- การจัดทำข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานของอุปกรณ์และความปลอดภัยในการติดตั้งได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี 2559 โดยมีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานทางวิศวกรรม ได้แก่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยการจัดทำข้อกำหนด ระเบียบ และกฎหมายต่าง ๆ มีดังนี้
- การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในช่วงปี 2560 – 2563 กฟน. ได้ออกข้อกำหนดและมาตรฐานเกี่ยวกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 3 ฉบับ คือ
- ข้อกำหนดการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับระบบชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
- ข้อกำหนดการเชื่อมต่อและติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับวงจรจ่ายไฟฟ้าบริเวณท่าเรือ โป๊ะ และบริภัณฑ์จ่ายไฟเรือไฟฟ้าเพื่อการอัดประจุไฟฟ้าหรือลักษณะที่คล้ายกัน
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในช่วงปี 2562 – 2563 กฟภ. ได้ออกข้อกำหนดและระเบียบที่เกี่ยวกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 5 ฉบับ คือ
- ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการติดตั้งทางไฟฟ้าระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า
- ข้อกำหนดการติดตั้งทางไฟฟ้าสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับสถานประกอบการ
- ข้อกำหนดการติดตั้งทางไฟฟ้าการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัยและธุรกิจขนาดเล็ก
- ข้อกำหนดการติดตั้งทางไฟฟ้าการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าระบบ 3 เฟส สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัยและธุรกิจขนาดเล็ก
- ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในปี 2563 สำนักงาน กกพ. กฟน. และ กฟภ. ร่วมกันจัดทำมาตรฐานการติดตั้งเกี่ยวกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 2 ฉบับ คือ
- มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับบริภัณฑ์จ่ายไฟยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการอัดประจุไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย อาคารชุด อาคารสำนักงาน และลักษณะที่คล้ายกัน
- มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับบริภัณฑ์จ่ายไฟยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการอัดประจุไฟฟ้าประเภทสถานีอัดประจุไฟฟ้า
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในช่วงปี 2559 ถึงปัจจุบัน สมอ. ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 19 ฉบับ โดยจัดทำเสร็จสิ้นและได้ประกาศในราชกิจจานุเษกษาแล้วจำนวน 18 ฉบับ และอยู่ระหว่างจัดทำ 1 ฉบับ
- มาตรฐานเต้าเสียบ และเต้ารับของยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
- มอก. 2749 เล่ม 1-2559 เต้าเสียบ เต้ารับ-จ่าย ตัวต่อยานยนต์และเต้ารับยานยนต์-การประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป (IEC 62196-1:2014)
- มอก. 2749 เล่ม 2-2559 เต้าเสียบ เต้ารับ-จ่าย ตัวต่อยานยนต์ และเต้ารับยานยนต์-การประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 2 ข้อกำหนดความเข้ากันได้เชิงมิติ และการสับเปลี่ยนได้ สำหรับขาเสียบ และท่อหน้าสัมผัสของเต้าไฟฟ้ากระแสสลับ (IEC 62196-2:2016)
- มอก. 2749 เล่ม 3-2559 เต้าเสียบ เต้ารับ-จ่าย ตัวต่อยานยนต์ และเต้ารับยานยนต์-การประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 3 ข้อกำหนดความเข้ากันได้เชิงมิติ และการสับเปลี่ยนได้ สำหรับขาเสียบ และท่อหน้าสัมผัสคู่เต้าต่อยานยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง และกระแสสลับ/กระแสตรง (IEC 62196-3:2014)
- มาตรฐานของระบบและอุปกรณ์การประจุไฟฟ้า จำนวน 13 ฉบับ ดังนี้
- มาตรฐานเต้าเสียบ และเต้ารับของยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
- มอก. 2911-2562 อุปกรณ์ควบคุมและป้องกันในสายสำหรับการชาร์จไฟยานพาหนะไฟฟ้า โหมด 2
- มอก. 3060 เล่ม 1-2563 สายไฟฟ้าสำหรับอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 6/1 kV เล่ม 1 คุณลักษณะที่ต้องการทั่วไป
- มอก. 3060 เล่ม 2-2563 สายไฟฟ้าสำหรับอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 6/1 kV เล่ม 2 วิธีทดสอบ
- มอก. 3060 เล่ม 3-2563 สายไฟฟ้าสำหรับอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 6/1 kV เล่ม 3 สายไฟฟ้าสำหรับอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับตามโหมด 1 โหมด 3 ของ IEC 61851-1 ที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 V
- มอก. 3068-2563 การติดตั้งแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- มอก. 61851 เล่ม 1-2560 ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป (IEC 61851-1:2010)
- มอก. 61851 เล่ม 21-2560 ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 21 ข้อกำหนดยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการเชื่อมต่อผ่านตัวนำไปยังแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ/กระแสตรง (IEC 61851-21:2001)
- มอก. 61851 เล่ม 22-2560 ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 22 สถานีประจุไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (IEC 61851-22:2001)
- มอก. 61851 เล่ม 23-2560 ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 23 สถานีประจุไฟฟ้ากระแสตรงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (IEC 61851-23:2014)
- มอก. 61851 เล่ม 24-2560 ระบบประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 24 การสื่อสารแบบดิจิทัลระหว่างสถานีประจุไฟฟ้ากระแสตรงกับยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับควบคุมการประจุแบบกระแสตรง (IEC 61851-24:2014)
- มอก. 61980 เล่ม 1-2563 ระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 1 คุณลักษณะที่ต้องการทั่วไป (IEC 61980-1:2020)
- มอก. 61980 เล่ม 2-2563 ระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 2 คุณลักษณะเฉพาะที่ต้องการด้านการสื่อสารระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับโครงสร้างพื้นฐาน (IEC 61980-2:2019)
- มอก. 61980 เล่ม 3-2563 ระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 3 คุณลักษณะเฉพาะที่ต้องการด้านระบบส่งกำลังไฟฟ้าไร้สายด้วยสนามแม่เหล็ก (IEC 61980-3:2019)
- มาตรฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยของแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
- มอก. 62840 เล่ม 1-2563 ระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 1 ทั่วไปและข้อแนะนำ
- มอก. 62840 เล่ม 2-2563 ระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้า เล่ม 2 คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย
- มาตรฐานเกี่ยวกับการส่งกำลังแบบไร้สายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำ 1 ฉบับ ดังนี้
- ยานยนต์บนถนนที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า – การส่งกำลังแบบไร้สายด้วยสนามแม่เหล็ก – ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการทำงานร่วมกัน (ISO 19363)
นอกจากนี้ สมอ. มีแผนจะจัดทำมาตรฐานของระบบประจุไฟฟ้าแบบสลับ (Swapping) และการเชื่อมต่อระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า (Vehicle to grid) เพิ่มเติมอีกด้วย
- กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้ออกมาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 ฉบับ คือ มจพ.701-2564 : มาตรฐานความปลอดภัยสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
- วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ในปี 2562 วสท. ได้จัดทำมาตรฐานข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 1 ฉบับ คือ (ร่าง) มาตรฐานข้อกำหนดสำหรับการติดตั้งเฉพาะหรือสถานที่เฉพาะ – แหล่งจ่ายไฟ สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
- การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในช่วงปี 2560 – 2563 กฟน. ได้ออกข้อกำหนดและมาตรฐานเกี่ยวกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 3 ฉบับ คือ