เสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน (Microgrid & ESS)

/เสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน (Microgrid & ESS)
เสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน (Microgrid & ESS) 2021-03-26T13:05:03+07:00

เสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน

วัตถุประสงค์ของเสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน คือ การพัฒนาระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงานให้สามารถทำงานร่วมกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ พร้อมนำไปใช้งานร่วมกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยระบบไมโครกริดจะทำหน้าที่เสมือนระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขนาดเล็กซึ่งประกอบด้วยส่วนผลิตไฟฟ้า ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้า ส่วนระบบกักเก็บพลังงาน ส่วนเชื่อมต่อกับภายนอก และส่วนควบคุม ซึ่งทำให้สามารถจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญสูงได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดไฟฟ้าดับ ถึงแม้ว่ากริดภายนอกจะเกิดไฟฟ้าดับก็ตาม โดยขณะที่กริดภายนอกมีปัญหาระบบไมโครกริดจะทำการแยกโดดออกมาจนกว่ากริดภายนอกจะกลับมาปกติไมโครกริดจะทำการกลับมาเชื่อมต่ออีกครั้ง นอกจากนั้นยังมีการสื่อสารกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบไมโครกริด ซึ่งทำให้ระบบไมโครกริดสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ อีกทั้งยังสามารถสนับสนุนกริดภายนอกโดยทำการจ่ายและรับกำลังไฟฟ้าจริงหรือเสมือน (PQ) เพื่อทำการสนับสนุนกริดภายนอกให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพยิ่งขึ้น

แผนเสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน

การพัฒนานำร่อง ปัจจุบันได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ อ.เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (ระบบไมโครกริด) ที่ อ. แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สำหรับในส่วนของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ก็ได้มีการดำเนินโครงการออกแบบเมืองอัจฉริยะ และการกำหนดนโยบาย SPP Hybrid

การเตรียมการใช้งาน สนพ. ศึกษารูปแบบทางธุรกิจของระบบไมโครกริด โดยเฉพาะความเป็นไปได้ในการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ควบคู่กับการศึกษาประเด็นความสามารถในการทำงานร่วมกันได้ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

การวิจัยและพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ปัจจุบัน สนพ. ได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับ สวทช.

โครงการนำร่องสมาร์ทกริด ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ จะมีการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดขึ้นใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย ไมโครกริดในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โครงการระบบไมโครกริดในพื้นที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และโครงการนำร่องระบบไมโครกริดในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกอบด้วยโครงการไมโครกริดของ กฟภ. ณ อ.แม่สะเรียง ซึ่งภายใต้แผนการขับเคลื่อนจะมีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานน้ำแบบสูบกลับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการไฟฟ้าในระบบ และโครงการนำร่องระบบสมาร์ทกริดของ กฟผ. ณ อ.เมือง นอกจากนี้ ปัจจุบัน ปตท. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สัมพันธ์กับระบบคมนาคมทางราง พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มีระบบไมโครกริดเป็นส่วนประกอบใน 8 พื้นที่ ดังนั้น จึงเป็นที่คาดการณ์ว่า ณ ปี พ.ศ. 2564 จะเกิดระบบไมโครกริดขึ้นในประเทศไทยทั้งจากโครงการที่อยู่ภายใต้แผนการขับเคลื่อนและอยู่นอกแผนการขับเคลื่อนประมาณ 3 – 5 โครงการ

รูปสรุปแผนการขับเคลื่อนในเสาหลักที่ 3

นอกจากนี้ ในปัจจุบันได้มีแผนที่นำทางยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเสาหลักที่ 3 โดยได้มีการแบ่งแผนดังกล่าวออกเป็น 3 ระยะ ดังแสดงในรูปสรุปแผนการขับเคลื่อนในเสาหลักที่ 3

ตารางสรุปกิจกรรมภายใต้เสาหลักที่ 3 ของแผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้น พร้อมหน่วยงานหลัก กรอบงบประมาณและกรอบเวลาการดำเนินการ

อ้างอิง โครงการ/กิจกรรม – เสาหลักที่ 3 หน่วยงานหลัก งบประมาณ
(ล้านบาท)
กรอบเวลา
2560 2561 2562 2563 2564
EPPO-05 การพัฒนารูปแบบธุรกิจระบบไมโครกริด พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนภาครัฐ/ภาคเอกชน สนพ. 15 15
PEA-02 โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (ระบบไมโครกริด) ที่ อ.เบตง จ.ยะลา กฟภ. 358 158 120 80
PEA-03 การติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน ส่วนต่อยอดโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (ระบบไมโครกริด) ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กฟภ. 163 50 63 50
MEA-03 โครงการนำร่องระบบไมโครกริดของ กฟน. กฟน. 110 50 30 30
รวม   646 15 158 220 173 80

ดาวน์โหลดแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ในระยะสั้น (พ.ศ. 2560 – 2564 ) (ฉบับเต็ม) ที่นี่

ผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 3

ภายใต้เสาหลักที่ 3 ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะสั้น มีเป้าหมายหลัก คือ เกิดการใช้งานระบบไมโครกริด ขึ้นจำนวน 3-5 โครงการ ภายในปี พ.ศ. 2564 เช่น พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เมืองอัจฉริยะ (Smart City) และพื้นที่ห่างไกล โดยจะช่วยด้านความน่าเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า (Reliability) ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทฯ พบว่าผลตอบแทนเชิงเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนระบบไมโครกริดมีมากกว่า 10%

ทั้งนี้ จากแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะสั้น ที่ได้ระบุรายละเอียดกิจกรรม หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรอบงบประมาณ และกรอบเวลาสำหรับการดำเนินการของเสาหลักที่ 3 นั้น ที่ปรึกษาจะทำการรวบรวมรายละเอียดความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมดังกล่าว รวมถึงกิจกรรมหรือโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของหน่วยงานหลัก โดยทางที่ปรึกษาจะมีการระบุรหัสโครงการเพิ่มเติม (ถ้ามี) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การดำเนินงานในปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้

ตารางสรุปกิจกรรมภายใต้เสาหลักที่ 3

รหัสอ้างอิง โครงการ/กิจกรรม หน่วยงานหลัก กรอบเวลา
(พ.ศ.)
EPPO-05 การพัฒนารูปแบบธุรกิจระบบไมโครกริด พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนภาครัฐ/ภาคเอกชน สนพ. 2561-2562
EGAT-04 โครงการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานในระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. กฟผ. 2561-2564
EGAT-05 โครงการพัฒนาโครงการนำร่องสมาร์ทกริด ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กฟผ. 2563-2565
MEA-03 ศึกษาระบบไมโครกริดสำหรับพื้นที่ กฟน. กฟน. 2560-2561
โครงการนำร่องระบบไมโครกริดของ กฟน.  2563-2564
PEA-02 แผนงานติดตั้งระบบไมโครกริดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา กฟภ. 2562-2565
PEA-03-1 โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid) ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กฟภ. 2561-2563
PEA-03-2 แผนงานปรับปรุงระบบไมโครกริด ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กฟภ. 2563-2566
PEA-06 แผนงานปรับปรุงระบบไมโครกริดให้สอดคล้องกับโครงการสมาร์ทกริด ที่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน กฟภ. 2564-2566
โครงการวิจัยระบบไมโครกริดขุนแปะ กฟภ. 2560-2561

รูประยะเวลาดำเนินโครงการตามเสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงาน (Microgrid & ESS)