สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

///สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 2021-10-04T14:13:23+07:00

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) มีพันธกิจในการกำกับดูแลพลังงานของประเทศด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใสในด้านอัตราค่าบริการคุณภาพและการให้บริการ รวมถึงส่งเสริมการแข่งขันการจัดหาพลังงาน สร้างความมั่งคง พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานและประสิทธิภาพกิจการพลังงานให้ได้มาตรฐาน เกิดความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสำนักงาน กกพ. เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายตามแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยในระยะสั้น พ.ศ. 2560-2564 แต่อย่างไรก็ดี สำนักงาน กกพ. ยังได้ดำเนินงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านสมาร์ทกริดนอกเหนือจากแผนการขับเคลื่อนฯ ดังกล่าว สามารถสรุปรายละเอียดสำคัญได้ดังต่อไปนี้

รายละเอียด:

สำนักงาน กกพ. ได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการพลังงาน (ERC Sandbox) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 โดยในเฟสแรกของการพิจารณาคัดเลือกมีผู้ผ่านการพิจารณาและได้รับสิทธิเข้าร่วมในโครงการ จำนวน 34 โครงการ จากการยื่นข้อเสนอทั้งสิ้น 183 โครงการ ทั้งนี้ โครงการที่ผ่านการพิจารณาเป็นโครงการทดสอบนวัตกรรม 3 อันดับแรก ประกอบด้วย

  • โครงการทดสอบเกี่ยวกับการกักเก็บประจุไฟฟ้า (Battery Storage) จำนวน 9 โครงการ เพื่อมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าในประเทศ
  • โครงการทดสอบเกี่ยวกับการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันโดยไม่ผ่านระบบจำหน่าย (Peer to Peer Energy Trading & Bilateral Energy Trading) จำนวน 8 โครงการ
  • โครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กไม่ผ่านระบบจำหน่าย (Microgrid) จำนวน 6 โครงการ

อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนต่อไปโครงการที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับสำนักงาน กกพ. จนได้ข้อสรุปจึงจะมีการลงนามในหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการระหว่างกันและคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทั้ง 34 โครงการ ภายในสิ้นปี 2562

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา สำนักงาน กกพ. ได้ลงนาม MOU ร่วมกับ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ความร่วมมือกับสถานทูตอังกฤษ (British Embassy) ในโครงการการพัฒนา การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนระหว่างเอกชนกับเอกชน (Peer-to-Peer, P2P) ในประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือภายใต้โครงการพลังงานคาร์บอนต่ำในระดับอาเซียน (ASEAN LCEP, ASEAN Low Carbon Energy Programme) ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับตลาดสำหรับซื้อขายพลังงานทดแทนในระดับ P2P ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และแนวทางการดำเนินงานในต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลไกการกำกับดูแลการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P สำหรับประเทศไทยต่อไป

ที่มา:

รายละเอียดการดำเนินงาน

สำนักงาน กกพ. เปิดเผยว่า ได้เห็นชอบให้ทดลองใช้อัตราค่าไฟสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของหรือลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรืออีวี ชาร์จเจอร์ สเตชั่น ระหว่างปี 2563-2564 ที่อัตรา 2.63 บาทต่อหน่วย เพื่อเอื้อให้ผู้ประกอบการไปคิดค่าบริการชาร์จไฟกับผู้ใช้รถ EV ให้ถูกลง กระตุ้นการติดตั้งสถานีปั๊มชาร์จไฟฟ้า

ที่มา: