เสาหลักที่ 1: การตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน
การตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงานภายใต้เสาหลักที่ 1 จะดำเนินการต่อเนื่องจากแผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้น เนื่องจากการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response: DR) เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำและเป็นทางเลือกลำดับแรก ๆ ในการเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานรูปแบบใหม่ในอนาคตได้มากขึ้น อีกทั้งจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จำเป็นต่อการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) นอกจากนี้ ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารจัดการพลังงานในบ้านเรือน (Home Energy Management System: HEMS) ในอาคารพาณิชย์ (Building Energy Management System: BEMS) และในโรงงานอุตสาหกรรม (Factory Energy Management System: FEMS) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินการ Demand Response ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและเพิ่มความเชื่อถือได้มากขึ้น เพื่อมุ่งไปสู่การตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติต่อไป
ภาพรวมทิศทางการพัฒนา DR ในประเทศไทย
ทั้งนี้ ภาพรวมทิศทางการพัฒนาการตอบสนองด้านโหลด (DR) ของประเทศไทยในอนาคต จะมีโครงสร้างการสั่งการ DR แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ประกอบด้วย (1) ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (National Control Center: NCC) ซึ่งมีหน้าที่วางแผนและสั่งการการผลิตไฟฟ้ารวมถึงการดำเนินการด้าน DR ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์ในระบบไฟฟ้า (Grid Service) ครอบคลุมทุกประเภทที่จะช่วยบริหารจัดการให้เกิดสมดุลระหว่างความต้องการไฟฟ้า (Demand Side) และกำลังการผลิตไฟฟ้า (Supply Side) (2) ศูนย์สั่งการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) ซึ่งมีหน้าที่รับคำสั่งการดำเนิน DR จาก NCC โดยตรง ก่อนจะนำคำสั่งดังกล่าวมาบริหารจัดการและสั่งการต่อไปยังผู้รวบรวมโหลด (3) ผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator: LA) ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมความสามารถของการตอบสนองด้านโหลดจากผู้ใช้ไฟฟ้าให้ได้ครบปริมาณและส่งมอบตามคำสั่งจากศูนย์ DRCC และ (4) ผู้เข้าร่วมการตอบสนองด้านโหลด (DR Participants) ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโปรแกรม DR ทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าในกลุ่มภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม (Commercial & Industrial) รวมถึงบ้านอยู่อาศัย (Residential) โดยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่เกิดการร้องขอจาก LA
สำหรับทิศทางการพัฒนาธุรกิจ DR นั้น จะต้องพัฒนาให้ DR สามารถใช้งานเป็นผลิตภัณฑ์ในระบบไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าได้หลากหลาย ทั้งในส่วนกำลังผลิตไฟฟ้า (Capacity) และพลังงานไฟฟ้า (Energy) สำหรับการดำเนินการในช่วงแผนระยะปานกลาง และในส่วนของด้านข้อจำกัดของระบบส่งและระบบจำหน่าย (T&D Constraint) ด้านการเสริมความสมดุลระบบ (Balancing) ด้านการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Contingency Event Management) และบริการเสริมความมั่งคง (Ancillary Service) ต่าง ๆ สำหรับแผนระยะยาวต่อไป ซึ่งมีความต้องการ DR ที่มีการตอบสนองรวดเร็ว (Fast Response DR) มีความพึ่งพาได้สูง และเป็นการดำเนินการ DR ไปสู่แบบอัตโนมัติ (Auto DR) ทั้งนี้ การพัฒนาที่เหมาะสมจะสามารถมีความพึ่งพาได้เทียบเคียงได้กับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และทรัพยากรระบบไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ทิศทางในส่วนของธุรกิจหรือผู้เล่นใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะต้องพัฒนา DR ให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท (DR Resource) ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม (Industrial) ภาคธุรกิจ (Commercial) และบ้านอยู่อาศัย (Residential) รวมถึงผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator) ในภาคเอกชนต่อไป
ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน (DR & EMS) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เกิดการสั่งการและใช้งานการตอบสนองด้านโหลด (DR) แบบอัตโนมัติ (Auto DR) และแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto DR) ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท สามารถทดแทนผลิตภัณฑ์ในระบบไฟฟ้าได้หลากหลายในเชิงพาณิชย์และครอบคลุมทุกรูปแบบการให้บริการ (Grid Service) โดยจะกำหนดเป้าหมายการตอบสนองด้านโหลด (DR) ลงในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP)”
ตารางเป้าหมายสำคัญ (Key Milestone) ในการดำเนินงานแต่ละระยะ ของเสาหลักที่ 1
กรอบแผน | ระยะ 1 – 2 ปี | ระยะ 3 – 5 ปี | ระยะ 6 – 10 ปี | ระยะมากกว่า 10 ปี |
---|---|---|---|---|
เป้าหมายสำคัญ (Key Milestone) |
|
|
|
|
การใช้งานจริง |
|
|
|
|
แหล่งศักยภาพ DR (DR Resource) |
|
|
|
|
รูปแบบตลาด DR |
|
|
|
|
รูปแบบธุรกิจ DR |
|
|
|
|
แผนการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 1
แผนการดำเนินงานของเสาหลักที่ 1 จะเน้นการเตรียมความพร้อมในด้านนโยบาย ด้านกฎระเบียบ ด้านเทคนิค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน เพื่อรองรับการสั่งการและใช้งานการตอบสนองด้านโหลด (DR) ได้แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto DR) และขยายผลไปสู่แบบอัตโนมัติ (Auto DR) ให้ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท สามารถทดแทนผลิตภัณฑ์ในระบบไฟฟ้าได้หลากหลายในเชิงพาณิชย์และครอบคลุมทุกรูปแบบการให้บริการ (Grid Service) รวมถึงการสนับสนุนการเข้ามามีส่วนของของภาคเอกชนและผู้ใช้ไฟฟ้าในการตอบสนองด้านโหลดเชิงพาณิชย์ได้
ภาพสรุปกิจกรรมหลักภายใต้เสาหลักที่ 1
ตารางสรุปรายละเอียดกิจกรรม/โครงการภายใต้เสาหลักที่ 1
ผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 1
เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน (DR & EMS) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เกิดการสั่งการและใช้งานการตอบสนองด้านโหลด (DR) แบบอัตโนมัติ (Auto DR) และแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto DR) ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท สามารถทดแทนผลิตภัณฑ์ในระบบไฟฟ้าได้หลากหลายในเชิงพาณิชย์และครอบคลุมทุกรูปแบบการให้บริการ (Grid Service) โดยจะกำหนดเป้าหมายการตอบสนองด้านโหลด (DR) ลงในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP)” โดยมีผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 1 สรุปได้ดังนี้