เสาหลักที่ 5: การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration)

/เสาหลักที่ 5: การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration)
เสาหลักที่ 5: การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) 2024-10-09T14:28:26+07:00

เสาหลักที่ 5: การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration)

การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้เสาหลักที่ 5 จะเป็นเสาหลักใหม่ที่เพิ่มขึ้นในแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะมีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต จากการกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า EV30@30 ที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้กำหนดไว้ ดังนั้น การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า จึงมีความสำคัญในการบริหารจัดการยานยนต์ไฟฟ้าเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะสามารถชะลอการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย ทั้งการเพิ่มความยืดหยุ่นในระบบไฟฟ้าทั้งในระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานแบบกระจายตัวจำนวนมากที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า หากมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม รวมถึงการเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับพลังงานทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้านั้น จะมีสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานที่จะส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า “ประเทศไทยมีทิศทางและแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถวางแผนด้านพลังงานเพื่อรองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ภาพรวมทิศทางการพัฒนา EV Integration ในประเทศไทย

การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) เป็นแนวทางสำคัญในการช่วยบรรเทาผลกระทบของระบบไฟฟ้าจากการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าปริมาณมากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งหากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยานยนต์ไฟฟ้าจะสามารถเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่สามารถให้บริการกับระบบไฟฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เนื่องจากยานยนต์ไฟฟ้าเปรียบเสมือนแหล่งกักเก็บพลังงานที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่นั่นเอง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม ปัจจัยที่สำคัญในมิติต่าง ๆ ย่อมต้องถูกนำมาพิจารณาเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน อีกทั้งทางการไฟฟ้าควรจะต้องเดินหน้าพัฒนาศูนย์ข้อมูลยานยนต์ไฟฟ้า (EV Data Center) เพื่อทำหน้าที่ดูแลจัดการข้อมูลที่ได้รับจากการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นข้อมูลจากมิเตอร์อัจฉริยะ ข้อมูลจากเครื่องอัดประจุไฟฟ้า หรือแม้แต่ข้อมูลจากยานยนต์ไฟฟ้าเองก็ตาม เพื่อให้สามารถวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการการใช้พลังงานโดยยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งนี้ โครงสร้างพื้นฐานทั้งโครงข่ายไฟฟ้าและการสื่อสารจะต้องถูกปรับปรุงให้มีความทันสมัย เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีการบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยยกระดับการให้บริการ และส่งมอบความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้ายังจำเป็นต้องพึ่งพาเครือข่ายยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่และผู้รวบรวมโหลดยานยนต์ไฟฟ้า (EV Aggregator:  EVLA) ซึ่งจะมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าเฉพาะพื้นที่ ควบคู่ไปกับการจัดหาการตอบสนองด้านโหลดมาให้บริการภายในระบบโครงข่ายไฟฟ้า ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นนั้นการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้ง 2 แห่ง จะทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมโหลดยานยนต์ไฟฟ้าระดับที่ 1 (EVLA Level 1) เพื่อดูแลภาพรวมและเข้าถึงการใช้งานอุปกรณ์อัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EVSE) ให้ได้มากที่สุด โดยจะเปิดให้เอกชนสามารถเป็นผู้รวบรวมโหลดยานยนต์ไฟฟ้าระดับที่ 2 (EVLA Level 2) เพื่อจัดการการอัดประจุในระดับที่ย่อย ๆ ก่อนที่ในอนาคตจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานเอกชนอาจถูกยกระดับให้ขึ้นมาเป็นระดับที่ 1 ได้ หากมีศักยภาพเพียงพอผู้รวบรวมโหลดยานยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาช่วยดูแลการบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบของการอัดประจุอัจฉริยะ (Smart Charge) และการจ่ายพลังงานสู่โครงข่ายด้วยเทคโนโลยียานยนต์สู่โครงข่าย (V2G) เพื่อตอบสนองทั้งความต้องการในลักษณะของความต้องการพลังงานไฟฟ้า (Demand) และความต้องการพลังไฟฟ้า (Capacity) เพื่อให้เกิดการให้บริการในทุกรูปแบบที่เป็นไปได้ (EV-as-a-Service) เช่น การให้บริการเสริมความมั่นคง (Ancillary Service) เป็นต้น ในส่วนของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นทรัพยากรหลักก็จะเริ่มต้นจากการเข้าถึงผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระดับครัวเรือนที่เป็นยานยนต์ขนาดเล็ก เช่น รถยนต์สี่ล้อ ซึ่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่จะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วงแรก ขยายผลเข้าสู่เครือข่ายยานยนต์ไฟฟ้า (Fleet) ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าที่มีเป้าหมายทางธุรกิจเดียวกัน และจะต้องรองรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ เช่น รถบัส รถบรรทุก เมื่อมีการใช้งานจริงในอนาคต ทำให้ก่อให้เกิดการบูรณาการแหล่งทรัพยากรแบบกระจายได้แบบยั่งยืน

ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการการบูรณาการณ์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าแบบ V1G และ V2X ครอบคลุมผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทตามแผนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย

ตารางเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานแต่ละระยะ (Milestone) ของเสาหลักที่ 5

กรอบแผน ระยะ 1 – 2 ปี ระยะ 3 – 5 ปี ระยะ 6 – 10 ปี ระยะมากกว่า 10 ปี
เป้าหมายสำคัญ (Key Milestone)
  • การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
  • การเตรียมความพร้อมในการรองรับการเพิ่มขึ้นของยานยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมทั่วประเทศ
  • การมีส่วนร่วมของยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กับโครงข่ายไฟฟ้าและธุรกิจพลังงาน
  • ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้า
  • การประยุกต์ใช้ ICT ร่วมกับ Smart Charge และการใช้งาน V2G
  • ความพร้อมในการนำ EV มาใช้ในระบบไฟฟ้าในทุกรูปแบบ Service ที่เป็นไปได้
โครงการ
  • การใช้งาน EV Data Center
  • การติดตั้ง AMI ครอบคลุมการใช้งานเครื่องอัดประจุในพื้นที่นำร่อง
  • เทคโนโลยี V1G/ Smart Charge (กำลังอัดประจุพร้อมกัน 10 MW)
  • การติดตั้ง AMI ครอบคลุมผู้ใช้เครื่องอัดประจุ
  • เทคโนโลยี V1G/Smart Charge (กำลังอัดประจุพร้อมกัน 50 MW)
  • นำร่อง V2G (กำลังป้อน กลับพร้อมกัน 10 MW)
  • เทคโนโลยี V1G/Smart Charge และ V2G/V2X (สามารถรองรับได้ทั้งหมด)
รูปแบบตลาด
  • การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้งาน
  • Energy & Capacity
  • Energy & Capacity
  • นำร่อง Ancillary Service
  • ครอบคลุมทุกรูปแบบการให้บริการ
EV Resource
  • ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า
  • นำร่องการรวบรวมยานยนต์ไฟฟ้า (EV Load Aggregator)
  • เครือข่ายยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ขยายสู่ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทอื่น เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร
  • ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า/บริษัทขนส่งทุกรายสามารถเข้าร่วมได้
รูปแบบธุรกิจ
  • EVLA: การไฟฟ้า
  • EVLA Level 1: การไฟฟ้า
  • EVLA Level 2: ภาคเอกชน
  • EVLA Level 1: การไฟฟ้า
  • EVLA Level 2: ภาคเอกชน
  • EVLA Level 1: การไฟฟ้า
  • EVLA Level 2: ภาคเอกชน

แผนการดำเนินงานเสาหลักที่ 5

แผนการดำเนินงานของเสาหลักที่ 5 จะเน้นการเตรียมความพร้อมในด้านนโยบาย ด้านกฎระเบียบด้านเทคนิค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อและบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าแบบ V1G และ V2X ให้สามารถครอบคลุมผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทตามแผนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย

ภาพสรุปกิจกรรมหลักภายใต้เสาหลักที่ 5

ตารางสรุปรายละเอียดกิจกรรม/โครงการภายใต้เสาหลักที่ 5

ผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 5

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการการบูรณาการณ์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าแบบ V1G และ V2X ครอบคลุมผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทตามแผนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย” โดยมีผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 5 สรุปได้ดังนี้

หน่วยงาน
สถานะโครงการ
ประเภทงบประมาณ
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.
สิ้นสุดในปี พ.ศ.
.