
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) เป็นบริษัทมหาชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศตามจำนวนผู้ใช้งาน ได้นำการให้บริการทางดิจิทัลเต็มรูปแบบมาตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของแต่ละบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านโทรศัพท์มือถือ Fixed Broadband และ Digital Service เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงในโลกเทคโนโลยี การสื่อสาร และพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี AIS ไม่ได้มีการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดอย่างชัดเจน แต่ก็มีการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการสื่อสารและเชื่อมต่อข้อมูล ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดของประเทศไทยได้ ทั้งนี้ AIS ได้มีการดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านสมาร์ทกริด สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
AIS ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นำมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะผสานเข้ากับอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานบนเครือข่าย NB-IoT เพื่อประยุกต์ใช้งานโครงข่ายดิจิทัลกับการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ทำให้เกิดการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบและควบคุมผ่านระบบ Cloud และระบบ Web Portal ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
IoT Smart Meter
ที่มา:
รายละเอียด:
PEA และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN ในเครือ AIS ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย โครงการต้นแบบการพัฒนาทางธุรกิจพลังงานด้านระบบดิจิทัล (Digital Energy Business Project) ด้วยเทคโนโลยี Digital Platform และ IoT เพื่อทดลองทดสอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการพลังงานของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
PEA และ AIS ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ที่มา:
รายละเอียด:
การนำเทคโนโลยี NB-IoT มาพัฒนาเป็นโซลูชั่นส์ต่างๆ เช่น Smart City, Smart Environment, Smart Machine และ Smart Manufacturing เป็นต้น ซึ่งสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งการใช้ชีวิตของคนในสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสริมขีดความสามารถให้กับภาคธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นโครงการต้นแบบนวัตกรรม IoT ให้กับภาครัฐและภาคการศึกษา
เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมและระดับน้ำ (มหาวิทยาสงขลานครินทร์)
เทคโนโลยี Smart Trash Bin (มหาวิทยาลัยข่อนแก่น)
ที่มา:
รายละเอียด:
Smart Home Automation เป็นหนึ่งในบริการ “AIS Business S olution” สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านได้ด้วยสมาร์ทโฟนผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น การเปิด-ปิดสั่งงานเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ และยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อดูกล้องวงจรปิดแบบ Read time ได้ทุกที่ทุกเวลา
โดยบริษัท เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้เลือกใช้บริการ “Smart Home Automation” จาก AIS โดยการนำเอาเทคโนโลยี IoT มาสู่บ้านยุคใหม่ ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยยุคดิจิทัล เพื่อมอบความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ให้สามารถสั่งการ ควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านได้ทุกที่ทุกเวลา จึงเป็นการยกระดับการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปอีกขั้น โดยนำร่องให้บริการในโครงการบ้านฟ้าทาวน์นี่ ปิ่นเกล้าดอนหวายเป็นแห่งแรก
การใช้บริการ Smart Home Automation
ที่มา:
รายละเอียด:
AIS ได้ร่วมมือกับ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC Asset) และ บริษัท ไฟร์ วัน วัน จำกัด (ผู้ให้คำปรึกษาและปฏิบัติการด้านเทคโนโลยี) รวมทั้งแอปพลิเคชั่น และช่างอันดับหนึ่งของไทย (Fixzy) ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์ม “รู้ใจ Living Solutions Platform” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการอยู่อาศัยที่คำนึงถึงคนเป็นศูนย์กลาง (Human-Centric) โดยการนำ 4 เทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อน ได้แก่ Big Data, Cloud Computing, IoT และ AI เพื่อเสริมศักยภาพให้แพลตฟอร์มนี้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างโมเดลความสุขที่อยู่สบายกว่า สะดวกกว่า ปลอดภัยกว่าให้แก่ผู้อยู่อาศัย
รู้ใจ Living Solutions Platform
ที่มา:
รายละเอียด:
AIS และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย ภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G โดยมีการเปิด 5G Garage Innovation LAB แห่งแรกในเมืองไทย เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ สร้างสรรค์นวัตกรรม 5G ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเปิดให้บริการแก่นิสิต นักศึกษา และเหล่านักพัฒนาภายในไตรมาส 1 ของปี 2562
5G Garage Innovation LAB
การติดตั้งเครือข่าย 5G ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
การเปิดศูนย์ 5G AI / IoT Innovation Center
Robot Physical Therapy หุ่นยนต์ช่วยทำกายภาพฟื้นฟูกล้ามเนื้ออ่อนแรง
สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
- ปัจจุบัน AIS ถือครองคลื่นความถี่เดิมอยู่ที่ 1420 MHz ซึ่งไม่นับรวมคลื่นความถี่ของพันธมิตร โดยมีคลื่นความถี่ 5G ที่ครอบคลุมหลายย่านความถี่ มีรายละเอียดดังนี้
- ความถี่ย่านต่ำ 700 MHz จำนวน 30 MHz (2×15 MHz),
- คลื่นความถี่ย่านกลาง 2600 MHz จำนวน 100 MHz
- คลื่นความถี่ย่านสูง 26 GHz จำนวน 1200 MHz
- ความถี่ 5G ทั้งหมดอยู่ที่ 1330 MHz
เมื่อรวมคลื่นความถี่ทั้งหมดที่มีทำให้ AIS มีคลื่นความถี่มากกว่าเครือข่ายอื่นที่ให้บริการในประเทศไทยถึง 40% ซึ่งสามารถรองรับปริมาณการใช้งานได้เพิ่มขึ้น30 เท่า อีกทั้งสามารถทำความเร็วในการให้บริการเพิ่มขึ้นได้ถึง 24 เท่า และความเร็วในการเข้าถึงต่ำกว่า 10 เท่า
จากรูปคลื่น 700 MHz ที่เป็นคลื่นความถี่ต่ำสามารถนำไปให้บริการครอบคลุมในพื้นที่ห่างไกลได้ ขณะที่คลื่นความถี่ย่านกลางอย่าง 2600 MHz จะเข้ามาช่วยเสริมความเร็วในการใช้งานบริเวณพื้นที่ในเมือง และจุดที่มีการใช้งานหนาแน่น ส่วนคลื่น 26 GHz จะถูกนำไปใช้กับภาคอุตสาหกรมที่ต้องการความเร็ว และความแม่นยำในการใช้งานเป็นหลัก
ความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบ
- ปัจจุบันพื้นที่ให้บริการ AIS 5G ครอบคลุมแหล่งชุมชมและย่านสำคัญในกรุงเทพฯ และ 5 หัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด โดยครอบคลุมพื้นที่ภายในอาคาร (Indoor) และกลางแจ้ง (Outdoor) โดยในเฟสแรกมีการวางเครือข่าย 5G แล้ว ประกอบด้วย
- ย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อาทิ จตุจักร อารีย์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พญาไท สยาม สามย่าน สีลม สาทร ชิดลม นานา อโศก สุขุมวิท ศูนย์การค้าชั้นนำ อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ เซ็นทรัลเวิลด์
- AIS Shop 15 สาขา อาทิ สยามพารากอน (Future World) เอ็มโพเรียม (AIS DC) ไอคอนสยาม เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลบางนา เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพระราม 9 เซ็นทรัลอีสต์วิลล์ เซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์ เดอะมอลล์ บางกะปิ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เมกาบางนา ตึก AIS tower 2, SC Tower (Innovation zone), สนามบินสุวรรณภูมิ (ไม่รวมชั้น 2)
- ส่วนภูมิภาค : ภาคเหนือ (ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่) ภาคใต้ (อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร จ.ภูเก็ต) ภาคอีสาน (ลานย่าโม
จ.นครราชสีมา) ภาคตะวันออก (แหลมบาลีฮาย พัทยา จ.ชลบุรี) และภาคกลาง (พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม)
โดยการพัฒนาในเฟสต่อไปจะขยายเครือข่าย 5G สู่พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน รวมถึงศูนย์การค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ อาทิ ไอคอนสยาม เอ็มควอเทียร์ สยามสแควร์วัน เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพระราม 9 สามย่านมิตรทาวน์ เดอะมอลล์บางกะปิ เป็นต้น และศูนย์การค้า ใน 5 หัวเมืองต่างจังหวัด อาทิ เซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ เซ็นทรัล พลาซา ศาลายา นครปฐม เซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต เดอะมอลล์ โคราช และโรบินสัน อมตะชลบุรี
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
- 5G for Industry 4.0
การทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำและความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งจะทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - 5G Ultra Low Latency Cooperative Cloud Robot
การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G - 5G Internet of Things
5G V2X (Vehicle to Everything) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างยานยนต์กับสิ่งต่างๆ โดยพื้นฐาน ซึ่งการสื่อสารผ่านเครือข่าย 5G จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว - 5G Wireless for the Home
แสดงศักยภาพของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายผ่านเครือข่าย 5G (5G WTTx) ช่วยเสริมบริการ Fiber Broadband ให้ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ห่างไกล - Working from Home
สำหรับ Router ที่มากับแพ็คเกจ Working from Home 5G Home Broadband เป็นของ HUAWEI 5G CPE Pro ซึ่งมีชิป 5G รุ่น Balong 5000 ขนาด 7 นาโนเมตร รองรับความเร็วจากเครือข่าย 5G ในการดาวน์โหลดสูงสุดถึง 33 Gbps และอัปโหลดสูงสุด 1.25 Gbps ส่วนการใช้งานกับซิม 4G ความเร็วก็จะลดลงมาอยู่ที่ 1.6 Gbps / 150 Mbps
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
- AMATA Smart City
เอไอเอส และ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ลงนามร่วมกันขยายความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยการนำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญอย่างเทคโนโลยี AIS 5G และโครงข่ายใยแก้วนำแสงที่พร้อมรองรับการทำโซลูชั่นส์ Smart City และการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัยเข้าไปยกระดับการบริหารงานและการผลิตเพิ่มเติมในอมตะซิตี้ ชลบุรี เพื่อพัฒนาให้อมตะซิตี้ ชลบุรี ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่พร้อมรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การผลิต และการลงทุน ตามแผนเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 หลังได้ลงนามจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) ภายใต้ชื่อ “บริษัท อมตะ เน็ทเวอร์ค จำกัด” นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญเข้าไปเสริมศักยภาพอมตะซิตี้ ชลบุรี ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา
- Samui Smart City
AIS ร่วมกับ เทศบาลนครเกาะสมุย และ บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ L&E พัฒนาโซลูชั่นส์ Smart Lighting บนเครือข่าย NB-IoT นวัตกรรมโคมไฟส่องสว่างอัจฉริยะ เพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยเมือง นำร่องใช้จริงแล้วในโครงการ “ปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย การลดและป้องกันอุบัติภัยทางถนน และอนุรักษ์พลังงาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดยดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ จำนวน 4,773 โคม ตามท้องถนนทั่วพื้นที่บนเกาะสมุย ยกระดับเกาะสมุยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ “Samui Smart City” โดยพร้อมทดลองทดสอบเทคโนโลยี Smart Pole บนเครือข่าย 5G โดยเสา Smart Pole ประกอบด้วย Smart Lighting ที่สามารถควบคุมการเปิด ปิด หรือหรี่แสงได้อัตโนมัติ สอดคล้องกับภูมิอากาศ และกล้องวงจรปิด CCTV เชื่อมต่อสัญญาณภาพบนเครือข่าย 5G ไปยังส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยยกระดับความปลอดภัยเมืองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
รายละเอียดการดำเนินงาน
AIS Business ได้ทำการพัฒนาโซลูชั่นและบริการ AIS Cyber Secure เพื่อดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ ด้วยการเปิดศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ หรือ CSOC ภายใต้ความร่วมมือกับ Trustwave บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมนำความเชี่ยวชาญด้าน Cyber Security ของเอไอเอสในการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับลูกค้าเอไอเอสทั้งฐาน ตลอดจนเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการตรวจจับ แจ้งเตือน และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทุกองค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างไร้กังวลเรื่องภัยไซเบอร์
นอกจากนี้ กลุ่มบริการ AIS Cyber Secure ยังมีหลายหลายโซลูชั่นที่พร้อม Customized ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละองค์กร ได้แก่
- Enterprise Mobility Management เครื่องมือช่วยบริหารจัดการการใช้งานบนมือถือให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัท
- Network Firewall เครื่องมือ Firewall ที่เชื่อถือได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ
- IT Log Management ศูนย์รวมการจัดเก็บข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตตามกฎหมาย
- Vulnerability Assessment & Penetration Testing ค้นหาช่องโหว่และจุดอ่อนใน Network ขององค์กร พร้อมทำหน้าที่เสมือนเป็นแฮกเกอร์เพื่อวินิจฉัยช่องโหว่ที่อาจมีอยู่ เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลและป้องกันจากแฮกเกอร์
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 3 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา AIS พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัล แพลตฟอร์ม เข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกภาคส่วน โดยมีทีมนวัตกรรม Novel Engine Execution Department หรือ AIS NEXT ที่พร้อม Customized เทคโนโลยีและออกแบบให้เกิดเป็นโซลูชันที่ดีที่สุด เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน โดยร่วมมือกับ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนแบบครบวงจร และ บริษัท เอสซีบี เท็นเอ็กซ์ จำกัด บริษัทโฮลดิ้งคอมพานีในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ดำเนินโครงการนำร่อง (Sandbox) ในการพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน PEER-TO-PEER ENERGY TRADING PLATFORM เพื่อสนับสนุนให้คนไทยเข้าถึงการใช้พลังงานสะอาด
ราคาถูกครั้งแรกในไทย โดย AIS ได้นำหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือระบบ Mobile ID ที่พัฒนาภายใต้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาสนับสนุนการทำงานของแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานดังกล่าว ซึ่งในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเสรี ซึ่ง Blockchain จะช่วยบริหารจัดการธุรกรรมการซื้อขายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพ ขณะที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายไฟฟ้าจะสามารถเชื่อมต่อเข้า Blockchain ผ่าน Mobile ID ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย จึงช่วยสร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการขยายศักยภาพเทคโนโลยีและดิจิทัล แพลตฟอร์มที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคที่เป็น End Consumer อย่างแท้จริง
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
AIS ร่วมกับ Bosch ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Smart Manufacturing และ Factory ระดับโลก นำนวัตกรรมเครือข่าย AIS 5G ที่เหมาะสมกับการใช้งานในภาค อุตสาหกรรม ทดลองทดสอบและใช้งานอย่างเป็นรูปธรรมกับโซลูชั่นของ Bosch ในพื้นที่โรงงานจริง ซึ่งสามารถขยายผลไปสู่การเป็น Smart Manufacturing และสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของประเทศ โดยแผนการทดลองทดสอบเครือข่าย 5G ในพื้นที่โรงงานจริงดังกล่าว เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่าง AIS และ Bosch ที่ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาการใช้งาน 5G ในอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุน กระบวนการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักรให้สามารถทํางานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในสายการผลิต นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย รวมทั้งเสริมสร้างการถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลากรใน Eco-System ที่เกี่ยวข้อง
โดย 5G จาก AIS มีความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ จะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสื่อสารระหว่างเซ็นเซอร์อุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ ของ Internet of Things (IoT) บนโซลูชั่น Industry 4.0 ของ Bosch โดยมีการนำไปใช้จริงในโรงงานที่เชื่อมต่อข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อต่อยอดระบบให้โปร่งใสผ่านการใช้โซลูชั่น Active Cockpit ของ Bosch สามารถวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลจำนวนมากแบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอำนวยความสะดวกในการทำงานของระบบโลจิสติกส์ภายในโรงงาน ไร้ขีดจำกัดด้านการส่งสัญญาณและการเชื่อมต่อ นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ AIS ได้นำนวัตกรรมเครือข่าย 5G เข้ามาขับเคลื่อนและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมมือกับ มธ. เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการความยั่งยืนแห่งแรกในเอเชีย “SDG Lab by Thammasat & AIS” ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ณ มธ. ศูนย์รังสิต ภายใต้แนวคิดเชิงบูรณาการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G และ IoT มาเป็นฐานรากเพื่อสร้างความยั่งยืน ผลักดันให้เป็นพื้นที่แห่งการทดลองและการลงมือปฏิบัติของนักคิด นักประดิษฐ์ เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆ อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยและขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ โดยเป้าหมายของ SDG Lab by Thammasat & AIS คือเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริง ที่เปิดโอกาสและเชื่อมโยงนวัตกร นักพัฒนา และนักประดิษฐ์จากทั่วโลกที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หรือต้องการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนได้เข้ามาร่วมสร้างนวัตกรรมต้นแบบที่ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาได้จริง โดยสามารถใช้งาน Network Infrastructure โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้ง 5G, IoT, Fibre และ AIS Super WiFi รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยต่างๆ ภายในศูนย์ฯ เพื่อสร้างนวัตกรรมต้นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมทดลอง ทดสอบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริงได้
นอกจากนี้ AIS ได้ติดตั้งอุปกรณ์ IoT ควบคุมดูแลการเพาะปลูกแบบอัตโนมัติ และติดตั้งสถานีวัดสภาพอากาศและวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 บนแปลงเกษตร Rooftop อาคารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่สามารถควบคุมการทำงานผ่านระบบฟาร์มอัจฉริยะ Smart Farm เพื่อบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งในอนาคตจะนำ AIS 5G มาใช้ในการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ภายใน มธ. ศูนย์รังสิต มากยิ่งขึ้น อาทิ การบริหารจัดการการจราจร ผ่านเทคโนโลยี Smart Parking และ Autonomous Car (รถยนต์ไร้คนขับ) เพื่อเดินหน้ายกระดับ มธ. สู่ Smart University อย่างเต็มรูปแบบ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
AIS เตรียมแผนทำตลาด 5G กับภาคอุตสาหกรรมเต็มตัว เพราะจุดเด่นของคลื่น 26 GHz ค่อนข้างตอบโจทย์การใช้งานด้านนี้ เช่น เป็นคลื่นความถี่สูง ทำให้รองรับการใช้งานได้กับอุปกรณ์จำนวนมากในแต่ละโรงงาน และมีความหน่วงต่ำจึงส่งข้อมูลได้แม่นยำ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
DEPA พร้อมด้วยพันธมิตร AIS และบริษัท พีเอ็มเอชโฮลดิ้ง จำกัด (POMO) กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย ได้ร่วมมือจัดทำ “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ -Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย ด้วยแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ ผ่านเทคโนโลยี NB-IoT (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) เครื่องมือมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยวระหว่างกักตัว 14 วัน
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
ทีมวิศวกร AIS เร่งติดตั้งและขยายความสามารถในการรองรับการใช้งาน พร้อมความครอบคลุมของเครือข่าย AIS 4G, 5G และ ติดตั้ง AIS Fiber พร้อมสัญญาณ WIFI ในโรงพยาบาลสนามกรุงเทพมหานคร ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เขตบางบอน หรือ โรงพยาบาลเอราวัณ 1 เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้พร้อมรองรับการเริ่มเปิดรับผู้ป่วยโควิด-19 เข้าพักรักษาตัวในวันที่ 13 เมษายนนี้ และกำลังเตรียมติดตั้งเครือข่ายที่โรงพยาบาลเอราวัณ 2 เพื่อให้ทันกับสถานการณ์
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
AIS Fibre Secure Net บริการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ช่วยปกป้องทุกครอบครัว ทั้งจากไวรัส มัลแวร์ และลิงก์ปลอม บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันถือเป็นภัยอันตรายใกล้ตัวที่แฝงมาในหลากหลายรูปแบบ สร้างความเสียหายต่อผู้ใช้งานได้อย่างไม่รู้ตัว ลูกค้า AIS Fibre สามารถสมัครใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ทาง AIS Fibre LINE Connect โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมใช้บริการได้ทันที
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
บริษัท แซดทีอี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ZTE) ร่วมกับ AIS ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตระดับชั้นนำของไทยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) นำเทคโนโลยี 5G ในสายการผลิต พลิกโฉมสู่โรงงานอัจฉริยะ เพื่อเสริมศักยภาพในการผลิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี อาทิ 5G Cloud AGV รถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ Inspection หุ่นยนต์ลาดตระเวน 5G AR Remote Guidance ควบคุมการทำงานจากระยะไกล VR Monitoring ตรวจสอบภาพหน้างานแบบเรียลไทม์ และ Robotic Arm แขนกลอัจฉริยะ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (ไมโครซอฟท์) ร่วมกับ AIS ผู้นำด้านบริการโทรคมนาคมและชีวิตดิจิทัล ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์อย่างเต็มรูปแบบเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย พร้อมเสริมสร้างนวัตกรรมให้ทุกองค์กรในเมืองไทย ด้วยพลังจากบริการคลาวด์ระดับโลกและเครือข่ายที่ดีที่สุดของไทย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.พยายามที่จะผลักดันให้การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือที่รักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจของไทย จึงได้ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อน Phuket Sandbox เพื่อเปิดรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 นี้ โดย AIS 5G ได้ให้การสนับสนุนบริการระบบสื่อสาร โครงข่ายและเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่นักท่องเที่ยว ตามมาตรการ Phuket Sandbox
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
AIS ร่วมกับ Gorilla Technology ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Edge AI ในการพัฒนาและนำเสนอโซลูชันที่ใช้ความสามารถของ AI Vision ร่วมกับ Edge Computing มาปรับใช้เพื่อทรานส์ฟอร์มการดำเนินงานและการทำธุรกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีก พร้อมนำเสนอตัวอย่างการใช้งานจริงที่ตอบโจทย์การประยุกต์ใช้ด้านความปลอดภัยและการวิเคราะห์ลูกค้าทางการตลาด
ที่มา: