
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในระดับสากล มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพไฟฟ้าและบริการ มีภารกิจสร้างสรรค์นวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบพลังงานอัจฉริยะ เพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร โดยมีพื้นที่บริการในปัจจุบันได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่ง กฟน. เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายตามแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยในระยะสั้น พ.ศ. 2560-2564 แต่อย่างไรก็ดี กฟน. ยังได้ดำเนินงานที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านสมาร์ทกริดนอกเหนือจากแผนการขับเคลื่อนฯ ดังกล่าว สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
กฟน. จับมือ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือการพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าและนวัตกรรม รองรับโครงการเมือง จุฬาฯ อัจฉริยะ
รายละเอียด:
กฟน. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือการพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าและนวัตกรรม รองรับโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CHULA Smart City) เพื่อดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาระบบไฟฟ้าเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ในพื้นที่การศึกษาและพื้นที่เชิงพาณิชย์ รวม 1,153 ไร่ ล้อมรอบด้วยถนนพระราม 4 – ถนนพระราม 1 – ถนนบรรทัดทอง – ถนนอังรีดูนังต์ โดยแบ่งเป็นโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- ปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบไฟฟ้าให้มีความเพียงพอ มั่นคง ปลอดภัย มีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จุฬาฯ ให้สวยงาม
- พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่จุฬาฯ
- ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage System) ที่สถานีไฟฟ้าย่อยปทุมวัน
- พัฒนาระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ทำให้สามารถเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ซึ่งหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงและบริหารจัดการพลังงาน ในพื้นที่ Smart City
- พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ทำให้สามารถควบคุมและแก้ไขระบบไฟฟ้าขัดข้องอย่างอัตโนมัติ ควบคุมคุณภาพไฟฟ้า เช่น แรงดันไฟฟ้า ให้อยู่ในมาตรฐานการให้บริการ และผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าได้
พิธีลงนามความร่วมมือการพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าและนวัตกรรม รองรับโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (CHULA Smart City)
ที่มา:
รายละเอียด:
กฟน. จับมือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ร่วมกันพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบดิจิทัลและสื่อสารโทรคมนาคมอัจฉริยะ (Smart Digital/Telecommunication) และพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ ซึ่งบทบาทของกฟน. จากความร่วมมือในครั้งนี้ คือ การพัฒนาพลังงานอัจฉริยะร่วมกับ กนอ. ในนิคมอุตสาหกรรม โดยศึกษาและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานอัจฉริยะ พลังงานทดแทน การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ
ที่มา:
รายละเอียด:
กฟน. ได้รับคัดเลือกจาก สำนักงาน กกพ. จำนวน 3 โครงการ เข้าร่วมโครงการ ERC Sandbox ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับ กกพ. ประกอบด้วย
- โครงการ MEA Energy Trading Platform (METP)
- โครงการ Energy Deposit Service by Virtual Battery
- โครงการพื้นที่ทดสอบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านพลังงานของจุฬาฯ : การซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer to Peer และอาคารอัจฉริยะ (ดำเนินการร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
รายละเอียด:
กฟน. มีแผนที่จะติดตั้งสถานีชาร์จจำนวน 13 สาขาของ กฟน. โดยปัจจุบัน กฟน. ได้มีการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแล้วเสร็จ จำนวน 10 แห่ง
นอกจากนี้ กฟน. ได้มีการเปิดตัวแอพพลิเคชัน MEA EV เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานรถไฟฟ้า สามารถหาจุดชาร์จไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย โดยการค้นหาสถานีชาร์จรถนั้น สามารถค้นหาได้ทั้งที่เป็นสถานีของ กฟน., EA และสถานีทั้งหมดที่ลงทะเบียนกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)
สถานีอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้า
แอพพลิเคชัน MEA EV
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
MEA ได้ลงนามสัญญาจัดทำ “โครงการ Smart Metro Grid ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะแห่งอนาคตสำหรับเมืองมหานคร” ร่วมกับ กิจการร่วมค้าฟอร์ทและยิบอินซอย เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโครงการนำร่องที่สำคัญในการยกระดับงานบริการด้านระบบไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ตอบสนองวิถีชีวิตและการใช้เทคโนโลยีในเมืองหลวง โดย MEA ได้วางระบบ Smart Metro Grid โครงข่ายสำหรับการส่งข้อมูลการใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้งบประมาณจำนวนกว่า 1,149 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จภายในปี 2565 ซึ่งการดำเนินงานประกอบด้วย การติดตั้ง smart meter และการใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบได้แบบสองทาง (two-way) มีคุณสมบัติในการ monitor และแสดงผลได้ทันที (real time) ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ทราบถึงพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า และเก็บข้อมูลพร้อมบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก smart meter ทั้งปัจจุบันและย้อนหลังเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบแล้ว ยังสามารถหาสาเหตุของปัญหาเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าแก้ไขได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงยังตรวจสอบการลักลอบใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ข้อมูลที่ละเอียดและเที่ยงตรงจาก smart meter จะถูกนำมาวิเคราะห์ว่าระบบไฟฟ้าอาจจะมีปัญหาที่พื้นที่ใดบ้าง เพื่อที่จะสามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงนำมาใช้ในการวางแผนระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับระบบไฟฟ้าในอนาคตที่มีความซับซ้อน และสอดรับกับแผนพัฒนา smart city ของรัฐบาลที่ผ่านมาทาง MEA ในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ได้ดำเนินการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้ล้ำสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบงานต่างๆ ที่ใช้ภายใน MEA ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีความแม่นยำด้านข้อมูล และสามารถตรวจสอบได้ทันที โดย MEA ได้ตั้งเป้าหมายในการเริ่มใช้ระบบ smart meter ไว้ที่ 33,265 ชุด ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ MEA โดยการติดตั้งดังกล่าวผู้ใช้ไฟฟ้าจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการใช้พลังงานไฟฟ้าของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการประเมินผลการใช้งาน ก่อนจะขยายการติดตั้ง smart meter ให้ครอบคลุมพื้นที่ความรับผิดชอบของ MEA ต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ การจัดทำระบบ Smart Metro Grid จะทำให้ MEA เป็นระบบดิจิทัลไลฟ์มากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในยุคประเทศไทย 4.0 และเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ขณะที่ระบบ Smart Metro Grid นอกเหนือจากการช่วยบริหารจัดการไฟฟ้าอย่างเป็นระบบแล้ว หลักสำคัญคือจากระบบนี้หากเกิดเหตุขัดข้อง MEA สามารถรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทันที และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วกว่าระบบเดิมที่ต้องให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นผู้แจ้งเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความสะดวก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน อีกทั้งระบบ Smart Metro Grid ยังเป็นการสื่อสารข้อมูลแบบสองทางทั้งรับและส่งที่ MEA สามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมธุรกิจบริการที่ทันสมัยต่างๆ ให้แก่ประชาชนได้ในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 MEA ร่วมกับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (แสนสิริ) เปิดตัว โครงการพัฒนา MEA Smart Life Platform เพื่อขยายการบริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมนำร่องติดตั้ง MEA Smart Charging for Electric Vehicles ในโครงการของแสนสิริ ณ เดอะ ไลน์ พหลฯ – ประดิพัทธ์ โดย MEA ในฐานะหน่วยงานผู้ให้บริการด้านระบบไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยกระดับงานบริการที่ทันสมัยตอบรับความต้องการวิถีชีวิตคนเมืองมหานคร และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในกลุ่มผู้อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจในโครงการนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ MEA จะได้เชื่อมต่อ Platform งานบริการบางส่วนจากSmart Life Application ในฟังก์ชันสำคัญให้สามารถใช้งานใน Sansiri Home Service Application ซึ่งเป็น Application ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัยในโครงการของแสนสิริ โดยการเชื่อมต่อครั้งนี้จะแล้วเสร็จในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และจะทำให้ผู้ใช้งาน Application สามารถตรวจสอบค่าไฟฟ้า ชำระเงินผ่านการสแกน QR Code พร้อมทั้งตรวจสอบประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลังได้สูงสุด 6 เดือน อีกทั้งยังมีแผนที่จะพัฒนางานบริการด้านระบบไฟฟ้าอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการรายใดที่สนใจ และมี Application สำหรับผู้อยู่อาศัยในลักษณะดังกล่าว สามารถติดต่อรับการเชื่อมต่อ Platform จาก Smart Life Application ได้ นอกจากนี้ MEA และแสนสิริ ยังได้ร่วมกันดำเนินโครงการนำร่อง MEA Smart Charging for Electric Vehicles ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ MEA ผลิตขึ้น โดยการติดตั้งภายในพื้นที่ของแสนสิริครั้งนี้ MEA จะสามารถทดสอบและพัฒนาการใช้งานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนดำเนินการขยายพื้นที่ให้บริการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 17 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา กฟน. ได้ลงนามสัญญาจัดทำ “โครงการ Smart Metro Grid ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะแห่งอนาคตสำหรับเมืองมหานคร” ร่วมกับ กิจการร่วมค้าฟอร์ทและยิบอินซอย ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องในการยกระดับงานบริการด้านระบบไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ตอบสนองวิถีชีวิตและการใช้เทคโนโลยีในเมืองหลวง โดยได้วางระบบ Smart Metro Grid โครงข่ายสำหรับการส่งข้อมูลการใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้งบประมาณจำนวนกว่า 1,149 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จภายในปี 2565 การดำเนินงานประกอบด้วยการติดตั้ง Smart Meter และการใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบได้แบบสองทาง (Two-way Communication) มีคุณสมบัติในการ Monitor และแสดงผลได้ทันที (Real-time) ซึ่งนอกจากทำให้ทราบถึงพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า และเก็บข้อมูลพร้อมบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าจาก Smart Meter ทั้งปัจจุบันและย้อนหลังเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบแล้ว ยังสามารถหาสาเหตุของปัญหาเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าแก้ไขได้อย่างตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงยังตรวจสอบการลักลอบใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ข้อมูลที่ละเอียดและเที่ยงตรงจาก Smart Meter จะถูกนำมาวิเคราะห์ว่าระบบไฟฟ้าอาจจะมีปัญหาที่พื้นที่ใดบ้าง เพื่อที่จะสามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงนำมาใช้ในการวางแผนระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับระบบไฟฟ้าในอนาคตที่มีความซับซ้อน และสอดรับกับแผนพัฒนา Smart City ของรัฐบาล
กฟน. ได้ตั้งเป้าหมายในการเริ่มใช้ระบบ Smart Meter จำนวน 33,265 ชุด ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ กฟน. โดยการติดตั้งดังกล่าวผู้ใช้ไฟฟ้าจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการใช้พลังงานไฟฟ้าของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการประเมินผลการใช้งาน ก่อนจะขยายการติดตั้ง Smart Meter ให้ครอบคลุมพื้นที่ความรับผิดชอบของ MEA ต่อไปในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 21 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา กฟน. และ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (เดลต้าฯ) ได้ลงนามข้อตกลงเพื่อรวมโซลูชั่นการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของเดลต้าฯ ในประเทศไทยบน MEA EV Application ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสูงสุดให้กับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดย กฟน. และเดลต้าฯ ได้ร่วมกันเตรียมความพร้อมเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภคในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า เช่น การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของเดลต้าฯกับเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟน. การพัฒนา MEA EV Application อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าที่บ้านหรือสำนักงาน การเลือกใช้อุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้าแบบต่างๆ และการติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างประหยัดและปลอดภัย โดย กฟน. เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าของเดลต้าฯ อีกด้วย การลงนามดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้งาน MEA EV Application สามารถเข้าถึงเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าของเดลต้าฯ ในประเทศไทยได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
โดยเดลต้าฯ ได้ติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Fast Charger) และเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charger) ในสถานที่สาธารณะหลายแห่งทั่วประเทศไทย รวมถึงร้านตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ นิคมอุตสาหกรรม สำนักงาน สถาบัน และศูนย์การศึกษาต่างๆ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้งาน MEA EV Application สามารถค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าการจองหัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ พร้อมควบคุมการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบรีโมทด้วยแอปพลิเคชั่นทันที รวมถึงการชำระเงินค่าบริการด้วยสมาร์ทโฟนได้ทั่วประเทศ การแจ้งข้อมูลประวัติการชาร์จ การคำนวณอัตราการประหยัดพลังงาน รวมถึงฟังก์ชันอื่นๆ ที่จะจัดทำเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในอนาคต โดยสามารถดาวน์โหลด MEA EV Application ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android นอกจากนี้ กฟน. และเดลต้าฯ จะทำงานร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเครื่องอัดประจุไฟฟ้าตามสถานที่สาธารณะและโซลูชั่นการจัดการของเดลต้าจากเซิร์ฟเวอร์ของ กฟน. (ตามมาตรฐาน OCPP) ไปยัง MEA EV เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 12 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา กฟน. และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะในเขตพื้นที่ของ ม.อ. โดยร่วมกันศึกษาและพัฒนารูปแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตลอดจนพัฒนาชุมชนเมืองโดยรอบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสร้างเมืองอัจฉริยะบนพื้นที่ของ ม.อ. ในครั้งนี้ ครอบคลุมการพัฒนาในด้านสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community) อยู่ร่วมกันในมาตรฐานชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) สร้างความสามารถในการแข่งขันและลงทุน อาคารอัจฉริยะ (Smart Building) ตอบสนองการใช้งานอาคารอย่างเต็มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการเมืองแบบอัจฉริยะ (Smart Governance) บริหารเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ และนวัตกรรมอัจฉริยะ (Smart Innovation) ซึ่งความร่วมมือกันในครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยพัฒนาทั้งสองหน่วยงานสร้างสรรค์ผลงาน และพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติให้เกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา กฟน. ได้เปิดอบรมหลักสูตรการติดตั้ง EV Charger แบบ Normal ให้แก่ช่างไฟฟ้ามืออาชีพ ภายใต้โครงการสร้างความปลอดภัยจากระบบไฟฟ้า และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประจำปี 2563 จำนวน 2 รุ่น ระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กฟน. เพลินจิต หลักสูตรการติดตั้ง EV Charger แบบ Normal ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า และการอัดประจุไฟฟ้า รวมถึงกฏหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับช่างไฟฟ้าที่ผ่านการอบรม และได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างสายไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 จาก MEA ซึ่งเป็นการเพิ่มทักษะ ความรู้ความสามารถในการติดตั้งระบบชาร์จไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแบบทั่วไป หรือ EV CHARGER แบบ NORMAL ได้ เป็นการต่อยอดพัฒนาช่างฝีมือรองรับแนวโน้มการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต รวมถึงเตรียมให้บริการด้านไฟฟ้าแบบครบวงจรผ่าน Application “MEA e-Fix” เสริมสร้างรายได้ให้แก่ช่างไฟฟ้าในโครงการฯ อีกทั้งเป็นเครือข่ายตัวแทน MEA ในการให้บริการประชาชนภายในที่พักอาศัย พื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. ได้ทำการพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าโครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) (City transit E-buses) ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาโครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 5 โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่าย กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สวทช. กฟผ. กฟน. กฟภ. ขสมก. บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด บริษัท พานทอง กลกาล จำกัด บริษัท รถไฟฟ้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท สบายมอเตอร์(ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้บริการประชาชน เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ไปสู่การเป็นประเทศที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาล เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานในด้านประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ใช้งานยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ และช่วยลดมลพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของ กฟน. ในการดำเนินภารกิจที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา กฟน. ได้ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มจุดติดตั้ง MEA EV Charging Station บริเวณร้านสะดวกซื้อ
7-Eleven จำนวน 2 แห่ง ให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ 7-Eleven สาขาบ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และ สาขา สน. บางขุนนนท์ เพื่อรองรับการใช้บริการของผู้ขับขี่รถ EV ในพื้นที่ ซึ่งมีสถานที่สำคัญทั้งโรงพยาบาล ชุมชน และหน่วยงานราชการ สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ กฟน. ติดตั้งเป็นรูปแบบ Normal Charger ขนาด 22 kW หัวชาร์จ Type 2 โดยผู้ใช้งานสามารถเริ่มต้นการชาร์จได้ผ่านการสแกน QR Code ที่จุดติดตั้งผ่าน MEA EV Application ได้ทันที โดยสามารถตรวจสอบสถานีชาร์จ สั่งจองหัวชาร์จ พร้อมแสดงเส้นทางนำทางไปยังสถานีชาร์จด้วยระบบแผนที่ GIS ของ กฟน. และสั่ง เริ่ม-หยุด การชาร์จ แสดงปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ชาร์จ ชำระค่าชาร์จ ดูประวัติการชาร์จ และแสดงผลการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน MEA EV Application รองรับการใช้งานกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟน. ที่มีอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ทั้ง 13 แห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงยังสามารถใช้งานกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของเอกชนทั่วประเทศ เช่น บริษัท EA Anywhere (EA) และสถานีทั้งหมดที่ลงทะเบียนกับสมาคมยานยนต์ ไฟฟ้าไทย (EVAT) นอกจากนี้ กฟน. มีการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า 22 kW จำนวน 50 เครื่องฟรี เชื่อมต่อระบบบริหารจัดการเครื่องอัดจุไฟฟ้าอัจฉริยะพร้อม Platform วิเคราะห์ข้อมูลการชาร์จ พร้อมเชื่อมต่อกับ MEA EV Application ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. รับมอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า MG ZS EV และ Nissan Leaf พร้อมจัดอบรมหลักสูตรการแนะนําวิธีการใช้งาน รวมถึงผลิตภัณฑ์รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากค่าย MG ณ กฟน. เพลินจิต กฟน. ได้ดำเนินการตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จึงมีการวิจัยและพัฒนาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าภายในองค์กร พัฒนานวัตกรรมต่อยอดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงจัดทำ MEA EV Application เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน อีกทั้งให้ความร่วมมือทั้งหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชนในการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย กฟน. ได้รับมอบรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS จำนวน 23 คัน และรถยนต์ไฟฟ้า Nissan Leaf จำนวน 24 คัน เพื่อนำมาใช้ในกิจการสนองตอบนโยบายขับเคลื่อนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ลดการสร้างมลภาวะอันเป็นสาเหตุสำคัญของฝุ่น PM 5 ได้อย่างยั่งยืนนอกจากนี้ ทีมงานจาก กฟน. ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า นวัฒกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจากค่าย Nissan และ MG เพื่อเสริมสร้างความรู้อีกทั้งจัดการฝึกอบรมการแนะนำผลิตภัณฑ์รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท เค ออโต้ แกลเลอรี่ จำกัด และ บริษัท เอ็ม จี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด อีกด้วย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 8 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา กฟน. ได้ส่งมอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ในโครงการศึกษาวิจัย MEA EV Smart Charging System ให้แก่ผู้ผ่านการคัดเลือกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่อยอดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดย กฟน. ได้ส่งมอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้าขนาด 22 kW จำนวน 50 เครื่อง ฟรี และรับประกันบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 2 ปี ให้แก่ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัย MEA EV Smart Charging System ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมเชื่อมต่อ Platform ระบบบริหารจัดการเครื่องอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ วิเคราะห์ข้อมูลการชาร์จ และเชื่อมต่อกับ MEA EV Application รองรับการใช้งานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างครบวงจร อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสาธารณะ และพัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องอัดประจุไฟฟ้า (Smart Charging) กฟน. จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเครื่องอัดประจุไฟฟ้ารวมถึงการวิจัยและพัฒนาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กฟน. ได้ดำเนินนโยบายในด้านยานยนต์ไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง มีการศึกษาวิจัยการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าจากการนำมาใช้งานจริงของพนักงานในโครงการ MEA EV Sharing จำนวน 47 คัน และและโครงการพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. เป็นรถโดยสารไฟฟ้าเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย การวิจัยและพัฒนาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าภายในองค์กร พร้อมขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลในการเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะเป็นรถพลังงานไฟฟ้าแล้วยังช่วยลดมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 5 และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงของผู้ใช้งานทุกภาคส่วน ในการเตรียมความพร้อมรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่จะมาทดแทนรถยนต์น้ำมันต่อไปในอนาคต ตลอดจนการติดตั้งและพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟน. โดยในปัจจุบันมีการติดตั้งแล้วทั้งสิ้น 14 แห่ง ประกอบด้วย ที่ทำการ กฟน. เขตต่างๆ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และที่บริเวณ 7-Eleven ทั้ง 2 สาขา ครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ นอกจากนี้ MEA พร้อมให้บริการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าให้แก่
ผู้ที่สนใจ
นอกจากนี้ MEA ได้จัดทำ MEA EV application เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้นและสามารถใช้งานสถานีชาร์จได้ทั่วประเทศที่ลงทะเบียนกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ด้วยฟังก์ชันสั่งจองหัวชาร์จแบบเรียลไทม์ มีระบบนำทางไปยังสถานีชาร์จบนแผนที่ สั่ง Start/Stop การชาร์จ พร้อมทั้งแสดงข้อมูลการชาร์จ ตรวจสอบประวัติการชาร์จได้ การชำระค่าชาร์จ และดูประวัติการชาร์จ อีกทั้งแสดงข้อมูลการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ผู้สนใจสามารถ Download “MEA EV” Application “แอปเดียวจบ ครบทุกเรื่องควบคุมจัดการยานยนต์ไฟฟ้า” ฟรี ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
วันที่ 10 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และ กฟน. ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจการศึกษาความเป็นไปได้
ในการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการโทรคมนาคม และประกอบกิจการอื่นในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของ กฟน. ซึ่งนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ ช่วยลดการลงทุนซ้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาคุณภาพบริการได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้บริการได้ในอนาคตโดยปัจจุบัน CAT มีเสาโทรคมนาคมกว่า 20,000 ต้น ที่พร้อมสำหรับให้ผู้ประกอบการได้ใช้งาน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนและยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและ 5G ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากความร่วมมือกับ กฟน. แล้ว CAT ยังจะร่วมกับพันธมิตรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่ต้องจัดหาเพิ่มเติมเพื่อลดภาระการลงทุน และสร้างรายได้เพิ่มจากการให้ผู้ให้บริการรายอื่นเช่าใช้โครงสร้างพื้นฐานทั้งในส่วนของเสาโทรคมนาคมและไฟเบอร์ (Passive Infrastructure Sharing) รวมถึงร่วมกับพันธมิตรธุรกิจหรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่น เพื่อให้การลงทุนจัดให้มีบริการ 4G/5G เกิดประสิทธิภาพและประหยัดสูงสุด โดยความร่วมมือในครั้งนี้ กฟน. จะสนับสนุนข้อมูลด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้า ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์บนเสาไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้ประกอบการจัดทำผลการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมระบบการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจ และประชาชนในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. เป็นหน่วยงานแรก ๆ ในประเทศไทยที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าภายในองค์กรอย่างจริงจัง พัฒนานวัตกรรมต่อยอดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 14 แห่ง ครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมรองรับการใช้งานสถานีชาร์จได้ทั่วประเทศ ผ่าน MEA EV Application เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. ได้ประกาศอัตราค่าบริการไฟฟ้าในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับสถานีชาร์จแบบ Low Priority ในเขตพื้นที่พื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ประกอบด้วย ค่าไฟ 2.6369 บาทต่อหน่วย (เท่ากันทุกระดับแรงดัน) ค่าบริการรายเดือน 312.24 บาท (เท่ากันทุกระดับแรงดัน) และค่า Ft (มีการทบทวนทุก 4 เดือน) เป็นระยะเวลา 2 ปี หรือจนกว่าจะมีอัตราใหม่ออกมา
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. ได้ให้การสนับสนุน บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ EA และบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือประกาศแผนการลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยได้ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า EA Anywhere ในพื้นที่ ของบิ๊กซี และส่งมอบสาขาแรกที่บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สาขาลาดพร้าว 2 โดยมีแผนขยายการติดตั้งไปยังบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด (Mitsubishi) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงอำนวยความสะดวกในการหาสถานีชาร์จทั่วประเทศผ่านแอปพลิเคชัน MEA EV Application
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. ร่วมกับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (กัลฟ์) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมกันพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าและการบริหารจัดการพลังงาน
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. และ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (B.GRIMM) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจพลังงาน โดยให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการพลังงานทดแทน การบริหารจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้า การบริหารจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) รวมถึงระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) และการพัฒนาระบบการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (Energy Trading)
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟน. ได้ทำการส่งมอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้า MEA EV Charger ขนาด 22 kW ให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ MBK CENTER, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ CP Tower รวมเป็นจำนวน 9 เครื่อง จากทั้งหมด 50 เครื่อง โดยเป็นเครื่องอัดประจุไฟฟ้าในโครงการศึกษาวิจัย MEA EV Smart Charging System
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้จัดสัมมนา “เทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้ากำลังมา เตรียมชาร์จรถอย่างไรให้ปลอดภัย” ผ่านระบบออนไลน์ โดย 3 หน่วยงานการไฟฟ้า (กฟผ. กฟภ. และ กฟน.) ร่วมมือกันจำหน่ายพลังงานสะอาด เพื่อเตรียมความพร้อมรับเทรนด์ EV ในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
จากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบแผนธุรกิจและการจัดตั้งบริษัทในเครือของ กฟน. คือ บริษัท MEA Smart Energy Solutions จำกัด โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการให้บริการให้คำปรึกษาการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา และลงทุนด้านการบริหารจัดการระบบพลังงานทดแทน (Renewable Energy) และระบบพลังงานแบบอัจฉริยะ (Smart Energy) แบบครบวงจรเพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดย กฟน. จะเป็นผู้ถือหุ้น 100% ของบริษัทในเครือดังกล่าว
ที่มา: