
เทศบาลนครขอนแก่น
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504–2509) จังหวัดขอนแก่นถูกกําหนดให้เป็นเมืองสําคัญและเป็นเมืองศูนย์กลางด้านต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผนวกกับวิสัยทัศน์ของเทศบาลนครขอนแก่นที่ต้องการพัฒนาเมืองที่มีการบริหารจัดการในรูปแบบของความเป็นเมืองสร้างสรรค์ (Smart City) เทศบาลนครขอนแก่นจึงร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาเมือง เพื่อแสดงศักยภาพในการพัฒนาจังหวัดให้กลายเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ และเมืองแห่งอัจฉริยะต้นแบบของภูมิภาค ทั้งนี้ การดำเนินโครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของจังหวัดขอนแก่น สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
ปี 2559 นายกรัฐมนตรีได้ลงนามอนุมัติแผน “โครงการสมาร์ทซิตี้” จังหวัดขอนแก่น โดยการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) นั้นได้ถูกบรรจุอยู่ใน แผนปฏิบัติการวาระแห่งชาติ ทั้งนี้ โครงการ Khon Kaen Smart City นั้น จะทำการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ท ซิตี้ ใน 6 สาขา ได้แก่ Smart Mobility, Smart Living, Smart Ambulance, Smart Citizen, Smart Economy และ Smart Environment
Timeline LRT จังหวัดขอนแก่น
โครงการ Khon Kaen Smart City
ที่มา:
รายละเอียด:
แผนการพัฒนาขนส่งมวลชนทางราง โดยใช้ รถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ของเมืองขอนแก่นทั้ง 5 สายนั้น ล้วนมีจุด Interchange ศูนย์กลางอยู่ในพื้นที่ CBD ตามผังเมืองรวม (พาณิชยกรรมสีแดง) โดยสายแรกที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างสายแรก คือ สายสีแดงเหนือใต้ (สำราญ-ท่าพระ) โดยมีเส้นทางผ่านพื้นที่สำคัญทั้งพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก สถาบันการศึกษา และสถาบันทางราชการ
ตัวอย่างการวางแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) ของเมืองขอนแก่น
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ ดึงกลุ่มทุนใหญ่ “มิตรผล-เบญจจินดา-บ้านปู” ผนึกเทศบาลนครขอนแก่น และขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) หนุนแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านพลังงานและ IoT ล่าสุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งศูนย์ข้อมูลกลางสมาร์ทซิตี้ (SCOPC) แล้วเสร็จพร้อมดำเนินการเมืองอัจฉริยะครอบคลุมภาคอิสานทั้งระบบ
ปัจจุบันภาพรวมของการพัฒนาเมืองขอนแก่นช่วงที่ผ่านมา เป็นไปตามหัวเมืองหลักต่างๆ ที่ยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดี จนช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด ได้เข้าไปดำเนินการในหลายด้านควบคู่กันไปทำให้จังหวัดขอนแก่นมีแผนพัฒนาเมืองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น จากการมีส่วนร่วมหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ประชาสังคม เอกชนกลุ่มต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เต็มรูปแบบ
นอกจากนั้น ยังมีเครื่องมือช่วยให้การปฏิบัติมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น อาทิ การจดทะเบียนบริษัทเคเคทีเอส การเตรียมเรื่องสมาร์ทโมบิลิตี้ เป็นต้น นั่นคือ แผนงาน แผนปฏิบัติ เครื่องมือและตัวช่วยการปฏิบัติงานก้าวสู่ระดับที่ดีขึ้น
ด้วยระบบดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นของจังหวัดที่ดำเนินการ ทำให้ขอนแก่นสามารถรับมือในช่วงโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว เหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ ที่พบจึงสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการติดตามตัว หรือการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยทั้ง 6 รายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นหมายถึงว่าจังหวัดขอนแก่นสามารถบริหารจัดการได้ชัดเจน ควบคุมพื้นที่ได้เร็ว ติดตามเป้าหมายได้ทันแบบเรียลไทม์ แม้กระทั่งตอนช่วงกลางคืนยังสามารถตรวจสอบกลุ่มคนที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินได้ผ่านระบบโดรนและกล้องวงจรปิดจึงเป็นการช่วยป้องปรามปัญหาได้ทันท่วงที
ปัจจุบัน “ขอนแก่นพัฒนาเมือง” ยังดึงกลุ่มทุนชั้นนำ อาทิ “กลุ่มมิตรผล” ลงพื้นที่ดำเนินการพัฒนาพื้นที่โซนศรีจันทร์ภายใต้โครงการ “ศรีจันทร์สร้างสรรค์” โดยกลุ่มมิตรผลจะลงทุนปรับปรุงตึกร้าง ซึ่งถือเป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจลงทุนด้านการพัฒนาเมืองในพื้นที่อื่น ๆ ตามมาอีก เช่นเดียวกับกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ กลุ่มเสาไฟอัจฉริยะ Smart POLE สายไฟฟ้าลงดิน กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ อินเตอร์เน็ต IoT
ล่าสุดกลุ่ม “เบญจจินดา” ได้ร่วมลงนามเอ็มโอยูกับเทศบาลนครขอนแก่นที่เกิดจากการประสานของขอนแก่นพัฒนาเมืองนำเทคโนโลยีไฟเบอร์ออฟติค กล้องวงจรปิด อินเทอร์เน็ต เสาไฟอัจฉริยะสมาร์ทโพลีปรับรูปแบบสู่สายไฟฟ้าลงดินทั้งหมด ล่าสุดภาคราชการอย่างกระทรวงพลังงานได้เข้ามาดำเนินโครงการสมาร์ทฟาร์มมิ่งร่วมกับพลังงานจังหวัด ขอนแก่นพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน (มทร. อิสาน) นอกจากนั้นยังเตรียมดึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกพืชผักผลไม้เพื่อสร้างคลังอาหารขึ้นที่ขอนแก่นอีกด้วย
พร้อมกันนี้ ยังเตรียมลงนามความร่วมมือกับ “กลุ่มบ้านปู” ที่เชี่ยวชาญด้านพลังงานของไทย เพื่อเข้ามาส่งเสริมระบบโซล่าฟาร์ม โดยจะร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขอนแก่น เพื่อส่งเสริมเรื่องการประหยัดพลังงาน และเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นระบบ โดยจะมีการ “จัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางสมาร์ทซิตี้ (Smart City Operation Center : SCOPC) โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับงบประมาณ 100 ล้านบาทไปดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางรวบรวม Big Data ระบบอัจฉริยะของจังหวัดขอนแก่นไว้ที่นี่ทั้งหมด และยังสามารถยกระดับให้ครอบคลุมโครงข่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคตได้อีกด้วย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ได้จัดประชุมพิจารณาประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะน่าอยู่ให้แก่ 5 เมืองนำร่อง ประกอบด้วย จังหวัดภูเก็ต จังหวัดขอนแก่น อ.แม่เมาะ จังหวัดลำปาง สามย่าน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น สถานเอกอัครราชทูตเยอรมัน กรุงเทพฯ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมเปิดงาน “พลังงานสะอาดขับเคลื่อนอนาคต” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยจากปัจจุบันไปสู่อนาคตที่จะมีการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 จังหวัดขอนแก่น ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และด้านการเป็นเมืองแห่งการประชุมสัมมนา (MICE City) ณ โรงแรม เดอะชีวิน โฮเทล แอนคอนเวนชั่น อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
ที่มา: