แนวทางการกำหนด Dynamic Pricing สำหรับการอัดประจุ EV

//แนวทางการกำหนด Dynamic Pricing สำหรับการอัดประจุ EV

แนวทางการกำหนด Dynamic Pricing สำหรับการอัดประจุ EV

By | 2024-09-16T16:53:55+07:00 กันยายน 16th, 2024|อินโฟกราฟิก|

แนวทางการกำหนด Dynamic Pricing สำหรับการอัดประจุ EV

แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. การกำหนดประเภทของราคา (ราคาจะแปรผันตามเวลา) ประกอบด้วย
    1. ราคาแบ่งตามเวลา (Price-profile-based) เป็นการตั้งราคาต่อหน่วยในการอัดประจุให้มี ความแตกต่างกันในแต่ละเวลา มีทั้งแบบละเอียดระดับนาที-ชั่วโมง หรือแบบหยาบมากกว่า 1 ชั่วโมง
    2. ราคาแบ่งตามช่วงเวลา (Session-based) เป็นการตั้งราคาต่อหน่วยในการอัดประจุให้มี ความแตกต่างกันแบ่งตามช่วงเวลาของวัน
  2. การกำหนดรูปแบบการดำเนินการ ประกอบด้วย
    1. แบบออฟไลน์ (Offline) เป็นการวางแผนกำหนดราคาล่วงหน้า
    2. แบบออนไลน์ (Online) เป็นการประมวลผลราคาในระยะเวลาสั้น ๆ
  3. การกำหนดปัจจัยความยืดหยุ่นในการปรับราคา ประกอบด้วย
    1. ราคาเปลี่ยนแปลงตามตารางเวลา (Schedule) ในการอัดประจุ
    2. ราคาเปลี่ยนแปลงตามปริมาณพลังงานไฟฟ้า (Energy) ในการอัดประจุ
    3. ราคาเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา (Duration) ในการอัดประจุ
    4. ราคาเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่การให้บริการ (Location) ในการอัดประจุ
    5. ราคาเปลี่ยนแปลงจากการใช้งานแบตเตอรี่ (Battery Utilization) จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ในกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด การบริการเสริมความมั่นคง เป็นต้น

ตัวอย่างอัตราค่าไฟฟ้าแบบ Dynamic Pricing

  1. อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff: TOU Tariff) ราคาจะแตกต่างกันไป ตามช่วงเวลาของวัน สัปดาห์ หรือฤดูกาล โดยจะทราบล่วงหน้าหรือตามกำหนดเวลาที่กำหนด (เช่น ราคาในเวลากลางคืนและกลางวัน หรือราคาวันธรรมดาและวันหยุด) ซึ่งเป็นการกำหนดราคาแบบแบ่งตามช่วงเวลา (Session-based) แบบออฟไลน์ (Offline) และไม่มีปัจจัยความยืดหยุ่น
  2. อัตราค่าไฟฟ้าช่วงวิกฤต/แปรผัน (Critical peak pricing/Variable peak pricing) ราคาส่วนใหญ่ จะคงที่แต่อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุด โดยจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ซึ่งเป็นการกำหนดราคาแบบแบ่งตามช่วงเวลา (Session-based) ซึ่งอาจมีทั้งแบบออฟไลน์ (Offline) ไม่มีปัจจัยความยืดหยุ่น และแบบออนไลน์ (Online) ขึ้นอยู่กับปัจจัยความยืดหยุ่นต่าง ๆ
  3. อัตราค่าไฟฟ้าแบบ ณ เวลาปัจจุบัน (Real-time pricing, RTP) ราคาจะแปรผันไปตามเวลา เช่น ทุกชั่วโมง เพื่อสะท้อนถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง หรือระบบจำหน่ายที่แท้จริงที่เปลี่ยนแปลงไป ตามเวลา ซึ่งเป็นการกำหนดราคาแบบแบ่งตามเวลา (Price-profile-based) แบบออนไลน์ (Online)  และปรับเปลี่ยนตามปัจจัยความยืดหยุ่นต่าง ๆ