เสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (Microgrid & Prosumer)
ระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์ภายใต้เสาหลักที่ 3 จะดำเนินการต่อเนื่องจากแผนการขับเคลื่อนฯในระยะสั้น เนื่องจากระบบไมโครกริด (Microgrid) มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ จะต้องสามารถรักษาการจ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดวิกฤต (Critical Load) และโหลดที่มีความสำคัญบางส่วนได้ จึงเป็นเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญสูง ช่วยลดต้นทุนในการจัดหาพลังงาน รวมถึงชะลอการขยายระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Congestion & Expansion) และลดความสูญเสีย (Transmission Loss) ในภาพรวมของระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก นอกจากนี้ ระบบไมโครกริดสามารถช่วยสนับสนุนให้แผนการจัดหากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP) บรรลุเป้าหมายในการรองรับกรณีเกิดเหตุวิกฤตด้านพลังงาน ด้านความมั่นคงรายพื้นที่ และสร้างสมดุลระบบไฟฟ้าตามรายภูมิภาคได้
ทั้งนี้ จากการพัฒนาของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัว (Distributed Generation: DG) และแนวโน้มของราคาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ลดลง ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน ให้มีปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวไปเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า “โปรซูเมอร์ (Prosumer)” โดยจะมีการผลิตไฟฟ้าใช้เองในพื้นที่ สามารถช่วยลดความต้องการไฟฟ้าโดยรวมของประเทศได้ ส่งผลให้สามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้า และการขยายระบบส่งและระบบจำหน่ายใหม่ได้ เนื่องจากระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์จัดเป็นเทคโนโลยีในรูปแบบเดียวกัน (Technology Area Landscape) ซึ่งโปรซูเมอร์สามารถเป็นแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources: DER) ในระบบโครงข่ายไมโครกริด และสามารถพัฒนาเป็นไมโครกริดแบบผู้ใช้รายเดียวได้ (Single User Microgrid) ดังนั้น ทั้ง 2 หัวข้อดังกล่าวจึงได้ถูกรวมไว้ในเสาหลักที่ 3 ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง
ภาพรูปแบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์เพื่อส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน
ไมโครกริดและโปรซูเมอร์มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย เช่น ไมโครกริดแบบอัตโนมัติ (Autonomous Full Service: AF) ซึ่งเป็นไมโครกริดในพื้นที่ off-grid หรือพื้นที่ห่างไกล ที่เน้นไปที่การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) และมีการบริหารจัดการแบบอัตโนมัติและครอบคลุมการให้บริการ 24 ชั่วโมง 7 วัน อีกทั้งยังรวมถึงโปรซูเมอร์ (Prosumer) ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตพลังงานที่อยู่กระจัดกระจายในกลุ่มบ้านอยู่อาศัยหรืออาคารต่าง ๆ ส่วนโครงข่ายไมโครกริดชุมชน (Community Microgrid: CM) จะเป็นไมโครกริดในพื้นที่ on-grid ระดับชุมชนที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักมาจากพลังงานหมุนเวียน และรองรับการบริหารจัดการโหลดที่มีความผันผวน (Variable Load) จากยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งจะเกิดขึ้นในชุมชนต่าง ๆ ได้ และไมโครกริดในกลุ่มอุตสาหกรรม (Industrial Microgrid: IM) ซึ่งจะเป็นไมโครกริดในพื้นที่ on-grid ระดับอุตสาหกรรมที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักมาจากพลังงานหมุนเวียน และรองรับโหลดที่ต้องการความเชื่อถือได้สูง (High Reliable Load) ทั้งนี้ จากรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ทำให้ไมโครกริดและโปรซูเมอร์มีผู้ใช้งานตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงกลุ่มอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย อาคารของภาครัฐและเอกชน ซึ่งในภาพรวมผู้ใช้งานในระดับดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงของการผลิตพลังงานในระดับประเทศด้วยเช่นเดียวกัน
ภาพรวมทิศทางการพัฒนา Microgrid & Prosumer ในประเทศไทย
ในภาพรวมทิศทางในการพัฒนาไมโครกริดและโปรซูเมอร์ในระยะแรกจึงควรเป็นการสนับสนุนให้เกิดไมโครกริดในพื้นที่ off-grid/remote area แบบ AF 24/7 ในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ปลายสายควบคู่ไปกับโปรซูเมอร์ที่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าทั้งในกลุ่มที่อยู่อาศัย อาคารของรัฐ และเอกชน ก่อนที่จะขยายผลการสนับสนุนไปยัง Community Microgrid ผ่านทางโครงการนำร่องที่รองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งในกลุ่มมหาวิทยาลัย ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร และห้างสรรพสินค้า จนสามารถเกิดเป็น Industrial Microgrid ในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมในที่สุด
ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (Microgrid & Prosumer) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เกิดการใช้งานพลังงานหมุนเวียนสำหรับไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (RE base Microgrid/Prosumer) เชิงพาณิชย์ที่เป็นการดำเนินการปกติ (Business as Usual) และไมโครกริด (Microgrid) ช่วยในการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าที่มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนสูง (High %RE Penetration)” ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานแต่ละระยะนั้น
ตารางเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานแต่ละระยะ (Milestone) ของเสาหลักที่ 3
กรอบแผน | ระยะ 1 – 2 ปี | ระยะ 3 – 5 ปี | ระยะ 6 – 10 ปี | ระยะมากกว่า 10 ปี |
---|---|---|---|---|
เป้าหมายสำคัญ (Key Milestone) |
|
|
|
|
ใช้งานจริง |
|
|
|
|
รูปแบบตลาด/ธุรกิจ |
|
|
|
|
กลุ่มเป้าหมาย |
|
|
|
|
หมายเหตุ: AF: Autonomous Full service, CM: Community Microgrid, IM: Industry Microgrid
แผนการดำเนินงานเสาหลักที่ 3
แผนการดำเนินงานของเสาหลักที่ 3 จะเน้นการเตรียมความพร้อมในด้านนโยบาย ด้านกฎระเบียบด้านเทคนิค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการรองรับระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์เพื่อให้เกิดการใช้งานพลังงานหมุนเวียนสำหรับไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (RE Base Microgrid/Prosumer) เชิงพาณิชย์ รวมถึงช่วยบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าที่มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนสูง (High %RE Penetration) ได้นอกจากนี้ ยังมีการนำร่อง สาธิต หรือพัฒนาระบบไมโครกริดสำหรับพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่มีโหลดสำคัญ เพื่อเพิ่มความมั่นคงและความยืดหยุ่นให้กับระบบโครงข่ายไฟฟ้าในพื้นที่ได้อีกด้วย
ภาพสรุปกิจกรรมหลักภายใต้เสาหลักที่ 3
ตารางสรุปรายละเอียดกิจกรรม/โครงการภายใต้เสาหลักที่ 3
ผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 3
เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (Microgrid & Prosumer) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เกิดการใช้งานพลังงานหมุนเวียนสำหรับไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (RE base Microgrid/Prosumer) เชิงพาณิชย์ที่เป็นการดำเนินการปกติ (Business as Usual) และไมโครกริด (Microgrid) ช่วยในการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าที่มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนสูง (High %RE Penetration)” โดยมีผลการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 3 สรุปได้ดังนี้