เสาหลักที่ 4: ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS)
ระบบกักเก็บพลังงานภายใต้เสาหลักที่ 4 จะดำเนินการต่อเนื่องจากแผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้น โดยเพิ่มเสาหลักขึ้นใหม่ ซึ่งแยกระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ออกจากเสาหลักเดียวกับระบบไมโครกริด (Microgrid) เนื่องจากระบบกับเก็บพลังงาน เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญมากในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Key Technology) ในการแก้ปัญหาในระบบโครงข่ายไฟฟ้า เช่น การปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าในกรณีมีแหล่งพลังงานหมุนเวียน (Variable Renewable Energy: VRE) เข้ามาในระบบโครงข่ายมากขึ้น การรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า การทำหน้าที่เป็นระบบไฟฟ้าสำรอง การปรับลด/ปรับช่วงเวลาการเกิดไฟฟ้าสูงสุด การบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า (Behind The Meter: BTM) การสนับสนุนระบบไมโครกริดและระบบไม่เชื่อมต่อกับโครงข่าย (Off-Grid) การซื้อขายไฟฟ้า (Energy Arbitrage) การเชื่อมต่อกับยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ในรูปแบบ Vehicle to Grid (V2G), Grid to Vehicle (G2V) รวมถึงการให้บริการระบบกักเก็บพลังงาน (ESS as a service) นอกจากนี้ ระบบกักเก็บพลังงานนั้น จะมีสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานที่จะผลักดันให้ “ประเทศมีทิศทางการส่งเสริมการลงทุนและมีการนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้พัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม”
การพิจารณาระดับระยะเวลาการใช้งานเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในโครงข่ายไฟฟ้า เนื่องจากมีผลต่อการรักษาเสถียรภาพ ความมั่นคง และความยืดหยุ่นสูง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเลือกเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานที่เหมาะสมต่อการบริการต่าง ๆ ตามระดับระยะเวลาการนำไปใช้งานตั้งแต่ทันทีทันใดไปจนถึงเป็นวัน สัปดาห์ หรือเป็นเดือน โดยบางเทคโนโลยีสามารถทำงานในระดับระยะเวลาที่หลากหลายได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการของระบบกักเก็บพลังงานที่มีการนำไปใช้งานในระบบโครงข่ายไฟฟ้าจะมีบริการหลักอยู่ 5 บริการในระบบโครงข่ายไฟฟ้า ได้แก่
- การบริการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Bulk Energy Service)
- การบริการเสริมความมั่นคงของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Ancillary Service)
- การบริการด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Support หรือ T&D Service)
- การใช้งานร่วมกับพลังงานทดแทน (Renewable Energy Integration)
- การบริการจัดการพลังงานด้านผู้ใช้ไฟฟ้า (Consumers Energy Management Service)
ภาพการให้บริการระบบกักเก็บพลังงานในโครงข่ายไฟฟ้าที่มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน
โดยเห็นได้ว่า ทั้ง 5 บริการ มีการใช้งานระบบกักเก็บพลังงานที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าการใช้งานที่สูงที่สุด (Value Stacking) เช่น การใช้ระบบกักเก็บพลังงานในระดับสายส่ง (Transmission Level) เพื่อเพิ่มการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้มากขึ้นในโครงข่ายไฟฟ้า เกิดบริการเสริมความมั่นคงของระบบโครงข่ายไฟฟ้าตามเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานที่นำมาใช้ หรือในกรณีมีการเชื่อมต่อกับระดับจำหน่าย (Distribution Level) ระบบกักเก็บพลังงานสามารถให้บริการที่หลากหลายการใช้งานซึ่งมีผลให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีคุณภาพกำลังไฟฟ้า (Power Quality) และความเชื่อถือได้ (Reliability) ที่สถานีย่อยไฟฟ้า (Local Substation) ช่วยลดการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับระบบจำหน่าย และการเพิ่มสัดส่วนการใช้งานร่วมกันของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources: DER)
ภาพรวมทิศทางการพัฒนา ESS ในประเทศไทย
การใช้งานของระบบกักเก็บพลังงานเพื่อสนับสนุนการรักษาเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้ารองรับการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหรือการเพิ่มขึ้นของความต้องการไฟฟ้าจากยานยนต์ไฟฟ้า จึงทำให้ระบบกักเก็บพลังงานเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งระดับการไฟฟ้า (Utility Scale) ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ Operating Reserves หรือ Peaking Capacity ที่จะสามารถรองรับสัดส่วน VRE ที่เพิ่มขึ้นจนถึงระดับ 25% อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสของรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ในลักษณะ ESS Aggregator อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ดี ในระยะยาวภาครัฐควรจะมุ่งเน้นการพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดการใช้งานในรูปแบบ Energy Time Shift เพื่อรองรับสัดส่วน VRE ที่เพิ่มขึ้นจนถึงระดับ 50% ควบคู่ไปกับยกระดับความสามารถในการรองรับการเติบโตของโปรซูเมอร์และยานยนต์ไฟฟ้าปริมาณมากในอนาคต ทั้งนี้ ในภาพรวมเมื่อต้นทุนของระบบกักเก็บพลังงานมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จนสามารถติดตั้งในระดับหลังมิเตอร์ (Behind the Meter: BTM) ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานในระดับดังกล่าวก็จะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมหรือจัดหารูปแบบการบริการในระบบไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “การใช้งานในทุกรูปแบบการบริการของระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทย รวมถึงมาตรการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ (New Business) ของระบบกักเก็บพลังงาน (ESS)”
ตารางเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานแต่ละระยะ (Milestone) ของเสาหลักที่ 4
กรอบแผน | ระยะ 1 – 2 ปี | ระยะ 3 – 5 ปี | ระยะ 6 – 10 ปี | ระยะมากกว่า 10 ปี |
---|---|---|---|---|
เป้าหมายสำคัญ (Key Milestone) |
|
|
|
|
ใช้งานจริง |
|
|
|
|
รูปแบบตลาด |
|
|
|
|
กลุ่มเป้าหมาย |
|
|
|
|
รูปแบบธุรกิจ DR |
|
|
|
|
แผนการดำเนินงานเสาหลักที่ 4
แผนการดำเนินงานของเสาหลักที่ 4 จะเน้นการเตรียมความพร้อมในด้านนโยบาย ด้านกฎระเบียบด้านเทคนิค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ในทุกรูปแบบการบริการ (Service) ที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทย รวมถึงมาตรการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ (New Business) ของระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นและความมั่นคงในโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ
ภาพสรุปกิจกรรมหลักภายใต้เสาหลักที่ 4
ตารางสรุปรายละเอียดกิจกรรม/โครงการภายใต้เสาหลักที่ 4
.