เสาหลักที่ 2 ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast)

/เสาหลักที่ 2 ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast)
เสาหลักที่ 2 ระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast) 2024-09-06T16:47:11+07:00

เสาหลักที่ 2: การพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast)

การพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนภายใต้เสาหลักที่ 2 จะดำเนินการต่อเนื่องจากแผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้น เนื่องจากการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast) (การพยากรณ์ฯ) เป็นเสาหลักในการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความชาญฉลาดมากขึ้น และมีส่วนสำคัญในการวางแผนการเดินโรงไฟฟ้าและการใช้โครงข่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เข้ามาต่อเชื่อมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าปริมาณมากในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมและรักษาสมดุลระหว่างสมดุลอุปสงค์และอุปทานไฟฟ้า โดยการพยากรณ์ฯ จะสามารถเพิ่มระดับการพึ่งพาได้ (Dependable) ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีมากขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนให้การบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าให้รองรับเป้าหมายของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของประเทศได้ นอกจากนี้ การพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนนั้น จะมีความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานในการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติอีกด้วย

ภาพรวมทิศทางการพัฒนา RE Forecast ในประเทศไทย

การวางแผนพัฒนาด้านการพยากรณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลางสามารถแบ่งขั้นตอนการพัฒนาออกเป็น 3 ช่วงหลัก คือ ระบบการพยากรณ์แบบรวมศูนย์กลาง ระบบการพยากรณ์แบบแยกจากศูนย์กลาง และระบบการพยากรณ์แบบแยกจากศูนย์กลางและแบบกระจาย โดยในช่วงแรกของการพัฒนาจะเป็นรูปแบบของระบบการพยากรณ์แบบรวมศูนย์ (Centralized) ที่มุ่งเน้นไปที่ศูนย์/หน่วยการพยากรณ์ระดับประเทศ ซึ่งมีการกำหนดให้การพัฒนาการพยากรณ์ในระดับพื้นที่และเริ่มต้นให้หน่วยงานกลางรับผิดชอบการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า SPP รวมทั้งสนับสนุนให้มีความสามารถในการพยากรณ์ด้วยตนเองและมีการรับส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติระหว่างศูนย์กลางการพยากรณ์กับโรงไฟฟ้า SPP ซึ่งทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการพยากรณ์ในระดับดังกล่าว ก่อนที่จะพัฒนาในระยะถัดไป (3 – 5 ปี) จะมีการเพิ่มความละเอียดในการพยากรณ์ในระดับโรงไฟฟ้าประเภท VSPP ที่กำลังการผลิตมากกว่า 1 เมกะวัตต์ โดยทางการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งสามารถพยากรณ์หรือได้รับข้อมูลการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า VSPP พร้อมทั้งสนับสนุนให้โรงไฟฟ้า VSPP สามารถพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าด้วยตนเองเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับการใช้งานแหล่งผลิตไฟฟ้าในระบบจำหน่ายที่มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมากในอนาคต ระบบการพยากรณ์แบบแยกจากศูนย์กลาง (Decentralized) จะเข้ามาช่วยลดภาระปริมาณด้านข้อมูลที่จะนำเข้ามายังศูนย์/หน่วยการพยากรณ์ระดับประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยบริหารจัดการระดับท้องที่หรือเฉพาะพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยการจัดตั้งศูนย์/หน่วยการพยากรณ์เพิ่มเติมในระดับภูมิภาคจะเน้นไปที่การพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจาก VSPP ทุกขนาด และ Aggregator ที่สามารถรวม Prosumer ที่มีขนาดกำลังการผลิตเกิน 10 เมกะวัตต์ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้สามารถพยากรณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าได้ด้วยตนเองและมีรูปแบบที่มีการรับส่งข้อมูลกับศูนย์การพยากรณ์ในระดับต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ดี เป้าหมายของประเทศในระยะยาวนั้น จะมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการพยากรณ์แบบแยกจากศูนย์กลางและแบบกระจาย (Decentralized and Distributed) ซึ่งจะมีความละเอียดของการพยากรณ์จะเป็นในลักษณะระดับรายพื้นที่ย่อย โดยที่การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะต้องสามารถพยากรณ์/ได้รับข้อมูลการพยากรณ์ของโรงไฟฟ้า และ Aggregator ทุกขนาด ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้สามารถพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าได้เองและมีรูปแบบการรับส่งข้อมูลกับศูนย์พยากรณ์ทั้งหมดเป็นแบบอัตโนมัติ

ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast) ในประเทศไทย ภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง คือ “เกิดการใช้งานระบบพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ครอบคลุมทั้งโรงไฟฟ้า SPP, VSSP รวมถึง Prosumer-Aggregator” ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานแต่ละระยะนั้น

ตารางเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานแต่ละระยะ (Milestone) ของเสาหลักที่ 2

กรอบแผน ระยะ 1 – 2 ปี ระยะ 3 – 5 ปี ระยะ 6 – 10 ปี ระยะมากกว่า 10 ปี
เป้าหมายสำคัญ (Key Milestone)
  • การพยากรณ์ให้ครอบคลุม SPP ทั้งประเทศแบบรวมศูนย์
  • การเปิดใช้งานศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติแบบเต็มรูปแบบ
  • โรงไฟฟ้า SPP ทุกโรงสามารถพยากรณ์ได้เอง
  • เริ่มนำร่องโรงไฟฟ้า VSPP > 1 MW
  • การพยากรณ์แบบกระจายศูนย์ โดยมีการพยากรณ์พลังงานหมุนเวียนเป็นรายภูมิภาค
  • โรงไฟฟ้า VSPP ทุกโรงสามารถพยากรณ์ได้เอง
  • เริ่มนำร่อง Prosumer-Aggregator > 10 MW
  • การพยากรณ์แบบรายพื้นที่ Prosumer-Aggregator และ Aggregator สามารถพยากรณ์ได้เอง
ขนาดของโรงไฟฟ้าที่เข้าร่วม
  • โรงไฟฟ้า SPP
  • โรงไฟฟ้า SPP
  • โรงไฟฟ้า VSPP (>1 MW)
  • โรงไฟฟ้า SPP
  • โรงไฟฟ้า VSPP
  • Prosumer-Aggregator (> 10 MW)
  • โรงไฟฟ้า SPP
  • โรงไฟฟ้า VSPP
  • Prosumer-Aggregator ทั้งหมด
รูปแบบของการพยากรณ์
  • แบบรวมศูนย์กลาง (Centralized Forecast)
  • แบบรวมศูนย์กลาง (Centralized Forecast)
  • แบบแยกจากศูนย์กลาง (Decentralized Forecast)
  • แบบแยกจากศูนย์กลางและแบบกระจาย (Decentralized and Distributed Forecast)
ศูนย์การพยากรณ์ที่รับข้อมูล
  • ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • มีการส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติ
  • ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • มีการส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติ
  • ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • มีการพยากรณ์พลังงานหมุนเวียนในระดับพื้นที่เป็นรายภูมิภาค
  • มีการส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติ
  • ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • มีการพยากรณ์พลังงานหมุนเวียนในระดับพื้นที่เป็นรายภูมิภาค และพื้นที่ย่อย
  • มีการส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติ

แผนการดำเนินงานภายใต้เสาหลักที่ 2

แผนการดำเนินงานของเสาหลักที่ 2 จะเน้นการเตรียมความพร้อมในด้านนโยบาย ด้านกฎระเบียบด้านเทคนิค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้เกิดการใช้งานระบบพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ครอบคลุมทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก (SPP) ขนาดเล็กมาก (VSSP) และในระดับกลุ่มของโปรซูเมอร์ (Prosumer-Aggregator) ในเชิงพาณิชย์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบรวมศูนย์กลางในการพยากรณ์ และขยายผลไปสู่การพยากรณ์ในระดับพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนให้ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยสามารถรองรับการเชื่อมต่อของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในปริมาณที่มากขึ้นได้ในอนาคตตามทิศทางแนวโน้มของโลก และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของประเทศไทย

ภาพสรุปกิจกรรมหลักภายใต้เสาหลักที่ 2

ตารางสรุปรายละเอียดกิจกรรม/โครงการภายใต้เสาหลักที่ 2

.