บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) ได้จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2546 โดยการแปลงสภาพจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ซึ่งมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 100% ของทุนจดทะเบียน CAT ได้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและให้บริการทางด้าน โทรคมนาคม ทุกลักษณะ ทุกประเภท รวมถึงกิจการ ที่ต่อเนื่องหรือใกล้เคียงกัน โดย CAT เป็นผู้นำในการให้บริการดิจิทัลและโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นพัฒนาบริการทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากลและสามารถตอบสนองการใช้บริการในยุคดิจิทัล
อย่างไรก็ดี CAT ไม่ได้มีการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดอย่างชัดเจน แต่ก็มีการให้บริการดิจิทัลและโทรคมนาคม ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดของประเทศไทยได้ ทั้งนี้ โครงการที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ CAT สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) ลงนามร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในสัญญา “ความร่วมมือและพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)” โดยจะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล และบริการต่างๆ ของ CAT ที่สามารถสนับสนุนบริการของ กฟน. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพ นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงช่วยลดมูลค่าความเสียหายของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม จากกรณีไฟฟ้าดับหรือแรงดันไฟฟ้าตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การลงนามความร่วมมือและพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ
ที่มา:
รายละเอียด:
CAT และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลงนามข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและพัฒนาการใช้โครงข่ายสื่อสาร Backbone และ Last mile เพื่อต่อยอด MOU เดิมที่เน้นความร่วมมือระดับโครงข่ายสื่อสารพื้นฐานให้มีเนื้อหาครอบคลุมบริการและเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่มากขึ้น โดย CAT จะนำระบบเทคโนโลยีสื่อสาร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินโครงการบริการของ PEA ให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม
CAT และ กฟภ. ลงนามข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติม
ที่มา:
รายละเอียด:
โครงการ Digital Park เป็นส่วนหนึ่งของเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ซึ่งจะผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นเจ้าของพื้นที่กว่า 700 ไร่ บริเวณอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของ Smart City ที่มีระบบจัดการอัจฉริยะในทุกๆ ด้าน ทั้งการติดต่อสื่อสาร การประหยัดพลังงาน การบริหารจัดการ เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงด้านความปลอดภัย
Digital Park Thailand
ที่มา:
รายละเอียด:
โครงการ CAT Digital Come Together เป็นการนำความรู้ด้านการเกษตรมาผสมผสานกับความรู้ด้าน IoT (Internet of Things) ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์และควบคุมด้านสภาพภูมิอากาศและระบบรดน้ำอัจฉริยะ ทำให้เกษตรกรมีข้อมูลสำหรับการวางแผนการเพาะปลูกล่วงหน้า ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลา และประหยัดแรงได้มากขึ้น
การรดน้ำผักด้วยเทคโนโลยี IoT
Solution Smart Farmer
ที่มา:
รายละเอียด:
CAT e-smart farm คือบริการตรจสอบสินค้าเกษตร เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าเกษตร ขณะเดียวกันผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรยังสามารถทราบและค้นหาสาเหตุของปัญหาและจัดการกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของไทยให้มีความแตกต่างด้านคุณภาพความปลอดภัย ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรไทยแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริการใน 3 กลุ่ม คือ ผัก ผลไม้ และกล้วยไม้
บริการ CAT e-smart farm ในงานพัฒนาเกษตรปลอดภัย
ที่มา:
รายละเอียด:
โครงการ Smart City ที่จังหวัดภูเก็ต อยู่ภายใต้แผนงานของกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นจังหวัดแรกที่ CAT เปิดตัวโครงข่ายสื่อสารไร้สาย LoRaWAN อย่างเต็มรูปแบบครอบคลุมทั่วจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการ Smart Services ด้านต่างๆ และการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในจังหวัดภูเก็ตที่มีแนวโน้มจำนวนการใช้งานเพิ่มมากขึ้น
พันธมิตรจัดแสดงเทคโนโลยีที่สนับสนุนบริการ LoRa IoT by CAT
ที่มา:
รายละเอียด:
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) และบริษัท ที บี เอ็น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ลงนามความร่วมมือการให้บริการโทรคมนาคมแบบครบวงจรภายในโครงการ เดอะพาซิโอ พาร์ค ซึ่งจัดเป็นคอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่ โดยตั้งอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก-บางแค บนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ ซึ่งได้รับการตอบรับจากธนาคาร, ผู้ประกอบการ, แบรนด์ชั้นนำ ฯลฯ รวมกว่า 235 ร้านค้า มีที่จอดรถรองรับได้ถึง 1,200 คัน จึงเป็นการตอบโจทย์ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการได้เป็นอย่างดี
การลงนามความร่วมมือในโครงการ The Paseo Park
ที่มา:
รายละเอียด:
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมกับ บริษัท วี บิลด์ แอนด์ โอเปอร์เรต จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ “Mobile Intelligent Cloud Solution” (MICS) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นแพลตฟอร์ม ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนอย่างครบวงจร
การลงนามความร่วมมือโครงการ MICS
ที่มา:
รายละเอียด:
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมกับ บริษัท สปอทเวิร์คซ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในสัญญาร่วมให้บริการพื้นที่สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านบริการ C smart Wi-Fi ที่ผสาน WiFi CAT ร่วมกับระบบ SPOTanalytics ของสปอทเวิร์คซฯ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) สามารถเจาะลึกพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
การลงนามสัญญาให้บริการพื้นที่สื่อฯ ผ่านบริการ C smart Wi-Fi
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
CAT ได้ทำการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาได้ จำนวน 2×10 MHz ในราคารวม 36,707.42 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ ในเดือน เม.ย. 2564 อย่างไรก็ตามทาง CAT ได้เตรียมแผนการลงทุนไว้แล้ว โดยคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ทาง CAT จะนำมาเติมเต็มในส่วนของเครือข่าย 4G และบริการโทรศัพท์มือถือ มายด์ ของ CAT บนคลื่น 850 MHz จำนวน 2×15 MHz ที่ CAT ใช้งานจะหมดอายุในปี 2568 ซึ่งทาง CAT จะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าได้ว่าจะมีคลื่นในการให้บริการแน่นอนในอนาคต ขณะเดียวกันบริษัทจะอัพเกรดการใช้งาน 5G ให้กับลูกค้าด้วย โดยคาดว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านรายภายใน 15 ปี จากเดิม 2 ล้านราย และอีกส่วนหนึ่งคือการให้บริการดิจิทัล เซอร์วิส กับลูกค้าองค์กร เช่น บริการ IoT ตลอดจนการให้บริการกับสมาร์ท ซิตี้ เป็นต้น
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
- การพัฒนาบริการเครือข่าย 5G
CAT ได้ลงนามในข้อตกลงไตรภาคีกับบริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT ผู้ให้บริการโครงสร้างด้านโทรคมนาคมของไทย และ edotco Group Sdn Bhd ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของมาเลเซียเพื่อร่วมมือในการพัฒนาบริการเครือข่าย 5G ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
- ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
MEA และ CAT ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการโทรคมนาคม และประกอบกิจการอื่นในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของ MEA ซึ่งนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ ช่วยลดการลงทุนซ้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาคุณภาพบริการได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้บริการได้ในอนาคต โดย MEA จะสนับสนุนข้อมูลด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้า ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์บนเสาไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้ประกอบการจัดทำผลการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจ และประชาชนในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 10 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา CAT และ กฟน. ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการโทรคมนาคม และประกอบกิจการอื่นในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของ กฟน. ซึ่งนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ ช่วยลดการลงทุนซ้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาคุณภาพบริการได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้บริการได้ในอนาคต
โดยปัจจุบัน CAT มีเสาโทรคมนาคมกว่า 20,000 ต้น ที่พร้อมสำหรับให้ผู้ประกอบการได้ใช้งาน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนและยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและ 5G ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากความร่วมมือกับ กฟน. แล้ว CAT ยังจะร่วมกับพันธมิตรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่ต้องจัดหาเพิ่มเติมเพื่อลดภาระการลงทุน และสร้างรายได้เพิ่มจากการให้ผู้ให้บริการรายอื่นเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานทั้งในส่วนของเสาโทรคมนาคมและไฟเบอร์ (Passive Infrastructure Sharing) รวมถึงร่วมกับพันธมิตรธุรกิจหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่น เพื่อให้การลงทุนจัดให้มีบริการ 4G/5G เกิดประสิทธิภาพและประหยัดสูงสุด
โดยความร่วมมือในครั้งนี้ กฟน. จะสนับสนุนข้อมูลด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้า ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์บนเสาไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้ประกอบการจัดทำผลการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจ และประชาชนในอนาคต
ที่มา: