สนพ. จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบพลวัต (Dynamic Pricing) เพื่อการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า

//สนพ. จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบพลวัต (Dynamic Pricing) เพื่อการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า

สนพ. จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบพลวัต (Dynamic Pricing) เพื่อการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า

By | 2024-10-31T15:31:47+07:00 ตุลาคม 31st, 2024|Uncategorized|

วันนี้ (28 ต.ค. 67) คุณจารุวรรณ พิมสวรรค์ นายสาร์รัฐ ประกอบชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบพลวัต (Dynamic Pricing) เพื่อการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า ณ ห้องกมลพร โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ
เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศต่าง ๆ จึงได้ร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ โดยที่ประชุมรัฐภาคีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 หรือ “COP26” ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใน ปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ภายในปี 2065 เพื่อให้สอดรับกับเจตจำนงดังกล่าว แผนพลังงานชาติได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงานโดยมีเป้าหมายสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด รวมถึงการส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสอดคล้องกับนโยบาย 30@30 พร้อมทั้งขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวในด้านต่าง ๆ โดยกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ภายในปี ค.ศ. 2030 รวมกว่า 1,123,000 คัน รวมถึงเป้าหมายการส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 12,000 หัวจ่าย และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่กว่า 1,450 สถานี

ทั้งนี้ จากการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะก่อให้เกิดการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าจำนวนมากพร้อมกันในบางช่วงเวลา ซึ่งอาจส่งผลต่อโครงข่ายและระบบผลิตไฟฟ้า ทั้งในด้านความสามารถของระบบและความคุ้มค่าของการใช้งานจากพฤติกรรมการอัดประจุไฟฟ้าดังกล่าว แม้ว่าการใช้งานอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU) ที่ผ่านมา ยังสามารถบริหารจัดการโหลดได้เป็นอย่างดีและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับโครงข่ายไฟฟ้าได้ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แต่ในอนาคตอัตรา TOU ดังกล่าว อาจจะไม่สามารถตอบสนองพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคได้อย่างเพียงพอตามสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า แนวทางการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าแบบพลวัต (Dynamic Pricing) จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกและสามารถตอบสนองต่อโครงข่ายไฟฟ้าได้ดีมากยิ่งขึ้นและแก้ปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้านการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าและการให้บริการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ทำให้เกิดเป็นทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในการเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงข่ายไฟฟ้าและเป็นการรองรับการใช้งานพลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้น