ทิศทางการดำเนินงานภาพรวมการเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้ง 5 เสาหลักและแผนอำนวยการสนับสนุนบนรูปแบบธุรกิจโรงไฟฟ้าเสมือน (VPP) ระหว่างปี 2570 – 2574
ช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก (ปี 2565 – 2569) ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง จะมุ่งเน้นการศึกษาและการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร รวมถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ เพื่อหาแนวทางของการรวบรวมเทคโนโลยี VPP จากทุกเสาหลัก คือ เสาหลักที่ 1: การตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน (DR & EMS) ของ DR Participants ประเภท 3, 4 และ 5 ที่มีศักยภาพบนรูปแบบการให้บริการ Semi-auto DR ร่วมกับ เสาหลักที่ 5: การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) ของการนำร่องสถานีประจุยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่รองรับรูปแบบการสั่งการ Smart Charge (V1G) และเสาหลักที่ 4: ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) บนแนวทางการรวบรวมระบบกักเก็บพลังงานชนิดแบตเตอรี่ (BESS) ของ Utility Scale ที่มีการติดตั้งและใช้งานควบคู่กับโรงไฟฟ้า VSPP และในระบบจำหน่ายไฟฟ้า จากผลการดำเนินงานข้างต้นเป็นแนวทางเตรียมความพร้อมในทุกด้านของการดำเนินธุรกิจ VPP ในบริบท ของประเทศไทย
ช่วงระยะเวลา 5 ปีหลัง (ปี 2570 – 2574) ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง จะขยายผลการดำเนินธุรกิจผ่านการรวบรวมเทคโนโลยีเพิ่มเติมจากช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก คือ เสาหลักที่ 1: การตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน (DR & EMS) ของ DR Participants ประเภท 1 และ 2 ที่มีศักยภาพบนรูปแบบการให้บริการ Auto-DR ร่วมกับ เสาหลักที่ 5: การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) ที่รองรับรูปแบบการสั่งการการจ่ายพลังงานไฟฟ้ากลับสู่โครงข่าย (V2X) จากผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท และเสาหลักที่ 4: ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) บนแนวทางการรวบรวมระบบกักเก็บพลังงานชนิดแบตเตอรี่ (BESS) ของ End-User Scale ที่มีการติดตั้งและใช้งานอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งในส่วนของ Commercial and Industrial (C&I) และ Residential นอกจากนี้ ควรพิจารณาแนวทางการรวบรวมเทคโนโลยีเพิ่มเติมจากเสาหลักที่ 3: ระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (Microgrid & Prosumer) ที่มีการติดตั้งและใช้งานทั้งในส่วนของการไฟฟ้า ฝ่ายจำหน่าย รวมถึงการลงทุนและ/หรือที่มีการใช้งานอยู่ในระดับ C&I และ Prosumer บนรูปแบบ Single user microgrid นอกจากนี้เทคโนโลยี VPP ที่มีรูปแบบการสั่งการที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัย ผลการดำเนินงานของเสาหลักที่ 2: การพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast) ที่มีการพัฒนาโมเดลการทำนายผลจากโรงไฟฟ้าประเภท SPP และ VSPP รวมถึง Aggregator/Prosumer เข้ามาปรับใช้เพื่อประเมินหากำลังไฟฟ้ารายชั่วโมงที่ VPP จะสามารถสั่งการได้จากทุกเทคโนโลยีที่ได้รวบรวม มาจากผลการดำเนินงานข้างต้นจะเห็นได้ว่า แนวทางการดำเนินธุรกิจ VPP จะเป็นรูปแบบการพัฒนา Business Platform ที่มีการส่งจ่ายผลตอบแทนไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท และใช้ประโยชน์ของการสั่งการ เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Ancillary Services) ส่งผลให้เกิดการชะลอการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า/ขยายสายส่ง/สายจำหน่ายไฟฟ้า และการสั่งการโรงไฟฟ้าเสมือน VPP ณ ช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง (Peak Time) ที่สามารถลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าสำรอง (Reserve Capacity) ในภาพรวมของประเทศได้ในอนาคต