กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

///กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 2021-10-20T14:34:18+07:00

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงพลังงาน มีพันธกิจในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ทั้งด้านการบริโภคภายในและการส่งออก และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่สามารถนำพาประเทศไปสู่สังคมความรู้ด้านพลังงาน เพื่อเศรษฐกิจมั่นคง สังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน พพ. จึงได้มีบทบาทในการพัฒนาโครงการซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาร์ทกริด ทั้งนี้ โครงการเพื่อศึกษาและนำร่องการใช้งานเทคโนโลยีสมาร์ทกริดที่สำคัญของ พพ. สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

เกาะสมุย สู่การเป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ โดยการพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงาน ได้แก่ การสร้าง Smart Grid และ Micro Grid เชื่อมโยงเข้ากับอาคารภาครัฐและผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของเกาะสมุย โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 (ปี 2560) การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยง
    สมาร์ทกริด กับอาคารภาครัฐ
  • ระยะที่ 2 (ปี 2565) เชื่อมโยงสมาร์ทกริดสำหรับอาคารในพื้นที่เฉวง
  • ระยะที่ 3 (ปี 2570) เชื่อมโยงสมาร์ทกริดสำหรับอาคารและผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของเกาะสมุย

แผนงานด้านพลังงานและระบบไมโครกริดที่หาดเฉวง

โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของเกาะสมุย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

พพ. ได้ดำเนินโครงการประกวดการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 0 เพื่อนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญคนไทยมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเรือไฟฟ้าพลังงานสะอาด (แสงอาทิตย์และลม) ของนายสุวรรณ พิทักษ์สินธร ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทบุคคล ส่วนรางวัลชนะเลิศประเภทหน่วยงาน ได้แก่ ผลงาน“Automated Fault Detection and Diagnostics-Based AI and IoT Platform for a Chiller Air-Conditioning System” ของ บริษัท ทีไออี สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจำนวน 185 ผลงาน แบ่งเป็น ประเภทบุคคลทั่วไป 90 ผลงาน ประเภทหน่วยงาน 95 ผลงาน ซี่งมีผลงานที่ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 26 รางวัล

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

พพ. ได้จัดสัมมนาเปิดตัวแอปพลิเคชั่น “สมาร์ท บิลดิ้ง 4.0 (Application Smart Building 0) ภายใต้โครงการขยายผลติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานในอาคาร ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลออนไลน์ผ่านระบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นบนมือถือ (Mobile Application) เพื่อยกระดับการบริการให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่ต้องการความรวดเร็วสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลให้ มีการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการบริหารจัดการอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนด้านพลังงานซึ่งเป็นรายจ่ายหลักของอาคาร รวมทั้งเป็นการแสดงข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ หรือเช่าอาคารต่างๆ ของผู้ใช้อาคาร เพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันเชิงการค้าพร้อมสู่ระดับผู้นำในอาเซียน

พพ. ได้พัฒนาเครื่องมือเชื่อมต่อแสดงผลข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Smart Building 4.0 และระบบโมบายแอพพลิเคชั่น Smart Building 4.0 ผ่านมือถือที่ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android ซึ่งจะทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน จากเดิมที่ต้องใช้ที่ปรึกษาเข้าประเมินประสิทธิภาพอาคาร ณ สถานประกอบการเป็นการประเมินประสิทธิภาพอาคารด้วยตนเองผ่านระบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น โดยที่ปรึกษาจะตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติการติดฉลากอาคารผ่านระบบออนไลน์ได้ สำหรับการดำเนินงานดังกล่าว พพ. ได้มีการทดสอบการใช้งานร่วมกับอาคารธุรกิจที่ได้มอบฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานสำหรับอาคารธุรกิจให้แก่อาคารธุรกิจ 20 แห่ง ซึ่งภายในงาน พพ. ได้ทำพิธีมอบฉลากฯ สำหรับอาคาร 20 แห่งดังกล่าวที่เข้าร่วมโครงการฯ ในรอบปี 2562 ประกอบด้วย ประเภทอาคารธุรกิจโรงแรม อาคารธุรกิจศูนย์การค้า โรงพยาบาล และสถานศึกษา

ทั้งนี้ ในปี 2563 พพ. ได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ควบคู่กับการอนุรักษ์พลังงานที่จะประกาศใช้มาตรการด้านการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือ BEC (Building Energy Code) กับอาคารก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลง 9 ประเภท ได้แก่ 1. สำนักงาน 2. โรงแรม 3. โรงพยาบาล 4. ศูนย์การค้า 5. โรงมหรสพ 6. สถานบริการ 7. อาคารชุมนุมคน 8. อาคารชุด และ 9. สถานศึกษา ซึ่งในปี 2563 จะนำร่องอาคารที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ปี 2564 บังคับใช้กับอาคารที่มีขนาดตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป และในปี 2565 บังคับใช้กับอาคารที่มีขนาดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟผ. ได้ประสานความร่วมมือกับ พพ. กำหนดแนวทางทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้มีมาตรฐานพลังงานประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีเป้าหมายจะเริ่มนำร่องระยะแรก ประมาณ 5,000 คัน ก่อนขยายผลไปสู่ตลาดอย่างแพร่หลายต่อไป

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กฟผ. และ GRIMM คู่สัญญา ร่วมให้การต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่ พพ. กระทรวงพลังงาน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความคืบหน้าระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าของโครงการฯ เพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม (พค.2)

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

พพ. สนับสนุนรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าประหยัดพลังงาน มูฟมี (MuvMi) ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีหรือแอปพลิเคชันเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก สนองความต้องการของประชาชน และอาจช่วยประหยัดค่าเดินทางจากการใช้งานร่วมกัน

ที่มา: