แผนอำนวยการสนับสนุน

/แผนอำนวยการสนับสนุน
แผนอำนวยการสนับสนุน 2024-10-09T14:29:25+07:00

แผนอำนวยการสนับสนุน

นอกเหนือจากภารกิจตามเสาหลัก 5 เสาหลัก แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง ยังประกอบด้วยภารกิจหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มิได้อยู่ภายใต้เสาหลักใดเสาหลักหนึ่ง แต่ภารกิจหรือกิจกรรมดังกล่าวมีความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องดำเนินการคู่ขนานไปด้วย หรือมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับหลายเสาหลัก ดังนั้น แผนอำนวยการสนับสนุน จึงถูกตั้งขึ้นภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนคู่ขนานไปกับ 5 เสาหลัก

ภาพรวมทิศทางทิศทางการสนับสนุนด้านสมาร์ทกริดในประเทศไทย

โดยภาพรวมของแผนอำนวยการสนับสนุนด้านสมาร์ทกริดนั้น จะเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีทั้งด้านระบบไฟฟ้าและด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริด สำหรับด้านระบบไฟฟ้า (Grid Infrastructure) จะผลักดันให้เกิดการติดตั้งและใช้งานมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท รวมถึงการพัฒนาสถานีไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Substation) ให้ครอบคลุมทุกระดับจนถึงระบบจำหน่าย (Smart Distribution) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักรองรับการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดในอนาคตได้ทุกรูปแบบ นอกจากนี้ สำหรับด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) จะเป็นการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งอนาคตต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกับระบบไฟฟ้าและการเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (DER) ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การใช้งานโครงข่ายการสื่อสาร 5G, ระบบบริหารจัดการพลังงาน (EMS), Cloud-Based Platform, Data Privacy, Cyber Security, Data Analytic, Block Chain, AI & Machine Learning, 5G Network Slicing รวมถึงการพัฒนาให้เกิดการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีประเภท ต่าง ๆ ในรูปแบบ Technology Coupling ในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในประเทศด้านสมาร์ทกริด ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสมาร์ทกริด ขยายผลไปสู่การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และการกำหนดเป็นมาตรฐานวิศวกรรมด้านสมาร์ทกริดในระยะต่อ ๆ ไป รวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสมาร์ทกริด เพื่อพัฒนาให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ (Start Up) ก่อนที่จะผลักดันไปสู่รูปแบบผู้ให้บริการ (Service Provider) ที่ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท พร้อมทั้งขยายผลพัฒนาการให้บริการไปสู่รูปแบบธุรกิจ As-a-Service รองรับการให้บริการที่หลากหลายและครอบคลุมทุกรูปแบบการใช้งานบนสมาร์ทกริด

ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการในส่วนของแผนอำนวยการสนับสนุน ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เพื่อช่วยสนับสนุนคู่ขนานไปกับ 5 เสาหลัก รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสนับสนุนงาน Smart Grid และพัฒนาให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ (New Business Model)

ตารางการกำหนดเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานแต่ละระยะ (Milestone) ของแผนอำนวยการสนับสนุน

กรอบแผน ระยะ 1 – 2 ปี ระยะ 3 – 5 ปี ระยะ 6 – 10 ปี ระยะมากกว่า 10 ปี
เป้าหมายสำคัญ (Key Milestone)
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก
  • การเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจในลักษณะ Cross Industry
  • การบูรณาการการเชื่อมต่อของโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ (Infrastructure Integration)
  • การเชื่อมโยงที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมรองรับ Resource ใหม่ ๆ และการใช้งานที่หลากหลาย
Grid Infrastructure
  • ครอบคลุมหัวเมืองขนาดใหญ่/ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่
  • Smart Substation: ครอบคุลมระดับ IPS รายใหญ่
  • AMI สำหรับกลุ่ม C&I ขนาดใหญ่
  • ครอบคลุมทุกจังหวัด/ผู้ใช้ไฟฟ้าขนาดกลาง
  • Smart Substation: ครอบคุลมระดับ SPP
  • AMI สำหรับกลุ่ม C&I ติดตั้งอย่างครบถ้วน
  • ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ
  • Smart Substation: ครอบคุลมระดับ VSPP
  • AMI สำหรับกลุ่ม Residential
  • ครอบคลุมระดับครัวเรือนและ DER ทุกประเภท
  • Smart Distribution: ครอบคลุมทุกระดับ
  • AMI สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่มครบถ้วน
  • เทคโนโลยีนำร่องสำหรับระบบที่มี Low Inertia
Digital Infrastructure
  • 5G Network
  • Cloud-Based Platform
  • HEMS, BEMS, FEMS
  • (AMI) Data Management & Analytics
  • Cyber Security
  • Blockchain
  • (Grid) Data Management & Analytics
  • AI & Machine Learning
  • 5G Network Slicing สำหรับ Smart Grid
  • Technology Coupling (รองรับการใช้งานที่หลากหลาย)
  • 5G Low Latency สำหรับ BTM
รูปแบบธุรกิจด้าน Smart Grid
  • Service Provider: รองรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่
  • Software-as-a-Service
  • Cloud-Based Service Provider
  • Service Provider: รองรับผู้ใช้ไฟฟ้าขนาดกลาง
  • Data Hub
  • Data Analytics Service Provider
  • Service Provider: รองรับผู้ใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก
  • Platform Service Provider
  • Blockchain Service Provider
  • AI & Machine Learning Service Provider
  • As-a-Service Business Model (รองรับทุกรูปแบบการใช้งานบน Smart Grid)
  • Technology Coupling Business Model (รองรับการให้บริการที่หลากหลาย)
ขีดความสามารถในประเทศ
  • การวิจัย/พัฒนาเทคโนโลยี & บุคลากรด้าน Smart Grid
  • เกิด Start Up ด้านเทคโนโลยี Smart Grid
  • มีหลักสูตรการเรียนรู้ด้าน Smart Grid ที่มีการบูรณาการร่วมกับ Digital and Data Platform
  • ผลักดัน Start Up ไปสู่ Service Provider
  • สร้างความพร้อมด้าน Grid Integration (เกิด Supplier, Contractor และ Investment ที่เพียงพอรองรับการ Scale Up และ Deployment)
  • การวิจัย/พัฒนา High DER Penetration in Power Grid
  • เกิดมาตรฐานทางวิศวกรรมด้าน Smart Grid (Engineering Standard Practice)

แผนการดำเนินงานแผนอำนวยการสนับสนุน

แผนการดำเนินงานของแผนอำนวยการสนับสนุน จะเน้นการเตรียมความพร้อมในด้านนโยบาย ด้านกฎระเบียบ ด้านเทคนิค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริด ทั้งด้านระบบไฟฟ้าและด้านดิจิทัล (Grid & Digital Infrastructure) เพื่อช่วยสนับสนุนคู่ขนานไปกับ 5 เสาหลัก รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสนับสนุนงานสมาร์ทกริด การพัฒนาให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ (New Business Model) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสมาร์ทกริดและการพัฒนาขีดความสามารถในประเทศด้านสมาร์ทกริด นอกจากนี้ ยังมีการบริหารการขับเคลื่อนเพื่อบริหารจัดการและประสานงานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเป็นไปตามกรอบเป้าหมายของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง โดยกิจกรรม/โครงการหลักภายใต้แผนอำนวยการสนับสนุน

ภาพสรุปกิจกรรมหลักภายใต้แผนอำนวยการสนับสนุน

ตารางสรุปรายละเอียดกิจกรรม/โครงการภายใต้แผนอำนวยการสนับสนุน

ผลการดำเนินงานแผนอำนวยการสนับสนุน

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาและดำเนินการในส่วนของแผนอำนวยการสนับสนุน ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เพื่อช่วยสนับสนุนคู่ขนานไปกับ 5 เสาหลัก รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสนับสนุนงาน Smart Grid และพัฒนาให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ (New Business Model)” โดยมีผลการดำเนินงานแผนอำนวยการสนับสนุน สรุปได้ดังนี้

หน่วยงาน
สถานะโครงการ
ประเภทงบประมาณ
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.
สิ้นสุดในปี พ.ศ.
.