กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

///กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 2021-10-25T14:11:25+07:00

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society: DE) เป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจในการพัฒนาและบริหารจัดการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ รวมทั้ง กำกับ ส่งเสริม ให้นำโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคธุรกิจใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริดของ DE นั้นได้มีการดำเนินงานภายใต้หน่วยงานในสังกัด คือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency: DEPA) ซึ่งมีภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ โดย DEPA ได้มีการดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านสมาร์ทกริด สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอร่างยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ พร้อมบูรณาการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั้งประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แบ่งลักษณะของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน ประกอบด้วย

ลักษณะของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน

แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้แก่

  • ปีที่ 1 (พ.ศ. 2561-2562) พัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 จังหวัด 10 พื้นที่
  • ปีที่ 2 (พ.ศ. 2562-2563) พัฒนาเมืองอัจฉริยะ 24+ จังหวัด 30+ พื้นที่
  • ปีที่ 3–5 (พ.ศ. 2563-2565) ขยายเมืองอัจฉริยะผ่านการรับสมัครเมืองอัจฉริยะ และคาดว่าจะครอบคลุมการให้บริการเมืองอัจฉริยะ และระบบ City Data Platform ในทุกจังหวัด (โดยพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 76 จังหวัด และ กทม. 100+ พื้นที่)

ที่มา:

รายละเอียด:

Digital Park Thailand จะถูกพัฒนาขึ้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี บนเนื้อที่ที่รองรับโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง สถานีเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศ สถานีรับส่งสัญญาณดาวเทียม และศูนย์ข้อมูล Data Center จึงมีความพร้อมสูงที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่สำหรับธุรกิจดิจิทัล และสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน โดยในเบื้องต้นแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 3 โซน ได้แก่

  • โซน 1 พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลและศูนย์การเรียนรู้ควบคู่กับการทำงานจริง (Work Integrated Learning Space)
  • โซน 2 พื้นที่ลงทุนสำหรับธุรกิจดิจิทัล เช่น International Submarine Cable Station, Smart Device, Intelligent Software, DigiTech Startup, Advance Platform, IoT and Automation, Data Center, Satellite, New Digital Content และ Data Analytic เป็นต้น
  • โซน 3 พื้นที่อยู่อาศัย ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ และสิ่งอำนวยความสะดวก

ลักษณะการใช้พื้นที่โครงการ Digital Park Thailand

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กระทรวงดิจทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมมือเอกชน นำ AI สู้โควิด-19 เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาไวรัสให้กับทาง โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยสามารถวิเคราะห์ผลได้ภายในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อ 1 เคส มีความแม่นยำสูงถึง 96% MDES ประสานความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย (จำกัด) นำ CD เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ส่งมอบโซลูชันผู้ช่วย AI วิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณสำหรับรายงานผลตรวจภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) โควิด-19 ในหลักวินาที ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเทคโนโลยี AI จาก HUAWEI CLOUD จะทำหน้าที่วิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณจากการตรวจ CT ปอดของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Novel coronavirus, SARS หรือ COV) และผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19) โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นปัญญาประดิษฐ์ (AI) แพลตฟอร์มที่ได้รับการเทรนจากข้อมูลของผู้ป่วยจริงในประเทศจีน โดยมีประมาณ 20,000 เคส โดยจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ยืนยันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) มากกว่า 4,000 เคส ซึ่งเป็นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ รวดเร็ว และ สามารถวิเคราะห์ผลได้ภายในเวลาเพียง 25 วินาทีต่อ 1 เคส โดยมีความแม่นยำในการวินิจฉัยสูงถึง 96% นับว่ามีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง โดยนวัตกรรมนี้จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัย ลดปริมาณการตรวจสารคัดหลั่ง ลดจำนวนชุดตรวจโควิด ช่วยลดการใช้ PPE และแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และช่วยให้บุคลากรหลายๆ ท่านสามารถกระจายตัวไปดูแลเคสผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือสถานการณ์ระบาดในขณะนี้ได้ดียิ่งขึ้น ในด้านรายละเอียดการทำงานเพิ่มเติมของโซลูชันดังกล่าว HUAWEI CLOUD จะใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์และการวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เพื่อแยกแยะระหว่างจุดขาวพร่าในปอด (ground glass opacities – GGOs) จำนวนมากกับการรวมตัวกันของเนื้อปอด (Consolidation) แล้ววิเคราะห์ผลเชิงปริมาณจากผลการตรวจ CT ปอดผู้ป่วย กระบวนการดังกล่าวเป็นการรวมข้อมูลทางอายุรกรรมและผลแล็บเพื่อช่วยให้แพทย์ระบุได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในระยะเริ่มต้น ระยะลุกลาม หรือระยะรุนแรง

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กลุ่มบริษัท จีเอเบิล เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนรวม 40 หน่วยงาน ในการการทดสอบเทคโนโลยี 5G โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาและสนับสนุนการทดสอบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G (5G Use Cases) และการพัฒนาศูนย์การทดสอบเทคโนโลยี 5G บนพื้นที่ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่พร้อมรองรับการลงทุนด้านดิจิทัล ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน บนหลักการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

ที่มา:

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ DEPA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง “การขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City)” ตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืน โดยในระยะเริ่มต้นของการขับเคลื่อน MOU นี้ จะมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำร่อง จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลเมืองน่าน เทศบาลเมืองชุมพร เทศบาลนครเกาะสมุย เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลเมืองสตูล เทศบาลเมืองแสนสุข และเทศบาลตำบลบ้านฉาง โดยตั้งเป้าหมายในการนำระบบออนไลน์และเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาของเมือง และอำนวยความสะดวกพี่น้องประชาชน ทั้งในด้านการจราจรและความปลอดภัย คุณภาพชีวิต สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จากความร่วมมือในครั้งนี้ ทาง สถ. จึงอยากให้ อปท. ที่มีความพร้อมนำแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) มาจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนและบริหารจัดการเมือง ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ กล่าวคือจะเน้นเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐานการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเมือง และสามารถนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปกติใหม่ หรือ New Normal ที่ผู้คนนำเทคโนโลยีและช่องทางออนไลน์ มาอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น การทำงาน Work from home เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จะให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืนจากความร่วมมือในการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ ร่วมกับ สถ. ในครั้งนี้นั้น นับเป็นก้าวสำคัญของการผลักดันแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อสนองตอบความต้องการและบริบทที่หลากหลายของพื้นที่เป้าหมาย อีกทั้งเป็นการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น โดยเริ่มจากการสร้างวิสัยทัศน์ให้ผู้นำเมือง DEPA ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานกำกับดูแลสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีหน้าที่ในการรับสมัครเมืองที่สนใจขอรับพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะผ่านเว็บไซต์ smartcitythailand.or.th ซึ่งปัจจุบันมีโครงการที่ยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาเป็น เมืองอัจฉริยะแล้ว 39 พื้นที่ มีข้อเสนอจากเทศบาลนครจำนวน 7 พื้นที่ เทศบาลเมืองจำนวน 4 พื้นที่ และเทศบาลตำบล 1 พื้นที่ รวม 12 พื้นที่เทศบาล และคาดว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะขยายจำนวนพื้นที่เขตเทศบาลในการเข้ารับการพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะเพิ่มขึ้นได้

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

จังหวัดสงขลา เดินหน้าพัฒนา “สงขลา สู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City)”

จากนโยบายประเทศกำหนดให้ประเทศไทยเดินหน้าพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart City” อย่างเต็มตัว โดย MDES ได้มอบหมายให้ DEPA ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ในระยะแรกได้พัฒนาแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2562 เตรียมจะขยายไปสู่ 24 จังหวัด 30 พื้นที่จนถึงปี 2565 ซึ่งพื้นที่จังหวัดสงขลาได้รับการจัดกลุ่มอยู่ในกลุ่มดังกล่าวนี้ด้วย โดยรูปแบบของเมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ด้าน คือ เศรษฐกิจอัจฉริยะ 2. ขนส่งอัจฉริยะ 3. พลังงานอัจฉริยะ 4. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ 5. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 6. พลเมืองอัจฉริยะ และ 7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ เป้าหมายของการจัดเสวนาครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินการโครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนชาวสงขลา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ (มทร.ศรีวิชัย) ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โครงการการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เมืองและโครงสร้างพื้นฐานยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะของเทศบาลนครสงขลา ภายใต้แผนงาน มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ โปรแกรม 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม แพลตฟอร์ม 4 การวิจัย และสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อผลักดันกลไกนโยบาย กลไกการมีส่วนร่วม และกลไกด้านบุคลากรของรัฐ ในการเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดแนวทาง วิธีการ และระบบดำเนินการ ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม (Smart Environment)

อุบลราชธานี ขับเคลื่อนเขตพื้นที่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคอีสาน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล แถลงข่าวการขับเคลื่อนเขตพื้นที่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) อุบลราชธานี และบทบาทการสนับสนุนการดำเนินการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของ DEPA โดยจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการส่งเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และได้รับใบประกาศเขตส่งเสริมอัจฉริยะ จาก MDES เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 โดยมีหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานต่างๆ ได้สนับสนุนความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี ได้กำหนดแผนงานขอบเขตพื้นที่การพัฒนาในระยะแรก ประกอบด้วย 1 เมืองเดิม และ 3 เมืองใหม่ ได้แก่ เมืองเดิม คือ เขตอำเภอเมือง และ 3 เมืองใหม่ คือ เขตเมืองสิรินธร โขงเจียม และช่องเม็ก และแผนการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านคน (Smart people)  ด้านเศรษฐกิจ  (Smart amoney) ด้านการขนส่ง (Smart mobility) และด้านสิ่งแวดล้อม  (Smart environment) สำหรับในปี 2563-2565 จังหวัดอุบลราชธานีได้ขับเคลื่อนกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ ภายใต้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น ภาคเอกชนได้เอกชนได้ขับขับเคลื่อน สมาร์ท บัส (Smart Bus) ส่วนในภาคราชการนั้นได้เสนอโครงการแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อส่งเสริมต่อยอดการขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะการอบรมกระบวนการสร้างการรับรู้ เพิ่มศักยภาพการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) กิจกรรมสร้างการรับรู้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) อุบลราชธานี ให้กับส่วนราชการ เอกชน ประชาชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และนักศึกษา ในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงได้ทราบแนวทางการขับเคลื่อนต่อไป

Phuket Smart City

รมว. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าของโครงการ “Phuket Smart City” ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม และ ครม. ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ที่ จ.ภูเก็ต โครงการดังกล่าว DEPA ร่วมมือกับบริษัท City Data Analytics ภายใต้ บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง ในการพัฒนาระบบ City data platform เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ทั้งข้อมูลปัจจุบันจนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งข้อมูลมีความแม่นยำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายมิติ เช่น ความปลอดภัย การท่องเที่ยว การบริหารจัดการเมือง ที่ดิน เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานในปัจจุบัน คือ ระบบข้อมูลเพื่อให้นายกเทศมนตรีสามารถติดตามการทำงานและข้อมูลในมิติต่างๆ ของเมืองผ่าน Dash Board รวมถึงเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลจากกล้อง CCTV เริ่มใช้งานจริงแล้วในเทศบาลป่าตอง โดยหากมีการดำเนินการครบทุกท้องถิ่น ก็จะได้ระบบ Data Platform ของทั้งจังหวัด ระบบดังกล่าวถูกนำมาใช้ประโยชน์ในช่วงสถานการณ์โควิด โดยประสานข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวที่ตกค้างมีอยู่จุดใดบ้าง จำนวนเท่าใด และมีการื่อมโยงข้อมูลกับสถานพยาบาลใกล้เคียงในพื้นที่ เพื่อให้ทางโรงพยาบาลในพื้นที่เข้าไปดูแลได้ทันที โดยเตรียมความพร้อมเพื่อการเชื่อมต่อกับระบบมอนิเตอร์นักท่องเที่ยวบริเวณท่าเรือ รวมถึงต่อยอดหากนักลงทุนที่มีความสนใจร่วมลงทุนในพื้นที่ต่อไปในอนาคต ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการว่า ในการทำ City Data Platform อยากให้ขยายผลให้เต็มพื้นที่ทั้งใน ภูเก็ต กระบี่ พังงา ให้เกิดภาพอันดามัน สมาร์ทซิตี้ และอยากให้มีการใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวต่อเนื่องถึงภาคเอกชน

ที่มา:

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 DEPA เปิดงาน Thailand Smart City Week 2020 มหกรรมแสดงเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในรูปแบบ Real Digital Event ครั้งแรกของประเทศไทยที่มาพร้อมแนวคิด REAL Solutions for REAL People in the REAL Smart Cities เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะระดับโลก พร้อมสานต่อการพัฒนาเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ ทั้งภายใน ประเทศและระดับสากล โดยงาน Thailand Smart City Week 2020 มีวัตถุประสงค์ที่จะผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะระดับโลก พร้อมสานต่อการพัฒนาเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ ทั้งภายในประเทศและระดับสากล อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมให้ประชาชนเข้าถึงและสัมผัสเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้ง่ายขึ้น เพื่อให้เกิดการต่อยอด และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ก่อนนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะถือเป็นหัวข้อหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชนเจ้าของพื้นที่ รัฐ และเอกชน เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ การเป็นเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ตลอดจนส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมา DEPA ได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขณะเดียวกัน MDES ได้วางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางสู่ประเทศไทย 0 ดังนั้นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจึงถือเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายความเจริญสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จากนั้นได้มีการมอบใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ 13 พื้นที่ เพื่อเป็นการตอกย้ำความสำคัญและผลสำเร็จในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะประเทศไทย โดย ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 100 เมืองในประเทศ และมีเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก 3 เมือง ก่อนรับมอบ UK Thailand Smart City Handbook จาก E. Mr Brian Davidson เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยโดย E. Mr Brian Davidson กล่าวว่า ด้วยสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป การหาโซลูชั่นเพื่อการพัฒนาเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยที่ผ่านมา อังกฤษมีความร่วมมือกับไทยในการพัฒนามิติต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทยมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น UK Thailand Smart City Handbook จึงเป็นส่วนช่วยสำคัญในการเพิ่มโอกาสและสานต่อความร่วมมือด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างทั้งสองประเทศ เนื่องจาก DEPA โดย สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง จึงได้จัดงาน Thailand Smart City Week 2020 ในรูปแบบ Hybrid Event ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสและเข้าถึงวิถีชีวิตในเมืองอัจฉริยะผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้จากทั่วทุกภูมิภาค ตอบรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงและสัมผัสประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ก่อนต่อยอดสู่การประยุกต์ใช้ ควบคู่กับการแสดงให้ต่างชาติได้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และนำไปสู่การลงทุนในประเทศในที่สุด สอดคล้องกับคำว่า “เมืองอัจฉริยะ” หรือเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี ภาคธุรกิจและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืน สำหรับไฮไลท์ในงาน Thailand Smart City Week 2020 ประกอบด้วย 4 โซนกิจกรรมหลัก ได้แก่

Smart City PLAYs จุดจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งาน เพื่อแก้ปัญหาคนเมือง พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิต ไม่ว่าจะเป็น (1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำนวัตกรรมมาสร้างสรรค์คุณค่าร่วมแก่ชุมชนและสังคม โดยชูแนวคิดการยกระดับคุณภาพชีวิตเคียงคู่ธุรกิจ เพื่อการใช้ชีวิตที่ดีและยั่งยืน ตอบสนองความเป็น Smart Energy, Smart Environment และ Smart Mobility (2) Flower Hub Space ปากคลองตลาด ซึ่งประชาชนจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนผ่าน AR Experience (3) Creator Space (NEXT) ชั้น 6 ทรู ดิจิทัล พาร์ค สัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ในพื้นที่แห่งการบ่มเพาะนวัตกรสู่การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลสตาร์ทอัพ

Smart City LEARNs กิจกรรมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเมืองด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญรวม 24 เซสชัน ผ่านการสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาต่อยอดการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ (Lifelong Learning)

Smart City HACKs กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมค้นหาแนวทางและโซลูชัน เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศผ่านการทำเวิร์คชอป โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาที่มาร่วมให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ เพื่อให้เกิด 12 โซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างตรงจุด และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป

Smart City MEETs การจัดแสดงนิทรรศการจากผู้ประกอบการกว่า 50 รายเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่คนไทยจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะครั้งแรกจากทั่วทุกภูมิภาค พร้อมสร้างโอกาสในการเจรจาจับคู่ธุรกิจผ่านระบบสนทนาแบบเรียลไทม์

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA ตอกย้ำความสำคัญและเผยความคืบหน้าผลสัมฤทธิ์การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จัดพิธีมอบใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะแก่ 13 พื้นที่ในงาน Thailand Smart City Week 2020 พร้อมสานต่อการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้น 100 พื้นที่ทั่วประเทศภายในปี 2565 ซึ่งภารกิจที่ DEPA โดย สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องคือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ คำแนะนำ และข้อเสนอแนะ โดยบูรณาการการทำงานกับประชาชนเจ้าของพื้นที่ที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาและยกระดับเมือง พร้อมกันนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ การเป็นเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ในพิธีเปิดงาน Thailand Smart City Week 2020 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา DEPA ได้มอบใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ทั้งประเภทเมืองเดิมน่าอยู่ (Livable City) และเมืองใหม่ทันสมัย (New City) ให้กับ 13 พื้นที่ ซึ่งถือเป็นการมอบใบประกาศเขตส่งเสริมฯ อีกครั้ง นับตั้งแต่งาน Digital Thailand Big Bang 2019 ที่ได้มอบให้กับ 27 พื้นที่ใน 22 จังหวัด โดย 13 พื้นที่ที่ได้รับใบประกาศเขตส่งเสริมฯ ครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ กรุงเทพมหานคร (2) เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 กรุงเทพมหานคร (3) กระบี่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดกระบี่ (4) แสนสุขสมาร์ทซิตี้ จังหวัดชลบุรี (5) SAHA GROUP SMART CITY จังหวัดชลบุรี (6) NONGKHAI SMART CITY จังหวัดหนองคาย (7) จังหวัดพังงาสู่เมืองอัจฉริยะ จังหวัดพังงา (8) เมืองอัจฉริยะจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก(9) NU SMART CITY จังหวัดพิษณุโลก (10) เมืองอัจฉริยะบ้านฉาง จังหวัดระยอง (11) เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง (12) ออริจิ้น สมาร์ทซิตี้ ระยอง จังหวัดระยอง (13) นครศรีธรรมราชเมืองอัจฉริยะ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการมอบใบประกาศเขตส่งเสริมฯ ในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความสำคัญ พร้อมเผยความคืบหน้าและผลสัมฤทธิ์ของการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะประเทศไทยที่ DEPA ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่มีความตั้งใจในการพัฒนาเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะถือเป็นพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองและเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่มุ่งเน้นให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน โดย 13 เมืองที่ได้รับใบประกาศเขตส่งเสริมฯ ในครั้งนี้ถือเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะของประเทศไทย มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีผู้นำเมืองที่มีเข้าใจและตั้งใจ อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากผู้คนในพื้นที่ที่เห็นพ้องจะร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนให้ดียิ่งขึ้นในทุกๆ บริบทการดำรงชีวิต โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาขั้นต้นของ สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะรวมทั้งสิ้น 40 พื้นที่ โดย DEPA ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 100 เมืองกระจายในทุกภูมิภาคทั่วประเทศภายในปี 2565 และคาดหวังให้มีเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ไม่ต่ำกว่า 3 เมือง

จากนี้ เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะทั้งหมดจะได้รับการพิจารณาข้อเสนอโครงการฯ จากที่ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ ที่มี นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน ก่อนนำผลการพิจารณาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อพิจารณาการเป็นเมืองอัจฉริยะต่อไป

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

จากการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าขณะนี้การวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมีความคืบหน้าอย่างมากเพื่อใช้ประโยชน์และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศไทย รวมทั้งการนำเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงานของทุกภาคส่วน นำไปสู่การเป็นดิจิทัลไทยแลนด์และดิจิทัลอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้บรรลุผลตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ของการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ได้รับรางวัลชนะเลิศ WSIS Prize 2021 Winner จาก ITU ในหมวดสังคมและจริยธรรมของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยปัจจุบันศูนย์ดิจิทัลชุมชนดำเนินการผ่านกลไกตามกรอบแนวคิด “One Community One Digital Center” หรือ OCOD มุ่งเน้นการสร้างชุมชนดิจิทัลจากแกนการสร้างความยั่งยืนโดยการให้ชุมชนสามารถใช้ดิจิทัลในการสร้างความยั่งยืนของชุมชนผ่านการใช้ศูนย์ดิจิทัลชุมชน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ได้เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหรัฐฯ-ไทย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐตลอดจนตัวแทนบริษัทไทยและอเมริกันเข้าร่วม

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

MDES โดย DEPA และคณะทำงาน ได้เข้าร่วมหารือกับ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารฯ ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่ในย่านต่าง ๆ ของ กทม. ให้เป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

รัฐมนตรี MDES และได้ประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยจะเน้น 5 เรื่อง ได้แก่ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึง การส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศ การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเข้าสู่โลกดิจิทัล และการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการใช้สื่อ social media และ internet ในทางมิชอบ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน ในการสัมมนาและจัดแสดงนวัตกรรมในระดับโลก “MWC Shanghai 2021” (Mobile World Congress Shanghai 2021) ซึ่งเป็นงานสัมมนาและจัดแสดงนวัตกรรมในระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

รัฐมนตรีด้านการส่งออกแห่งสหราชอาณาจักร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ร่วมกันเปิดตัวโครงการผลักดันการส่งออกภาคเทคโนโลยีระหว่างสหราชอาณาจักรและไทย “UK-Thailand Tech Export Academy” โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือด้านเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

MDES และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด (หัวเว่ย) เพิ่มความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

MDES พร้อมกับ NT และหัวเว่ย ร่วมส่งมอบระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบเทเลเมดิซีนแก่โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ณ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

ปตท. และ DEPA ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ โดยร่วมกันนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมดิจิทัลของทั้ง 2 หน่วยงาน มาประยุกต์ใช้ใน “วังจันทร์วัลเลย์” ส่งเสริมการเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิตอลและนวัตกรรม ให้การต้อนรับคณะสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ในงาน “EV 100 Roadshow and UK-Thailand Smart City Workshop” เพื่อเปิดตัว “หนังสือคู่มือเมืองอัจฉริยะ “(Smart City Handbook Thailand) และแสดงนวัตกรรมยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากประเทศอังกฤษ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA เปิดเผยวิสัยทัศน์และแผนการดำเนินงานในปี 2564 โดยวางเป้าหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้อยู่ในระดับชั้นนำของโลกด้วยแผนการทำงานเพื่ออนาคตของคนไทย ร่วมกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA พร้อมด้วย AIS, PMH-ผู้ให้บริการ บริษัท พีเอ็มเอชโฮลดิ้ง จำกัด (POMO) กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย เปิดตัว “โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์- AIS Digital Yacht Quarantine”

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA พร้อมด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) ร่วมเปิดงานแสดงพื้นที่เศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบ Smart Economy Showcase พื้นที่เขตปทุมวัน พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ SAMYAN Smart City”

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA สานต่อโครงการส่งเสริมและจัดแสดงพื้นที่เศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบ พื้นที่เขตปทุมวัน เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเลือกสรรเทคโนโลยีดิจิทัล 12 ประเภทจากดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกกว่า 50 รายยกระดับธุรกิจ ผ่านกิจกรรม On Ground และ On Cloud เพื่อสร้างการรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนที่สนใจ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

MDES และ DEPA ร่วมหารือพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทย สร้างเมืองเดิมหน้าอยู่ เมืองใหม่ทันสมัย โดยมีการเห็นชอบมอบตราสัญลักษณ์รับรองเป็น “พื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ” นำร่อง 5 เมืองสำคัญ ได้แก่ ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ ขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ (จ.ขอนแก่น) แม่เมาะเมืองน่าอยู่ (จ.ลำปาง) สามย่านสมาร์ทซิตี้ (กทม.) และเมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง นอกจากนี้ ยังมีการผลักดันเพิ่มอีก 3 เมืองต้นแบบ ได้แก่ ยะลาเมือง เมืองศรีตรัง และฉะเชิงเทรา

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA ร่วมมือกับ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด (เชลล์) เพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนาวิสัยทัศน์คนรุ่นใหม่ ภายใต้โครงการ “Imagine the Future Scenarios Competition 2021 Thailand” ผลักดันจินตนาการสร้างแบบจำลองเมืองแห่งอนาคตและการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ความสำเร็จ

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เร่งกระจายความเจริญสู่ชุมชนในชนบท ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากดิจิทัลสตาร์ทอัพที่เชื่อถือได้ โดยนำร่องด้วยการบูรณาการการทำงานร่วมกับ 4 จังหวัด ในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้านสังคมและกำลังคนดิจิทัล ร่วมกับพันธมิตร 6 มหาวิทยาลัย ร่วมกันหารือวางแผนการขับเคลื่อนโครงการยกระดับทักษะโค้ดดิ้ง ซึ่งประกอบด้วย 2 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการยกระดับทักษะโค้ดดิ้งสู่การประยุกต์ใช้ในท้องถิ่น (Coding in your area) และโครงการยกระดับทักษะโค้ดดิ้งสู่การสร้างสรรค์โครงงานนวัตกรรมอัจฉริยะ (Codekathon)

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA ได้ประชุมร่วมกับอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) เพื่อหารือถึงแนวทางและกลไกในการขับเคลื่อนการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เมืองอัจฉริยะเกิดการกระจายตัวในระดับท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

MDES พร้อมหน่วยงานในสังกัด ได้เข้าเยี่ยมชมโครงการเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต หรือ Phuket Smart City เพื่อพิจารณาความพร้อมก่อนให้บริการ Phuket Sandbox

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่าง MDES และกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) แห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยทั้งสองประเทศจะมีการส่งเสริมความร่วมมือ และยกระดับความร่วมมือด้านดิจิทัลของทั้งสองประเทศให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

DEPA ได้ผนึกความร่วมมือกับ บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและชุมชนดิจิทัลสตาร์ทอัพระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวโครงการ depa Smart City Accelerator Program BATCH 2

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

MDES ได้มอบหมายให้ DEPA ดำเนินโครงการ “นักส่งเสริมดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ The Smart City Ambassadors” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและพัฒนากำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อันนำไปสู่การสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างอาชีพใหม่ ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

จากการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 (ผ่านระบบ Video Conference) โดยในการประชุมนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ ทั้งในส่วนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการทำงานร่วมกับภาคเอกชน โดยเฉพาะการดึงกลุ่ม Start up ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมทำงาน เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในอนาคต

ที่มา: