปลั๊กอิน ไฮบริด PHEV นั้นมี 7 ยี่ห้อ จำนวน 26 รุ่น และรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด HEV มีจำนวน 5 ยี่ห้อ 15 รุ่น โดยในปี 2563 จากข้อมูลยอดจดทะเบียน EV ในช่วง 8 เดือนแรกของปี ยอดจดทะเบียนสูงถึง 21,889 คัน (รวมมอเตอร์ไซค์และสามล้อ และหากนับเฉพาะรถยนต์จะมียอดประมาณ 19,000 คัน) ทำให้ยอดสะสมของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศไทยมีมากกว่า 175,000 คัน
ที่มา:
รายละเอียด:
จากที่ค่ายรถยนต์จากจีน 2 ค่ายใหญ่ ได้แก่ เอ็มจี และเกรทวอลล์ ตัดสินใจลงทุนโดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั้น BOI จึงคาดว่าในอนาคตจะมีค่ายรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากจีนอีกหลายบริษัทเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และอาจทำให้รถยนต์กลุ่มปลั๊ก-อิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น
ที่มา:
รายละเอียด:
BOI ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนปี 2564 แนะนำผู้ประกอบการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรครอบคลุมทั้งการผลิตและการบริการ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ของเงินที่ใช้ปรับปรุงเป็นระยะเวลา 3 ปี
ที่มา:
รายละเอียด:
มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) (Mazda) จำกัด ได้มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ ที่มีทั้งรุ่นไฟฟ้า 100% และรุ่นไฮบริด คือ MX-30 ที่มีจำหน่ายไปแล้วในหลายประเทศ และมีแนวโน้มอย่างมากที่จะเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียด:
บอร์ด BOI เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงนโยบายเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจให้เกิดกิจกรรมวิจัยพัฒนา และการฝึกอบรม อีกทั้งเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งกำลังขยายตัวหนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล มุ่งสร้างบุคลากรด้านไอที พร้อมเปิดส่งเสริมประเภทกิจการใหม่ด้านบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG
ที่มา: