จำนวนเเละตำเเหน่งสถานีอัดประจุในประเทศไทย

//จำนวนเเละตำเเหน่งสถานีอัดประจุในประเทศไทย

จำนวนเเละตำเเหน่งสถานีอัดประจุในประเทศไทย

By | 2022-02-08T14:45:15+07:00 กุมภาพันธ์ 8th, 2022|อินโฟกราฟิก|

สำหรับตำแหน่งของสถานีอัดประจุนั้น จะเป็นข้อมูลที่แบ่งตามผู้ให้บริการและแหล่งที่มาของข้อมูล ทั้งนี้จำนวนดังกล่าวเป็นเพียงจำนวนที่ถูกระบุไว้โดยผู้ให้บริการเท่านั้น และข้อมูลที่แสดงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม หากมีข้อมูลหรือการติดตั้งใหม่เพิ่มเข้ามา โดยรายละเอียดของจำนวนเเละตำเเหน่งสถานีอัดประจุในประเทศไทย มีดังนี้

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟผ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 20 สถานี[1]
  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟน. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 11 สถานี[2]
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 32 สถานี[3]
  • บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด
    417 สถานี4
  • บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จํากัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 42 สถานี5 โดย BMW ได้ทำโครงการ ChargeNow ซึ่งเป็นเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะที่สามารถชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าได้ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ที่ใช้หัวชาร์จ AC ทั้งแบบ Type I และ Type II
  • บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 89 สถานี6
  • บริษัท อรุณ พลัส จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 3 สถานี7
  • บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 119 สถานี8 โดยการใช้งานสถานีอัดประจุของ MG นั้น จะต้องมีการใช้งานผ่าน
    แอปพลิเคชัน i-SMART หรือ บัตร MG Super Charge สมาร์ทการ์ดเท่านั้น
  • บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จํากัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด
    14 สถานี9
  • บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด
    8 สถานี10
  • บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 4 สถานี11
  • สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี12

เมื่อแยกเป็นรายภาคแล้ว พบว่า จำนวนสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมีทั้งหมด 827 สถานี โดยอยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี รวม 376 สถานี ภาคกลาง 152 สถานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 89 สถานี ภาคเหนือ 106 สถานี และภาคใต้ 104 สถานี13

1 ที่มา: elexaev.com ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564

2 ที่มา: การไฟฟ้านครหลวง ข้อมูล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2564

3 , 4 , 5 , 9 , 11 , 12 ที่มา: สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ข้อมูล ณ วันที่ 22 กันยายน 2564

6 ที่มา: evstation.pttor.com ข้อมูล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564

7 ที่มา: https://www.pttplc.com/th/Media/News/Content-26919.aspx ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564

8ที่มา: https://www.mgcars.com/th/innovation/ev/charging-station ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2564

10 ที่มา: https://www.pumpcharge.com/ ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564

13 ที่มา: https://evme.io/ ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2565