คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน

/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน
คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน 2024-10-03T04:50:54+07:00

คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด โดยกำกับการดำเนินงาน  และกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดของประเทศไทย รวมถึงการประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ซึ่งจะดำเนินการผ่านคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานต่าง ๆ ที่แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผน พร้อมทั้งรายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เป็นระยะ ๆ ซึ่งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดที่ สนพ. รับผิดชอบ ดังนี้

    1. คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)
    2. คณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า
    3. คณะอนุกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า
    4. คณะทำงานพิจารณาผลการดำเนินงานตัวชี้วัดร่วม 3 การไฟฟ้า

อนุสนธิ การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ครั้งที่ 3/2562 (ครั้งที่ 10) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกคณะอนุกรรมการภายใต้ กบง. จำนวน 29 คณะ ที่ กบง.ได้แต่งตั้งขึ้นก่อนวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 1/2557 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 และให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ กบง. จำนวน 8 คณะ โดยให้มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่สอดคล้องกับคณะอนุกรรมการภายใต้ กบง. ที่แต่งตั้งตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 55/2557 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2557 นั้น

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 (8) ของคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  • องค์ประกอบ
    1) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ประธานคณะทำงาน
    2) รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รองประธานคณะทำงาน
    3) ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อนุกรรมการ
    4) ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อนุกรรมการ
    5) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อนุกรรมการ
    6) ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
    7) ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง อนุกรรมการ
    8) ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อนุกรรมการ
    9) ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อนุกรรมการ
    10) ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม อนุกรรมการ
    11) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
    12) นายเทียนไชย จงพีร์เพียง อนุกรรมการ
    13) นายกุลยศ อุดมวงศ์เสรี อนุกรรมการ
    14) นายนพพร ลีปรีชานนท์ อนุกรรมการ
    15) ผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า อนุกรรมการและเลขานุการ
    16) หัวหน้ากลุ่มจัดหาพลังงานไฟฟ้า อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • อำนาจหน้าที่
    • 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย
    • 2) จัดทำร่างแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน
    • 3) เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
    • 4) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือประธานกรรมการ บริหารนโยบายพลังงานมอบหมาย
    • 5) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบหรือพิจารณาเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม

ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 153) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 153) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ดังนี้

  • องค์ประกอบ
    1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานคณะทำงาน
    2) ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
    3) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
    4) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
    5) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
    6) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการ
    7) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กรรมการ
    8) ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรรมการ
    9) ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กรรมการ
    10) ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรรมการ
    11) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
    12) ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • หน้าที่และอำนาจ
    • 1) จัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ระยะ 5 ปี ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย และนโยบายด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้า รวมถึงนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าอื่น ๆ ของประเทศ เพื่อบูรณาการแผนการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เป็นการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และไม่เป็นภาระต้นทุนส่วนเกินต่อประชาชน
    • 2) พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับ พื้นที่เกาะ และพื้นที่ห่างไกล ให้เป็นไปอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ
    • 3) พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าให้มีความทันสมัย รองรับเทคโนโลยีในอนาคต รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายระบบไฟฟ้าให้เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้สามารถรองรับการขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคต
    • 4) เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจง รวมทั้งให้ข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
    • 5) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือประธานกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย
    • 6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ตามความจำเป็น

ในคราวประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (6) ของคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 1/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังนี้

  • องค์ประกอบ
    1) ปลัดกระทรวงพลังงาน ประธานอนุกรรมการ
    2) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    หรือรองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    ที่ได้รับมอบหมาย
    รองประธานอนุกรรมการ
    3) ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน อนุกรรมการ
    4) ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อนุกรรมการ
    5) ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อนุกรรมการ
    6) ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย อนุกรรมการ
    7) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ อนุกรรมการ
    8) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อนุกรรมการ
    9) ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
    10) ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง อนุกรรมการ
    11) ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อนุกรรมการ
    12) ผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า
    สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
    อนุกรรมการและเลขานุการ
    13) ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • อำนาจหน้าที่
    • 1) จัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ระยะ 5 ปี ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง (แผนบูรณาการฯ) รวมถึงกลั่นกรองรายละเอียดโครงการที่ลงทุนภายใต้แผนบูรณาการฯ สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย และนโยบายด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้ารวมถึงนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าอื่น ๆ ของประเทศ เพื่อบูรณาการแผนการลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เป็นการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และไม่เป็นภาระต้นทุนส่วนเกินต่อประชาชน นำเสนอคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าพิจารณาให้ความเห็นชอบ
    • 2) พิจารณาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศให้มีความทันสมัยสามารถรองรับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคต รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้สามารถรองรับการขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคต
    • 3) ติดตามและรายงานผลการดำเนินการตามแผนบูรณาการฯ ต่อคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า
    • 4) เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจง รวมทั้งให้ข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
    • 5) มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
    • 6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า หรือประธานคณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้ามอบหมาย

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายด้านพลังงานของประเทศ จึงได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจให้กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินการตามนโยบายกระทรวงพลังงานของรัฐวิสาหกิจกลุ่มพลังงาน (ไฟฟ้า) ซึ่งประสงค์ให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งดำเนินการ นั้น

เพื่อให้ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดเป็นไปอย่างรอบคอบ ถูกต้องครบถ้วนตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศ จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาผลการดำเนินงานตัวชี้วัดร่วม 3 การไฟฟ้า โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  • องค์ประกอบ
    1) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ประธานอนุกรรมการ
    2) รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รองประธานอนุกรรมการ
    3) ผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า คณะทำงาน
    4) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    หรือผู้แทน
    คณะทำงาน
    5) ผู้อำนวยการกองนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน หรือผู้แทน คณะทำงาน
    6) หัวหน้ากลุ่มราคาไฟฟ้าและคุณภาพบริการ คณะทำงาน
    7) หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมกิจการไฟฟ้า คณะทำงาน
    8) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน คณะทำงาน
    9) ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะทำงาน
    10) ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง คณะทำงาน
    11) ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะทำงาน
    12) นายสุรชัย ชัยทัศนีย์ คณะทำงาน
    13) นายกุลยศ อุดมวงศ์เสรี คณะทำงาน
    14) นายสมพร สิริสำราญนุกูล คณะทำงาน
    15) นายศุภกิจ พฤกษอรุณ คณะทำงาน
    16) ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน คณะทำงานและเลขานุการ
    17) ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยเลขานุการ
    18) ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง ผู้ช่วยเลขานุการ
    19) ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ช่วยเลขานุการ
  • อำนาจหน้าที่
    • 1) ติดตามและพิจารณาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดร่วม 3 การไฟฟ้า โดยให้ผลการดำเนินการสอดคล้องตามนโยบายกระทรวงพลังงาน
    • 2) ประสานงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานข้อเท็จจริง หรือปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และดำเนินการตามที่ประชุมได้มอบหมาย
    • 3)มีอำนาจเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมประชุม และขอข้อมูลตามวาระที่เกี่ยวข้อง
    • 4) ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย