การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2021-10-29T16:50:59+07:00

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่รวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ และเป็นกลไกของรัฐบาลในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยปัจจุบันมีนโยบายเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล “THAILAND 4.0” จัดตั้งโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และดำเนินโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะและโซลูชั่นด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (Smart Microgrid) มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ กนอ. สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

กนอ. ร่วมกับ กฟภ. และ บริษัท ซีแอลพีฯ ดำเนินโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะและโซลูชั่นด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือไมโครกริด เพื่อจัดหาพลังงานที่เชื่อถือได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับสภาวะการเติบโตอุตสาหกรรมและความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่จะต้องมีเสถียรภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการป้องกันปัญหาไฟตก ไฟดับ หรือการผลิต จ่ายไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอในบางพื้นที่

ภาพบรรยากาศการลงนามระหว่าง กนอ. กับหน่วยงานรัฐวิสากิจ และภาคเอกชน

ที่มา:

รายละเอียด:

กนอ. กับ CAT จะร่วมกันพัฒนาขับเคลื่อนพร้อมศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ที่จะใช้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมดิจิทัล จะต้องมีความพร้อมด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคตได้อย่างครบวงจร

ภาพการลงนามบันทึกความเข้าใจ “ความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่อุทยานนวัตกรรมดิจิทัล”

ที่มา:

รายละเอียด:

กนอ. ได้มีนโยบายจัดตั้งโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : นิคมอุตสาหกรรม Smart Park ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยได้ออกแบบพื้นที่ให้สอดคล้องกับความเป็นเมืองอัจฉริยะ ที่ระบบต่าง ๆ จะต้องมีการทำงานอย่างชาญฉลาด

Smart Park พื้นที่ 1,500 ไร่ ของนิคมฯ Smart Park

ที่มา:

รายละเอียด:

เป็นการดำเนินงานภายใต้การดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม New S-Curve และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า และระบบการกักเก็บพลังงานของประเทศ

ที่มา:

รายละเอียด:

กนอ. ได้ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานพัฒนาโครงการนิคมฯ Smart Park ร่วมกับหน่วยงานรัฐวิสากิจ และภาคเอกชนประกอบไปด้วย บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด บริษัท บางกอก อินดัสเทรียล แก๊ส จำกัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ภาพการลงนามบันทึกความเข้าใจ “ความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่อุทยานนวัตกรรมดิจิทัล”

ที่มา:

รายละเอียด:

เป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผสมกับการใช้พลังงานทางเลือกเข้ามา เพราะมีอ่างเก็บน้ำที่จะสามารถติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำได้ และยังมีหลังคาโรงงานในพื้นที่ในการนำมาพัฒนาติดตั้ง ดังนั้น โรงงานจึงเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อ หากผลิตเกินก็เหลือขายได้ สามารถแลกเปลี่ยนไฟฟ้ากันได้ในนิคมฯ ผ่านระบบสมาร์ทกริด แนวคิดนี้ก็จะทำให้ กฟผ. ลดการลงทุนโรงไฟฟ้าลง

ที่มา:

รายละเอียด:

เพื่อเป็นโครงการนำร่องสำหรับโครงการสมาร์ทซิตี้ พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่อีอีซี (EEC) ซึ่งจะตอบโจทย์การใช้พลังงานรูปแบบใหม่ และการขยายตัวของโรงงานในอนาคต ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการไฟฟ้าจะต้องนำเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่เข้ามาใช้ เช่น การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป การนำแบตเตอรี่เข้ามาบริหารจัดการ และการพัฒนาแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนไฟฟ้า เป็นต้น

ภาพบรรยากาศการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “โครงการศึกษาและพัฒนา Smart City : Energy Digital Platform”

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กนอ. พร้อมเดินหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค หลังที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบการลงทุนในโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค บนพื้นที่ 1,383 ไร่ มูลค่าการลงทุนระยะแรก 2,370 ล้านบาท ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกคาดเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ไตรมาส 1 ปี 2564 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม

นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์คเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปัจจุบันเป็นเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation & Logistics) กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ (Medical Device) กลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) และกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) ซึ่งตามแผนการพัฒนาโครงการ คาดว่าจะใช้เวลาในการพัฒนาปรับพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ประมาณ 3 ปี โดยในช่วงระยะการก่อสร้าง คาดว่าจะทำให้มีการจ้างงานประมาณ 200 คน และเกิดเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นในชุมชน ประมาณ 23.7 ล้านบาท/ปี (คิดอัตราฐานเงินเดือนขั้นต่ำ 330 บาท)

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ที่ประชุมคณะกรรมการ กนอ. มีมติอนุมัติจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 2 แห่ง ในรูปแบบของนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานกับ กนอ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นการเพิ่มพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve เพื่อตอบสนองนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพตามยุทธศาสตร์ของประเทศในเชิง Area based โดยที่เอกชนเป็น ผู้ลงทุน พัฒนา และให้บริการระบบสาธารณูปโภค รวมพื้นที่ 2 โครงการ ประมาณ 2,806 ไร่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • โครงการแรก เป็นการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ ตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่ และตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พื้นที่ประมาณ 1,987 ไร่ ดำเนินงานร่วมกับ บมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ROJNA) แบ่งการจัดสรรพื้นที่ออกเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,501 ไร่ และพื้นที่สาธารณูปโภคและแนวกันชนประมาณ 486 ไร่ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนาพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และเปิดให้บริการได้ภายใน 3 ปี ซึ่งหลังจากเปิดดำเนินการแล้วจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนประมาณ 60,057 ล้านบาท และเกิดการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 15,014 คน ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร อุตสาหกรรมเบาและอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องประดับ อุตสาหกรรมบริการ เช่น คลังสินค้า โลจิสติกส์ การวิจัยและพัฒนา และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในพื้นที่อีอีซี
  • โครงการที่ 2 เป็นการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง พื้นที่ประมาณ 621 ไร่ เป็นการร่วมดำเนินงานกับ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) โดยแบ่งการจัดสรรพื้นที่ออกเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 421 ไร่ และพื้นที่สาธารณูปโภคและแนวกันชนประมาณ 200 ไร่ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนาพื้นที่และระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกและเปิดให้บริการได้ภายใน 2 ปี ทั้งนี้ เมื่อเปิดดำเนินการแล้วจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนประมาณ 16,840 ล้านบาท เกิดการจ้างงานเพิ่มประมาณ 4,210 คน ในกลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรรมและผลผลิตจากการเกษตร กลุ่มแร่เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน กลุ่มอุตสาหกรรมเบา กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ กลุ่มกิจการบริการและสาธารณูปโภค กลุ่มการพัฒนาและนวัตกรรม และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในพื้นที่อีอีซี

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 กนอ. และ PEA ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ พัฒนาธุรกิจพลังงานด้วยระบบดิจิทัลหนุนใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุม 205 ชั้น 2 กนอ.

กนอ. ร่วมลงนามกับ PEA จัดการพลังงานในนิคมอุตสาหกรรมด้วยระบบดิจิทัล (Digital Platform) และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Smart Energy) เพื่อยกระดับการผลิตพลังงานและการบริหารจัดการพลังงานภายในนิคมอุตสาหกรรม โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและระบบตรวจวัดการใช้พลังงานมาประยุกต์ใช้ ในระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Grid) ช่วยให้สามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบการส่งจ่ายไฟฟ้าได้พัฒนาโปรแกรม พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้ตามเวลาจริง (Real Time) เพื่อช่วยคำนวณการจ่ายกระแสไฟฟ้าทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีความเสถียร ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง โดยระบบดังกล่าวไม่เพียงแค่ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนในการผลิตแล้ว ยังมุ่งเน้นไปในด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานทดแทน

โครงการความร่วมมือดังกล่าว เป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการจัดการพลังงานในนิคมอุตสาหกรรมด้วยระบบดิจิทัล การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Smart Energy) อย่างมีประสิทธิภาพภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ผ่านการบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัล (Digital Platform) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อสร้างต้นแบบและนำร่องการบริหารจัดการพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) และนำระบบ PEA Digital Platform มาใช้บริหารจัดการพลังงานในนิคมอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กนอ. ขานรับนโยบายรัฐพัฒนาต่อยอดการเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเข้าสู่การ
เป็น Industry 0 เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 โดยมี 4 นิคมฯ
1 ท่าเรือฯ และโรงงาน 7 แห่ง ผ่านเกณฑ์เรียบร้อยแล้ว

กนอ. มีแผนเป็นผู้นำของภูมิภาคด้านการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม จึงได้นำนโยบาย “Thailand 0 และ Industry 4.0” มาพัฒนาต่อยอดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงในภาคอุตสาหกรรม ให้เกิดการพัฒนาอย่างยืน

ทั้งนี้ ยังได้จัดทำหลักเกณฑ์นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ “Smart Eco” เพื่อยกระดับนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. โดยนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมต้องขอรับรองให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศในระดับ Eco-Champion  ขณะที่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่จะขอรับรองการเป็น Smart Eco จะต้องมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน ความปลอดภัย อย่างน้อยด้านใดด้านหนึ่ง

ทั้งนี้การขอเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ “Smart Eco” นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรมและโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จะต้องมีการดำเนินงานให้สอดคล้องตามเกณฑ์ Smart Environment Surveillance (ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยอัจฉริยะ) 1 ด้าน และในด้านอื่นๆ อีก 1 ด้าน เช่นเดียวกัน

สำหรับ Smart Eco เป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม การปล่อยมลพิษ การกำกับดูแลและบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการด้านความปลอดภัย รวมทั้งจัดการระบบขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Smart Environment Surveillance (ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยอัจฉริยะ) เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการปล่อยมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ Smart Water (ระบบการจัดการน้ำอัจฉริยะ) ที่มุ่งไปที่การจัดการน้ำและน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

Smart Energy (ระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ) เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Smart Waste) ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอัจฉริยะ เพื่อกำกับดูแลและบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ Smart Safety/Emergency (ระบบป้องกันด้านความปลอดภัยอัจฉริยะ) เพื่อการจัดการด้านความปลอดภัยที่อาจส่งผลกระทบต่อพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

Smart Logistic (ระบบขนส่งอัจฉริยะ) เพื่อการจัดการระบบขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ 7 : Smart IT (ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ Smart Building (อาคารอัจฉริยะ) เพื่อการปรับปรุงและออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม และ Smart Resource/Process (กระบวนการผลิตอัจฉริยะ) เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและพัฒนากระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีโรงงานอุตสาหกรรม

โดยผลการตรวจประเมินในปี 62 มีนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรม ได้รับการรับรองการเป็น Smart Eco แล้ว จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย

  1. นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ในด้าน Smart Waste
  2. นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ในด้าน Smart Safety/Emergency
  3. ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ในด้าน Smart Safety/Emergency
  4. นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ชลบุรี ในด้าน Smart Water
  5. นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล จ.ระยอง ในด้าน Smart Energy

สำหรับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินและได้รับการรับรองให้เป็น Smart Eco แล้ว จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย

  1. บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Smart Logistic) ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
  2. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล สาขา 3 จำกัด (มหาชน) (Smart Safety/ Emergency) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
  3. บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด(Smart Safety/Emergency) ในท่าเรืออุตสาหกรรม มาบตาพุด
  4. บริษัท เอ็กเซดดี้ ฟริคชั่น แมททีเรียล จำกัด (Smart Process) ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี
  5. บริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด (Smart IT) ในนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล
  6. บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (Smart Water) ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
  7. บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (Smart Energy) ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู

นอกจากนี้ ทาง กนอ. ยังได้นำนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 และ Industry 4.0 มาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดการเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อเข้าสู่การเป็น Industry 4.0 เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 โดยการพัฒนาหลักเกณฑ์นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ (Smart Eco) รวมถึงการกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนให้นิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมฯ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา กนอ. และ กลุ่มทรู ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาทดสอบเทคโนโลยี 5G นำร่องพื้นที่ 14 นิคมฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไทยด้วยการนำเทคโนโลยี 5G มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ (Digital Transformation) ในเครือข่าย 5G โดยตั้งเป้าเป็น Industry 0, Smart Factory และ Smart Industrial Estate มุ่งสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ (Smart Eco Industrial Estate) ตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กนอ. ได้ดำเนินโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม/โรงงานอุตสาหกรรม สู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ (IEAT 4.0 : Smart Eco Industrial Estate) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อยกระดับนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ ภายใต้นโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 และ Industry 4.0 ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กนอ. และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้ร่วมกันจัดทำโครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industrial Transformation Platform) หรือ ITP Platform ซึ่งเป็นการให้บริการเชื่อมโยงลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงข้อมูลกับ กนอ. เพื่อรองรับการบริการของ กนอ. ซึ่งประกอบด้วย ระบบช่วยตัดสินใจเลือกนิคมอุตสาหกรรม ระบบอนุมัติ-อนุญาต (e-PP) และสิทธิประโยชน์จาก กนอ.

ที่มา: