
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ. ซึ่ง กฟผ. เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายตามแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยในระยะสั้น พ.ศ. 2560-2564 แต่อย่างไรก็ดี กฟผ. ยังได้ดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านสมาร์ทกริดนอกเหนือจากแผนการขับเคลื่อนฯ ดังกล่าว สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้
รายละเอียด:
กฟผ.เตรียมตั้งงบประมาณสำหรับรองรับการจัดทำแผนปฏิบัติ (Action Plan) ภายใต้โครงการ ERC Sandbox ที่ กฟผ.ได้รับการอนุมัติจาก กกพ. ทั้ง 3 โครงการ คาดว่าจะอยู่ในวงเงิน 20 ล้านบาท ประกอบด้วย
- โครงการที่ 1 คือ การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโมเดลทดสอบในโครงการ ENGY Energy is yours ซึ่งจะทดสอบในพื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ 1) โครงการพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค Zone ชัยพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ 2) โครงการบางกอกบลูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ 2 และ 3) โครงการคาซ่า พรีเมี่ยม ราชพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ
- โครงการที่ 2 คือ โครงการ Eco-living through smart energy innovations สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- โครงการที่ 3 คือ โครงการศรีแสงธรรมโมเดล ของโรงเรียนศรีแสงธรรม ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ กฟผ.ไปแล้ว
ทั้ง 3 โครงการ กฟผ.จะเข้าไปลงทุนติดตั้งนวัตกรรมใหม่ๆ ในพื้นที่ เช่น โซลาร์รูฟท็อปบนหลังคา เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองและส่วนที่เหลือสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างอาคารที่อยู่ในพื้นที่ ภายใต้ระบบสมาร์ทกริด และในรูปแบบ Peer-to-Peer trading โดยเป็นการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้น คาดว่าจะใช้เวลาทดสอบ 3 ปี โดยในแต่ละโครงการฯ จะครอบคลุมทั้ง 5 ประเภทเทคโนโลยี ตามที่ กกพ.กำหนด
ที่มา:
รายละเอียด:
กฟผ. ร่วมกับบ้านผีเสื้อ จ.เชียงใหม่ ลงนามข้อตกลงพัฒนาระบบสมาร์ทกริดและไมโครกริด เพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงการ EGAT Energy Excellence Center (EGAT-EEC)โดยศึกษาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในรูปแบบไฮโดรเจน ผสมผสานร่วมกับ EGAT Inverter Model ในการบริหารจัดการพลังงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กฟผ. ร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) โครงการ EGAT Energy ExcellenceCenter (EGAT-EEC) ร่วมกับบริษัท Enapter
ที่มา:
รายละเอียด:
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อศึกษาการพัฒนาสินค้าหรือแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือรองรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าในระดับขายส่ง (Wholesale Electricity Market)โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีกลไก เพื่อการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งต่อผู้ผลิตและผู้ใช้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ กฟผ.
ที่มา:
รายละเอียด:
กฟผ. และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (กนอ.) ได้คัดเลือกให้นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองในพื้นที่ EEC เป็นนิคมต้นแบบ เพื่อดำเนินโครงการศึกษาและพัฒนา Smart City : Energy Digital Platform ภายใต้ MOU ระหว่าง กฟผ. และ กนอ. ซึ่งจะตอบโจทย์การใช้พลังงานรูปแบบใหม่ และการขยายตัวของโรงงานในอนาคต ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการไฟฟ้าจะต้องนำเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่เข้ามาใช้ เช่น การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป การนำแบตเตอรี่เข้ามาบริหารจัดการ และการพัฒนาแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนไฟฟ้า เป็นต้น
ที่มา:
รายละเอียด:
ปัจจุบัน กฟผ. ได้ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี เพื่อรองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าใน 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งจะอยู่ตามโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โดยเปิดให้ประชาชนที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถนำรถเข้าร่วมโครงการนำร่องใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟผ. ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบธรรมดาจำนวน 11 สถานี และสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็วจำนวน 12 สถานี
ภาพงานเปิดตัวสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟผ.
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 กฟผ. และกรมเจ้าท่าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านวิชาการและพัฒนานวัตกรรมเพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะ นำร่องที่ท่าเรือพระราม 5 และพระราม 7 โดยมีกรอบระยะเวลา 3 ปี ภายในวงเงินประมาณ 19 ล้านบาท ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 1 ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี โดย กฟผ. ได้ร่วมออกแบบและจะนำรูปแบบเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม มาปรับปรุงพัฒนาให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะที่มีความทันสมัย และสามารถรองรับการใช้งานร่วมกันของคนทุกกลุ่ม ด้วยศักยภาพและประสบการณ์ของทั้ง 2 หน่วยงานจะช่วยยกระดับทั้งด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ และการบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Smart City ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ร่วมสร้างความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ได้ทำการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาต่อยอดเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีเป้าหมายเป็นรถยนต์เก่ายอดนิยม โดยเน้นพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่ใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้มากที่สุด ได้แก่ มอเตอร์ (EV Motor) แบตเตอรี่ (EV Battery) คอนโทรลเลอร์ (EV Controller) และระบบชาร์จ (EV Charger) เพื่อลดการนำเข้า ชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่มีต้นแบบจาก กฟผ. มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ มีราคาค่าดัดแปลงที่จับต้องได้และประชาชนเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีงานวิจัยยานยนต์ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เช่น รถเมล์ไฟฟ้า โดยเป็นการนำรถเมล์เก่าของ ขสมก. ที่หมดอายุการใช้งานมาดัดแปลงเป็นรถเมล์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ซึ่งจะนำมาทดลองใช้ในเร็วๆ นี้ สำหรับการพัฒนา EV Charging Station ของ กฟผ. ปัจจุบันได้ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแล้ว 10 สถานี 23 หัวจ่าย แบ่งเป็นหัวจ่ายแบบ Quick Charger 12 หัวจ่าย และ Normal Charger 11 หัวจ่าย ซึ่งอยู่ระหว่างวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Charger) โดย Charging Platform ให้สามารถควบคุมเครื่องชาร์จไฟฟ้าได้อัตโนมัติ ลดการใช้บุคลากรในการดูแล เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นสถานีไร้คนเฝ้าประจำ และเป็นฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ สอดรับกับแผนโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศ
นอกจากนั้น กฟผ. ยังมีโครงการศึกษาศักยภาพจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการให้บริการรถรับจ้างสาธารณะ และโครงการศึกษาและพัฒนาเรือไฟฟ้าและการเดินเรือไฟฟ้าเพื่อสาธารณะ ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาต่อยอดให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางสัญจรของประชาชน
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 กฟผ. ร่วมพิธีเปิดงานประชุมงานวิชาการโครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2562 (Smart Energy Transformation Asia 2019 : SETA 2019) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 -12 ตุลาคม 2562 โดย กฟผ. ได้ร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ New Energy for Sustainability ทั้งนี้ กฟผ. ได้ร่วมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ภายใต้แนวคิด Smart Energy Innovation for Thai Better Life จัดแสดงภายในงาน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ฮอลล์ 98 กรุงเทพมหานคร โดยรองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. กล่าวในการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ New Energy for Sustainability ว่า กฟผ. ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานมาพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Grid Modernization ซึ่งประกอบไปด้วย การปรับปรุงโรงไฟฟ้าหลักให้ยืดหยุ่น (Flexible Plant) การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) การปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูงเป็นระบบดิจิทัล (Digital Substation) การพัฒนาระบบพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (RE Forecast Center) การสร้างแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้า (National Energy Trading Platform) และการพัฒนาศูนย์บริหารจัดการการใช้ไฟฟ้า (Demand Response Control Center) นอกจากนี้ ยังมีแผนการเชื่อมระบบไฟฟ้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ (Grid Connectivity) อีกด้วย
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ.และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ได้ร่วมกันทำ “โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง (EV Kit & Blueprint Project)” โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้คนไทยสามารถดัดแปลงรถยนต์คันเก่าให้กลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้ในต้นทุนไม่เกินคันละ 200,000 บาท (ไม่รวมแบตเตอรี่) ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่อย่างแน่นอนอีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ใช้รถคู่ใจคันเดิมและช่วยลดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย กฟผ. ได้เริ่มดำเนินโครงการวิจัยชุดรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงตั้งแต่ปี 2553 โดยในระยะที่ 1 ได้มีการดัดแปลงรถยนต์เดิมให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าโดยการซื้ออุปกรณ์ภายในรถยนต์ไฟฟ้ามาจากต่างประเทศและนำมาประกอบเพื่อดูการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง
การดำเนินงานโครงการวิจัยฯ ในระยะที่ 2 ทีมวิจัยได้เลือกใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในประเทศที่มีราคาถูก โดยนำมาดัดแปลงใช้ในรถยนต์ขนาดกลางที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดอย่างรถยนต์ Nissan Almera หรือ i-EV ที่ได้มีการส่งมอบให้ กฟผ. เพื่อทดลองใช้งานจริงเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถใช้งานได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง นอกจากนี้ จะมีการส่งมอบ Nissan Almera เพิ่มเติมอีก 1 คัน
ในเดือนเมษายน ขณะที่ภายในสิ้นปี 2562 จะมีการส่งมอบรถยนต์ Toyota Altis อีกจำนวน 2 คัน พร้อมกับชุด EV Kit จำนวน 4 ชุด หลังจากนั้นจะมีการต่อยอดองค์ความรู้ในการวิจัยระยะที่ 3
สำหรับในปี 2563 ซึ่งเป็นระยะที่ 3 และระยะสุดท้ายของการวิจัยและพัฒนา กฟผ. ตั้งเป้าถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมมีคู่มือการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้า (EV Kit) จำนวน 3 ชุด ให้กับผู้ประกอบการอู่รถยนต์ที่มีศักยภาพเพื่อนำไปทดลองเปลี่ยนรถยนต์คันเดิมให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อเก็บข้อมูลและปรับปรุงก่อนการขยายผลในเชิงพาณิชย์ให้มีระดับราคาที่ประชาชนเป็นเจ้าของได้ที่ไม่เกิน 200,000 บาท
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. เปิดตัววินมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าและเรือไฟฟ้าโดยสารประหยัดพลังงาน ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 5 เชื่อมต่อการเดินทางล้อ ราง เรือ สนองนโยบาย One transport ของภาครัฐ ในงาน “E Trans E” (Electric Transportation of EGAT) นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า กฟผ. ได้ปล่อยขบวนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และเปิดตัวเรือโดยสารไฟฟ้าต้นแบบ โดย กฟผ. มีเป้าหมายนำร่องวินมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าในพื้นที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จำนวน 51 คัน ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ความเร็วสูงสุดมากกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีการติดตั้งระบบ GPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสาร โดยผู้ขับขี่สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำรองได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายในปลายปี 2563 นอกจากนี้ กฟผ. ได้พัฒนาเรือโดยสารไฟฟ้า จำนวน 2 ลำ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 214 กิโลวัตต์-ชั่วโมง สามารถแล่นด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 10 น็อต ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง โดยระบบปรับอากาศในห้องโดยสารถูกออกแบบให้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาเซลล์ที่ติดตั้งอยู่บริเวณหลังคาเรือทั้ง 2 ลำ รองรับผู้โดยสารได้ลำละ 80 คน ซึ่งในระยะแรกจะทดสอบการเดินเรือเพื่อศึกษาวิจัยและประเมินสมรรถนะของเรือ โดยนำมาใช้ในภารกิจของ กฟผ. ก่อน แล้วจึงจะขยายผลสู่การใช้ประโยชน์สำหรับภาคประชาชนในอนาคตเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง “ล้อ ราง เรือ” ส่วนสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าอยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งบริเวณฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง กฟผ.
ส่วนการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า กฟผ. ได้นำรถยนต์เก่าใช้แล้วมาดัดแปลงเป็นรถยนต์ไฟฟ้าด้วยชุด EV Kit ที่ กฟผ. และ สวทช. ร่วมกันพัฒนาให้สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลประมาณ 200 กิโลเมตรต่อการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง ความเร็วสูงสุดมากกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงไม่รวมแบตเตอรี่ประมาณ 200,000 บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดัดแปลงรถยนต์ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการดัดแปลงรถเมล์เก่าที่หมดอายุการใช้งานแล้วของ ขสมก. ให้เป็นรถโดยสารปรับอากาศไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ วิ่งได้ระยะทางไกลประมาณ 100-250 กิโลเมตรต่อการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร ความเร็วสูงสุดมากกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถรับผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่า 80 คน และจะนำไปใช้ทดสอบเดินรถจริงในเส้นทางสาย 543ก (ท่าน้ำนนทบุรี – อู่บางเขน)
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท Wallbox Chargers SL. (Wallbox) ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพของประเทศสเปนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและผลิตอุปกรณ์ชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะแบบสองทิศทาง (Smart Bi-Directional Charger) ที่มีขนาดเล็กสำหรับติดตั้งใช้ในที่พักอาศัยแห่งแรกของโลก เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจบริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้า (Vehicle to Grid: V2G) โดย Wallbox จะให้การสนับสนุน กฟผ. พัฒนาธุรกิจบริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะที่เหมาะสมกับประเทศไทย ส่วน กฟผ. จะประสานศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติในการปรับแก้ไขกฎระเบียบในการจ่ายไฟฟ้าจากยานยนต์ไฟฟ้ากลับสู่ระบบไฟฟ้า (Grid Code) ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อเตรียมความพร้อมระบบไฟฟ้าไทยรองรับนวัตกรรมโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant: VPP) ทั้งนี้ หากอนาคตเปิดให้รับซื้อไฟฟ้าส่วนเหลือจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เพื่อเป็นระบบสำรองไฟฟ้าช่วยเสริมความมั่นคงไฟฟ้าของประเทศ โดย กฟผ. ได้รับสิทธิ์ให้บริการดูแลและติดตั้งอุปกรณ์ รวมถึงบริการด้าน Software my Wallbox ในการบริหารระบบ EV Charging Station ของผู้ประกอบการภายใต้แบรนด์ Wallbox เพียงรายเดียวในประเทศไทย สำหรับอุปกรณ์ Wallbox เป็นเทคโนโลยีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะแบบสองทิศทางสำหรับติดตั้งบนผนังภายในที่อยู่อาศัย ถูกออกแบบให้ดูทันสมัย มีขนาดเล็กกะทัดรัด ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง น้ำหนักเบา ติดตั้งได้ง่าย และได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานยุโรป ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถจ่ายไฟฟ้าจากรถยนต์ไฟฟ้าย้อนกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้า สามารถควบคุมปริมาณความต้องการไฟฟ้าและระบบต่างๆ เช่น ระบบกระจายพลังงาน (Power Sharing) ระหว่างเครื่องชาร์จหลายตัว เพื่อแบ่งจ่ายพลังงานให้กับรถแต่ละคันด้วยกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้ช้รถยนต์ไฟฟ้าระบบ Automatic & Dynamic Load Management (Power Boost)ที่สามารถเพิ่มหรือลดกำลังไฟฟ้าในการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าให้เหมาะกับช่วงเวลาต่างๆ ของการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมของผู้ประกอบการเพื่อลดโอกาศในการเกิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า(Demand Charge) ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลง อย่างไรก็ตาม ในระยะแรก กฟผ. ได้เริ่มให้บริการ Wallbox สำหรับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ และเตรียมพัฒนาโมเดลธุรกิจโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และองค์กรต่างๆ ต่อไป
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. และบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การแปลงพลังงานระหว่างยานยนต์ไฟฟ้า (Plug-in hybrid electric vehicle หรือ PHEV) กับระบบไฟฟ้า และการควบคุมกำลังไฟฟ้าจากศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ โดยทำการพัฒนาโมเดลธุรกิจแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามายังระบบไฟฟ้า เช่น บ้าน อาคาร และการควบคุมกำลังไฟฟ้าจากยานยนต์ไฟฟ้ากับศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ พร้อมศึกษาและเตรียมขยายสถานีชาร์จไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ กฟผ. และบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส จะร่วมกันศึกษาแนวทาง ทดสอบเก็บข้อมูล และพัฒนาโมเดลธุรกิจจากการแปลงพลังงานระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับ ระบบไฟฟ้า และการควบคุมกำลังไฟฟ้าจากศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า รวมถึงศึกษาเส้นทางการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเตรียมขยายการสร้างและติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและปริมาณของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย โดยความร่วมมือดังกล่าวจะอยู่ภายใต้กรอบระยะเวลา 3 ปี สำหรับการแปลงพลังงานระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้า (Vehicle to Grid : V2G) จะเป็นการศึกษาและทดสอบการจ่ายพลังงานจากแบตเตอรี่รถยนต์พีเอชอีวี ของมิตซูบิชิมายังระบบไฟฟ้า เช่น บ้าน อาคารสำนักงาน โดยใช้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้า ซึ่งในอนาคตหากมีรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น การแปลงพลังงานดังกล่าวอาจจะสามารถรองรับนวัตกรรมโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant : VPP) เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพและเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในประเทศต่อไป
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ได้ประสานความร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กำหนดแนวทางทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้มีมาตรฐานพลังงานประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีเป้าหมายจะเริ่มนำร่องระยะแรก ประมาณ 5,000 คัน ก่อนขยายผลไปสู่ตลาดอย่างแพร่หลายต่อไป
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกันทำ “โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง (EV Kit & Blueprint Project)” เป้าหมายต้องการให้ช่างไทยสามารถดัดแปลงรถยนต์คันเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้ ซึ่งจะทำให้คนไทยใช้ต้นทุนไม่เกินคันละ 200,000 บาท (ไม่รวมแบตเตอรี่)
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ผสานความร่วมมือ บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด นำต้นแบบเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. เตรียมทดลองให้บริการฟรี 6 เดือน ตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ด-พระราม 7 และพระราม 7-สาทร เพื่อเก็บข้อมูลและพัฒนาเป็นเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ต่อยอดสู่ความร่วมมือในการทำธุรกิจเดินเรือโดยสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
สวทช. จับมือ กฟผ. และบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ร่วมศึกษาการนำเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงต่อยอดสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ พร้อมจัดตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาและจัดทำแผนธุรกิจ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ลุยโปรเจ็กต์ใหม่ ผนึกพีทีผุดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรก นำร่อง อ.ปากช่อง พร้อมศึกษาแผนลงทุนวางอนาคตรับดีมานด์รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 1.2 ล้านคันในปี 2579 ดันดีมานด์ไฟฟ้าเพิ่ม 7 หมื่นเมกะวัตต์
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. อยู่ระหว่างศึกษาลงทุนจัดตั้งชาร์จจิ้ง สเตชั่น ทั้งการลงทุนตามสถานีไฟฟ้าแรงสูงเอง และความร่วมมือกับผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน เบื้องต้นจะมุ่งลงทุนประเภทหัวจ่ายเร่งด่วน เพื่อรองรับการใช้งานของรถ EV ที่วิ่งในต่างจังหวัด และใช้เวลาชาร์จเร็ว ประมาณ 20-30 นาที
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “EV Charging Station & Platform co creation for Electric Vehicles Project” ระหว่าง กฟผ. และค่ายรถยนต์ระดับโลกอย่าง Audi, BMW, Mercedes-Benz, Nissan, MG และ Porsche ซึ่งเป็นการร่วมมือเพื่อการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของโลก
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. และปตท. ได้ประกาศแผนลงทุนธุรกิจ EV ที่ชัดเจน โดย กฟผ. ได้เปิดตัวธุรกิจ EGAT EV Business Solutions พร้อมพันธมิตรจาก 6 บริษัทรถยนต์ชั้นนำพัฒนาปั๊มชาร์จ EV และ Application เชื่อมโยงข้อมูลพร้อมส่งเสริมการขาย ส่วนปตท. ได้ประกาศเป้าหมายเตรียมเข้าสู่ธุรกิจ EV (EV Value Chain) ตั้งแต่ตัวรถ EV การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบรถ EV และครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานปั๊มชาร์จ EV
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
เอ็กโก กรุ๊ปร่วมมือกับ กฟผ. และราชกรุ๊ปตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อดำเนินธุรกิจใหม่ด้านพลังงานเพื่ออนาคตทั้ง Smart Grid และแบตเตอรี่รองรับ EV วางเป้ากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันเมกะวัตต์ ภายในปี 2564 พร้อมทั้งขยายพอร์ตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 25% ใน 10 ปีข้างหน้า
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ร่วมกับ กฟผ. ศึกษาแนวทางจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ เพื่อศึกษาความเหมาะสมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เล็งพื้นที่ศักยภาพจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลเซลล์แสงอาทิตย์-แบตเตอรี่ ต้นแบบของประเทศ
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เผยผลการประชุม คนร. ครั้งแรก ตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ พร้อมเห็นชอบตั้ง 2 บริษัทลูก กฟน.-กฟผ. ยกระดับการจัดการพลังงานด้วยนวัตกรรม
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. เดินหน้าแผนความร่วมมือกับภาคเอกชนในการขยายการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือกับบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (BCP) ในการร่วมลงทุนขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ได้ร่วมลงนาม MOU โครงการความร่วมมือด้านพลังงานอัจฉริยะ “Smart Energy EGAT X EA” เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพลังงานใหม่ ๆ ในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กฟผ. จึงมุ่งพัฒนาและสรรหานวัตกรรมกักเก็บพลังงานที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไทย ได้แก่ ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage) และระบบกักเก็บพลังงานด้วยเซลล์เชื้อเพลิงร่วมกับพลังงานลม (Wind Hydrogen Hybrid System)
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยทำการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ารองรับการใช้ไฟฟ้าของสถานีกลางบางซื่อ และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้จัดสัมมนา “เทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้ากำลังมา เตรียมชาร์จรถอย่างไรให้ปลอดภัย” ผ่านระบบออนไลน์ โดย 3 หน่วยงานการไฟฟ้า (กฟผ. กฟภ. และ กฟน.) จะร่วมมือกันจำหน่ายพลังงานสะอาด เพื่อเตรียมความพร้อมรับเทรนด์ EV ในอนาคต
ที่มา:
รายละเอียดการดำเนินงาน
กฟผ. ได้ดำเนินการพัฒนาโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน (โครงการฯ) ตามแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทยในระยะสั้น ตามแผน PDP 2018 Revision 1 โดยปัจจุบัน กฟผ. ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานสนามแล้วเสร็จ พร้อมพัฒนาส่งเสริม SMART CITY เพื่อเป็นสถานที่สาธิตวิจัย และพัฒนา ก่อนที่จะนำเทคโนลียีสมาร์ทกริดไปใช้งานในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยต่อไป
ที่มา: